กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 45 รพ.เอกชน-คลินิก ต้องแสดงค่ารักษาพยาบาล

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 53 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 44 7 เรื่องคลินิกเอกชนโฆษณาได้

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 54 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 43 ตักบาตรสุขภาพ

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 59 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน บำบัดสุขภาพ ด้วยสมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือน

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 51 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 111 อสม.คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 8 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ทำความรู้จัก...World Hearing Day

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 25 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 42 ไม่แสดงเลขที่อนุมัติโฆษณามีความผิดหรือไม่

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 9 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ฟื้นฟูร่างกาย ด้วยกายภาพบำบัด

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 12 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ฝังเข็ม ศาสตร์แห่งการปรับสมดุล

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 20 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 41 ให้ผลไม้สีแดงแทนความรัก

เผยแพร่ : 19 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 57 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน นวดแผนไทย ทางเลือกของการส่งเสริมสุขภาพ

เผยแพร่ : 19 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 76 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 40 คอมพิวเตอร์วิชั่น โรคฮิตของวัยทำงาน

เผยแพร่ : 19 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 64 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

“ยาลูกกลอน” อีกหนึ่งรูปแบบยาแผนโบราณ ที่เกิดจากการนำสมุนไพรมาบด แล้วนำผงยาที่ได้ มาคลุกเคล้ากับน้ำผึ้งจนยึดเกาะกัน ปั้นเป็นเม็ดกลม สมัยโบราณใช้วิธีตากแดดจนแห้งสนิทแล้วเก็บใส่ขวดโหลสามารถเก็บไว้กินได้นาน... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 188 ครั้ง บทความ

การรู้จักป้องกันโรคอย่างถูกวิธี จะช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ ความพอดี คือ  การสร้างความสมดุล ความเหมาะสม ร่างกายของเรามีกลไกในการปรับสมดุลเพื่อต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 48 ครั้ง บทความ

โรคเบาหวาน หลายๆ คนอาจคิดว่าเป็นได้เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ความจริงแล้วเบาหวานสามารถ    เกิดในเด็กได้เช่นกัน  ซึ่งเกิดจากการขาดอินซูลิน หรือการทำงานของอินซูลินบกพร่อง... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 62 ครั้ง บทความ

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies) ซึ่งพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะนำโรคสู่คน เช่น หมา แมว... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 65 ครั้ง บทความ

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญมากสำหรับร่างกาย เพราะมีหน้าที่ในการควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกาย   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบความคิด ความจำต่างๆ ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้นอาจจะเกิดความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างเนื้อเยื่อของสมองได้... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 68 ครั้ง บทความ

สุขภาพดี ด้วยสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ “สุขบัญญัติแห่งชาติ” เป็นแนวทางการปฏิบัติตนหรือการดูแลสุขภาพพื้นฐาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 13 ตุลาคม 2566 อ่าน : 6876 ครั้ง บทความ

กรม สบส.ย้ำ พ.ร.ฎ.โรคศิลปะกำหนดอาหาร มีผลบังคับใช้แล้ว แนะผู้ปฏิบัติงานมาขึ้นทะเบียนให้ถูกกฎหมาย

n21

        กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ย้ำพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการกำหนดอาหารเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2563 มีผลบังคับใช้แล้ว ให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการกำหนดอาหารทั้งรายเก่าและใหม่มาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะให้ถูกต้องตามกฎหมาย นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรม สบส.ได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการกำหนดอาหารเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2563 เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการในด้านโภชนาการ ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัย สามารถฟื้นฟูภาวะโภชนาการ และดัดแปลงอาหารเฉพาะโรคให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับโรคของผู้ป่วย ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการกำหนดอาหาร ภายหลังวันที่ 21 กันยายน 2563 หากจะปฏิบัติงานด้านการกำหนดอาหารต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหารจากกรม สบส.เสียก่อน ส่วนผู้ปฏิบัติงานด้านการกำหนดอาหารซึ่งได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการกำหนดอาหาร ก่อนพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ สามารถประกอบโรคศิลปะต่อไปได้ แต่ต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต โดยให้ยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหาร ผ่านทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (https://mrd-hss.thaijobjob.com) นายแพทย์ธเรศฯ กล่าวต่อว่า การกำหนดอาหารนั้นแม้ว่าจะเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะที่เพิ่งได้รับการบรรจุใหม่ เป็นสาขาที่ 8 ของการประกอบโรคศิลปะ แต่ก็มีบทบาทในการด้านการสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน ในฐานะผู้ส่งเสริม และฟื้นฟูภาวะโภชนาการ โดยนำความรู้ทางด้านโภชนาการมากำหนดปริมาณอาหารและสารอาหารที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกาย และถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ป่วยจนสามารถเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกาย หากผู้ป่วยได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะของโรค ก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ การที่ผู้ปฏิบัติงานด้านกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากจะสร้างเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนแล้ว ยังเป็นเครื่องยืนยันถึงมาตรฐาน และจรรยาบรรณในฐานะผู้ที่ใช้อาหารเป็นยาในการบรรเทาอาการเจ็บป่วยของโรค ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการจะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหารนั้น จะต้องได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการกำหนดอาหารจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหารรับรอง และต้องสอบผ่าน ความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหารกำหนด ซึ่งปัจจุบัน มีสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหารรับรอง จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.มหาวิทยาลัยมหิดล 3.มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 4.มหาวิทยาลัยพะเยา 5.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 6.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 7.มหาวิทยาลัยบูรพา และ8.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ