กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

HAPPY PLACE ตอน กลับบ้านปลอดภัย ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์

เผยแพร่ : 19 เมษายน 2567 อ่าน : 23 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน “Smart Card อสม นวัตกรรมเพื่อสุขภาพชุมชน” EP.2

เผยแพร่ : 19 เมษายน 2567 อ่าน : 17 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 49 รู้จัก อสม. ผู้ดูแลสุขภาพ

เผยแพร่ : 18 เมษายน 2567 อ่าน : 23 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บัตร smat card อสม. เพื่อพี่น้อง อสม .

เผยแพร่ : 18 เมษายน 2567 อ่าน : 36 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 48 Post Vacation Blues ภาวะอารมณ์เศร้าหลังหยุดยาว

เผยแพร่ : 01 เมษายน 2567 อ่าน : 45 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน “Smart Card อสม นวัตกรรมเพื่อสุขภาพชุมชน” EP.2

เผยแพร่ : 01 เมษายน 2567 อ่าน : 35 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 47 ตำบลจัดการสุขภาพ คืออะไร

เผยแพร่ : 01 เมษายน 2567 อ่าน : 37 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน “Smart Card อสม นวัตกรรมเพื่อสุขภาพชุมชน”

เผยแพร่ : 01 เมษายน 2567 อ่าน : 48 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 46 ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ตัวการร้ายก่ออันตรายต่อร่างกาย

เผยแพร่ : 01 เมษายน 2567 อ่าน : 43 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 45 รพ.เอกชน-คลินิก ต้องแสดงค่ารักษาพยาบาล

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 126 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 44 7 เรื่องคลินิกเอกชนโฆษณาได้

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 138 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 43 ตักบาตรสุขภาพ

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 197 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

“ยาลูกกลอน” อีกหนึ่งรูปแบบยาแผนโบราณ ที่เกิดจากการนำสมุนไพรมาบด แล้วนำผงยาที่ได้ มาคลุกเคล้ากับน้ำผึ้งจนยึดเกาะกัน ปั้นเป็นเม็ดกลม สมัยโบราณใช้วิธีตากแดดจนแห้งสนิทแล้วเก็บใส่ขวดโหลสามารถเก็บไว้กินได้นาน... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 383 ครั้ง บทความ

การรู้จักป้องกันโรคอย่างถูกวิธี จะช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ ความพอดี คือ  การสร้างความสมดุล ความเหมาะสม ร่างกายของเรามีกลไกในการปรับสมดุลเพื่อต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 108 ครั้ง บทความ

โรคเบาหวาน หลายๆ คนอาจคิดว่าเป็นได้เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ความจริงแล้วเบาหวานสามารถ    เกิดในเด็กได้เช่นกัน  ซึ่งเกิดจากการขาดอินซูลิน หรือการทำงานของอินซูลินบกพร่อง... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 114 ครั้ง บทความ

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies) ซึ่งพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะนำโรคสู่คน เช่น หมา แมว... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 101 ครั้ง บทความ

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญมากสำหรับร่างกาย เพราะมีหน้าที่ในการควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกาย   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบความคิด ความจำต่างๆ ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้นอาจจะเกิดความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างเนื้อเยื่อของสมองได้... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 112 ครั้ง บทความ

สุขภาพดี ด้วยสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ “สุขบัญญัติแห่งชาติ” เป็นแนวทางการปฏิบัติตนหรือการดูแลสุขภาพพื้นฐาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 13 ตุลาคม 2566 อ่าน : 6953 ครั้ง บทความ

กรม สบส.เตือนแพทย์ และสถานพยาบาลเอกชนต้องตรวจสอบที่มาของยาหรือวัคซีนที่ประชาชนนำมารับบริการทุกครั้ง

091164

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เตือนแพทย์ประจำ รพ.เอกชน/คลินิก ตรวจสอบที่มาของยาหรือวัคซีนที่ประชาชนนำมาขอรับบริการทุกครั้ง หากไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องห้ามให้บริการโดยเด็ดขาด ป้องกันผลกระทบที่เกิดจากยาหรือวัคซีนที่ไม่ได้มาตรฐาน พร้อมขอความร่วมมือจาก รพ.เอกชน/คลินิกทุกแห่ง ให้สอดส่อง ดูแล ให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

          จากกรณี ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลถึงคลินิกแห่งหนึ่งใน จ.สระแก้ว ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ยี่ห้อ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) แก่ประชาชน ทั้งที่ยังไม่มีรายงานว่าประเทศไทยได้รับการจัดสรรวัคซีนชนิดดังกล่าว โดยจากการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว แพทย์ประจำคลินิกให้การยอมรับว่ามีการฉีดวัคซีนจริง แต่อ้างว่าคนไข้นำวัคซีนมาให้ฉีด โดยที่คลินิกไม่มีการจำหน่ายวัคซีนยี่ห้อ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน แต่อย่างใดนั้น

          วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564  นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า การที่แพทย์ผู้ให้บริการประจำคลินิกฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยไม่มีการตรวจสอบที่มาที่ไปของยา หรือวัคซีนที่ผู้รับบริการนำมาขอรับบริการว่ามีการนำเข้าอย่างถูกต้องและมีการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือไม่นั้น ย่อมมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ร่างกายของผู้รับบริการได้ เพราะยาหรือวัคซีนที่ขาดการตรวจสอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็อาจจะเป็นของปลอม และเถื่อนที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อน หรือเสื่อมสภาพจากการเก็บรักษาที่ไม่ถูกวิธี กรม สบส.จึงขอเตือนให้แพทย์ประจำสถานพยาบาลเอกชนทุกท่าน ต้องตรวจสอบยาหรือวัคซีนที่ประชาชนนำมารับบริการทุกครั้ง หากยาหรือวัคซีนที่นำมาให้นั้นไม่มีการขึ้นทะเบียนแล้วก็ไม่ควรจะให้บริการ และให้คำแนะนำอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ร่างกาย ซึ่งการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่ไม่ได้นำเข้าอย่างถูกต้อง แพทย์ผู้ให้บริการก็อาจจะมีความผิดตามมาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรมทางการแพทย์

         พร้อมกันนี้ ขอให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล กวดขัน และตรวจสอบให้แพทย์ประจำสถานพยาบาลเอกชนของตนปฏิบัติตามกฎหมายการประกอบวิชาชีพให้ถูกต้อง เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดคิด หรือผลกระทบต่อร่างกายของผู้รับบริการ จากยาหรือวัคซีนแล้ว ถึงแม้ผู้รับบริการจะนำมาเอง ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลก็จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ในมาตรา 34 (2) ฐานไม่ควบคุม ดูแลให้แพทย์ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากพบว่าแพทย์ผู้ให้บริการไม่จัดทำประวัติผู้ป่วย ผู้ประกอบกิจการ และผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 35 (3) ฐานไม่จัดทำเอกสาร หลักฐานของผู้ป่วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย

          ทั้งนี้ ภาครัฐมีนโยบายให้ประชาชนทุกคนได้รับวัคซีนโควิด 19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากประชาชนท่านใดต้องการรับบริการวัคซีนทางเลือก ก็ขอให้ติดต่อผ่านสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากภาครัฐโดยตรงเท่านั้น ไม่ควรนำวัคซีนโควิด 19 ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย.หรือไม่ทราบแหล่งที่มา มาขอรับบริการจากสถานพยาบาล

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ