กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

องค์กรคุณธรรมต้นแบบ สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์

เผยแพร่ : 06 มิถุนายน 2568 อ่าน : 37 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 100 ทำไมการกลั้นปัสสาวะนานเกินไปถึงอันตราย?

เผยแพร่ : 20 พฤษภาคม 2568 อ่าน : 54 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

การใช้ไฟฟ้าหลังน้ำลด | กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ | HAPPY PLACE |

เผยแพร่ : 20 พฤษภาคม 2568 อ่าน : 48 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 99 ดูแล “น้องสาว” ดี ไม่มีเชื้อรามากวนใจ

เผยแพร่ : 20 พฤษภาคม 2568 อ่าน : 56 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

Green & Clean hospital การออกแบบโรงพยาบาลอย่างยั่งยืน | สื่อสารสุขภาพ | Exclusive Health Talk

เผยแพร่ : 20 พฤษภาคม 2568 อ่าน : 69 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ สบส. ขอ talk ตอน อสม.บอกต่อนับคาร์บ ลดโรค NCDs

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 135 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

"NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม." งานวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติปี 2568

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 227 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน Low carb ง่ายๆด้วยโปรแกรมคำนวณคาร์บ กับ อสม.

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 171 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 78 ใจสั่นอาการที่พบได้ง่ายส่อแววเกิดโรค

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 133 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ทําไมอาหารถึงทําให้เราป่วย? การกินอาหารที่ไม่เหมาะสมนําไปสู่โรค NCDs ได้อย่างไร? / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 154 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ข้อควรระวัง! ในการเข้ารับบริการนวดเพื่อสุขภาพ

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 240 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

หมอกหรือฝุ่น PM 2.5 / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 193 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

โรคอ้วนในเด็กเกิดจากอะไร ?                 โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมเกินจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 มิถุนายน 2568 อ่าน : 28 ครั้ง บทความ

คุณคิดว่าโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน เป็นแค่โรคของคนแก่จริงหรือ ?  คำตอบ คือ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 มิถุนายน 2568 อ่าน : 35 ครั้ง บทความ

            เคยรู้สึกนอนไม่พอ นอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นมาก็ยังง่วงเงียเหมือนไม่ได้นอนหรือไม่ อย่านิ่งนอนใจไป เพราะ การนอนคือสิ่งสำคัญ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 11 มิถุนายน 2568 อ่าน : 49 ครั้ง บทความ

            เข้าสู่ช่วงหน้าร้อนหลายคนต่างหาวิธีดับร้อนที่แตกต่างกันไป เดินทางไปตากแอร์เย็นๆ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 พฤษภาคม 2568 อ่าน : 85 ครั้ง บทความ

ความดันโลหิตสูง หนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โรคนี้ได้ชื่อว่าเป็น "ฆาตกรเงียบ" และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใด ๆ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 12 พฤษภาคม 2568 อ่าน : 141 ครั้ง บทความ

การจมน้ำ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยวัย 5-14 ปี โดยในช่วง... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 12 พฤษภาคม 2568 อ่าน : 107 ครั้ง บทความ

อุ้มบุญ ?

6012

อุ้มบุญ หรือ การตั้งครรภ์แทน คือ การที่หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนให้สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งภริยามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าไม่อาจตั้งครรภ์เองได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ซึ่งทารกถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยา ทั้งนี้ การอุ้มบุญจะต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนให้แก่สามีและภริยารายนั้นๆ

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ หมายถึง กรรมวิธีใดๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่นำอสุจิและไข่ออกจากร่างกายมนุษย์ เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยไม่เป็นไปตามธรรมชาติ รวมทั้งการผสมเทียม

การให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์

  1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในการบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ตามแพทยสภากำหนด
  2. ก่อนให้บริการ ผู้ให้บริการจะต้องจัดให้มีการตรวจและประเมินความพร้อมทางด้านร่างการ จิตใจ และสภาพแวดล้อมของผู้ขอรับบริการ (หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ผู้รับบริจาคอสุจิหรือไข่) รวมทั้งป้องกันโรคที่อาจมีผลกระทบต่อเด็กที่จะเกิดมาด้วย
  3. การสร้าง การเก็บรักษา การใช้ประโยชน์จากตัวอ่อน หรือการทำให้สิ้นสภาพของตัวอ่อน ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แพทยสภาประกาศกำหนด แต่จำกำหนดให้เก็บรักษาหรือใช้ประโยชน์จากตัวอ่อนที่มีอายุเกินกว่าสิบสี่วันนับแต่วันปฏิสนธิไม่ได้ทั้งนี้อายุของตัวอ่อนไม่นับรวบระยะเวลาในการแช่แข็งตัวอ่อน
  4. สถานพยาบาลที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
  5. ผู้ให้บริการ อาจทำการตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำในลักษณะที่อาจทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการเลือกเพศ การตรวจวินิจฉัยให้เป็นไปตามแพทยสภากำหนด
  6. การผสมเทียมต้องกระทำต่อหญิงที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับการผสมเทียมที่แพทยสภากำหนด
  7. การผสมเทียมโดยใช้อสุจิของผู้บริจาคต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์ให้มีการผสมเทียม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่แพทย์สภากำหนด

 

การดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนอย่างน้อยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

          ผู้ที่ต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน

  1. สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งภริยามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าไม่อาจตั้งครรภ์เองได้และต้องมีสัญชาติไทย
  2. สามีหรือภริยามิได้มีสัญชาติไทย ต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

          หญิงที่รับการตั้งครรภ์แทน

  1. ต้องมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย
  2. ต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีไม่มีญาติสืบสายโลหิต ให้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทนได้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                       1) มีสัญชาติเดียวกันกับสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย

                   2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 40 ปีบริบูรณ์ และเคยมีบุตรมาแล้วโดยการคลอดตามธรรมชาติไม่เกิน 3 ครั้ง หรือในกรณีผ่าคลอดไม่เกิน 1 ครั้ง

                   3) เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ดี โดยผ่านการตรวจและประเมินความพร้อมทางด้านร่างกายจิตใจ และสภาพแวดล้อม ตามที่แพทยสภาประกาศ

                   4) เป็นผู้ที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามีที่ชอบด้วยกฎหมายหรือชายที่อยู่กินฉันสามีภรรยา

                   5) มีหนังสือแสดงความยินยอมให้มีการตั้งครรภ์แทนพร้อมเอกสารตามแบบคทพ.1

  1. ต้องเป็นหญิงที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้วเท่านั้น
  2. ถ้าหญิงนั้นมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายหรือชายที่อยู่กินฉันสามีภริยา จะต้องได้รับความยินยอมจากสามี

การดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนให้กระทำได้ 2 วิธี ต่อไปนี้

  1. ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีและไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน
  2. ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีหรือไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทบกับไข่หรืออสุจิของผู้อื่น ทั้งนี้ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน

การยื่นคำขออนุญาตให้ดำเนินการตั้งครรภ์แทน

          แพทย์ผู้ให้บริการมีหน้าที่ยื่นคำขออนุญาตให้ดำเนินการตั้งครรภ์แทนต่อกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

เด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน

  1. เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาที่ประสงค์จะมีบุตร
  2. มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดก
  3. กรณีสามีและภริยาเสียชีวิตก่อนเด็กเกิด ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองเด็ก จนกว่าศาลจะตั้งผู้ปกครองขึ้นใหม่

การแจ้งเกิด

  1. สามีและภริยามีหน้าที่แจ้งเกิดตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
  2. กรณีสามีและภริยาเสียชีวิตก่อนเด็กเกิดหรือ ไม่อยู่ในประเทศไทย หรือ ไม่ปรากฏตัว ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนนั้น มีหน้าที่แจ้งเกิด

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามเป็นคนกลาง นายหน้า โดยมีค่าตอบแทนให้จัดการหรือชี้ช่องให้มีการตั้งครรภ์แทน
  2. ห้ามสามีและภริยาปฏิเสธการรับเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนเป็นบุตร
  3. ห้ามซื้อขาย เสนอซื้อ นำเข้า ส่งออก ซึ่งอสุจิ ไข่หรือตัวอ่อน
  4. ห้ามให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า
  5. ห้ามโฆษณาว่าจะรับหรือจะให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน
  6. ห้ามกระทำการที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการเลือกเพศ

สบส.คอลัมน์ "รอบรู้กับกรม สบส."

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ