กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส. หนุน อสม.ร่วมด่านชุมชน สกัดอุบัติเหตุ รับเทศกาลสงกรานต์ 2567

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ร่วมภาคีสนับสนุนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมด่านชุมชนเพิ่มความถี่เรียกตรวจ สกัดผู้มีอาการมึนเมาขับขี่ยานพาหนะ โดยเฉพาะ 7 จังหวัด ความเสี่ยงสูง

d7419fcc78b5380644bd252c6a62459b

 

2d43730069c118fe5372fcd453cfe28d
นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข มีแผนดำเนินงานป้องกันและลดการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 โดยกำหนดวันคุมเข้ม 7 วัน ระหว่างวันที่ 11 -17 เมษายน 2567 โดยใช้หัวข้อการรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” เพื่อให้ประชาชนเดินทางปลอดภัยไร้อุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ดังนั้น กรม สบส.ในฐานะหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับเครือข่ายสำคัญของระบบสาธารณสุขไทย อย่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมบทบาท อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ด่านชุมชนทำการประเมิน คัดกรองผู้มีอาการมึนเมาสุรา พร้อมบันทึกข้อมูลในระบบรายงานผลการคัดกรองผู้มีอาการมึนเมาสุราต่อที่ประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัดให้ทราบเป็นประจำทุกวัน เพื่อวางแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงสุด (สีแดง) ได้แก่ 1.นครราชสีมา 2.ปทุมธานี 3.ขอนแก่น 4.เชียงราย 5.นครปฐม 6.ภูเก็ต และ 7.ลำปาง จะมีการกำชับให้พี่น้อง อสม.เพิ่มความถี่ในการเรียกตรวจผู้ขับขี่ยานพาหนะ สกัดมิให้ผู้มีอาการมึนเมาขับขี่ยานพาหนะออกไปในพื้นที่ชุมชน นอกจากนี้ พี่น้อง อสม.ก็จะช่วยเฝ้าระวัง สอดส่อง และรณรงค์ประชาสัมพันธ์การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกเวลาที่กำหนด ซึ่งพบการกระทำผิด จำนวน 496 ครั้ง ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 รองลงมา คือ การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี หรือผู้ที่มึนเมาจนครองสติไม่ได้ จำนวน 356 ครั้ง เพื่อป้องกัน และลดความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือการทะเลาะวิวาทจากการเมาสุราในกลุ่มเยาวชน
ด้าน นพ.สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า บทบาทของ อสม.ประจำด่านชุมชนนั้น นอกจากการร่วมตั้งด่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว อสม.ยังมีบทบาทในการคัดกรองผู้ขับขี่ที่สงสัยว่าดื่มสุรา โดยใช้การสังเกตทางกายภาพ อาทิ มีอาการเดินโซเซ ตาเยิ้มแดง มีกลิ่นสุรา และประเมินอาการมึนเมาสุราเบื้องต้นด้วย 1 ในวิธีการ ดังนี้ 1. “แตะจมูกตัวเอง” ยืดแขนไปข้างหน้าแล้วชี้นิ้วออกไป จากนั้นให้งอศอกและเอานิ้วมาแตะที่ปลายจมูกโดยไม่ลืมตา หากแตะที่ปลายจมูกไม่ได้น่าจะอยู่ในภาวะเมาสุรา 2. “เดินแล้วหัน” ยืนตัวตรง เดินสลับเท้าโดยให้ส้นชิด ปลายเท้าเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า 9 ก้าว แล้วหันตัวด้วยเท้า 1 ข้าง จากนั้นเดินสลับเท้าแบบส้นชิดปลายเท้าอีก 9 ก้าว หากไม่สามารถเดินให้ส้นเท้าชิดปลายเท้าได้ต้องใช้แขนช่วยพยุงหรือล้มเซ น่าจะอยู่ในภาวะมึนเมาสุรา 3. “ยืนขาเดียว” ยืนตัวตรง ยกขาข้างหนึ่งขึ้นจากพื้น 15 เซนติเมตร เริ่มนับ 1000, 1001, 1002 ... จนกว่าจะครบ 30 วินาที หากตัวเซวางเท้าลง เขย่ง หรือใช้แขนทรงตัว น่าจะอยู่ในสภาวะมึนเมาสุรา อสม.จะให้นั่งพักและประเมินซ้ำทุกๆ 30 นาที หากอาการไม่ดีขึ้นจะติดต่อให้ญาติมารับกลับที่พักต่อไป

312219dc4ba0922c52d9931885944677

4d32ef6358940f777ab2b5ad09ce0c39

6a9a8afef04a6815927b674a322a0bd9

7766069662977da5c6ffc677d9c98b7d

47e690c5d2d01c8e545b0aedf6d8b935

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ