กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สธ.เปิดตัวโครงการชุมชนวิถีใหม่ ปลอดภัยจากโควิด 19 หนุนชุมชนจัดการตนเอง โดยใช้เครื่องมือในการควบคุมโรคแบบดิจิทัล

สธ.เปิดตัวโครงการชุมชนวิถีใหม่ ปลอดภัยจากโควิด 19 หนุนชุมชนจัดการตนเอง โดยใช้เครื่องมือในการควบคุมโรคแบบดิจิทัล 

line_album_โครงการชุมชนวิถีใหม่-ปลอดภัยจากโควิด-1_28833F479-E072-58F9-4915-1D2CA032B9AC

          กระทรวงสาธารณสุข เปิดตัวโครงการชุมชนวิถีใหม่ ปลอดภัยจากโควิด 19 สนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จิตอาสา และประชาชน นำระบบควบคุมโรคดิจิทัลมาใช้ตัดตอนวงจรโควิด 19 ในชุมชน

          วันนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2565) ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการชุมชนวิถีใหม่ ปลอดภัยจากโควิด 19: สานพลัง อสม. จิตอาสา ประชาชน ร่วมใช้ระบบปฏิบัติการตัดตอนวงจรโควิด 19 “หยุดความชะงักงัน สู่การกักกันตัวอย่างมีรายได้” และกิจกรรมส่งมอบทุนหมุนเวียนสนับสนุนพื้นที่ขยายผลดำเนินงาน โดยมี นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารหน่วยงานเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

          ดร.สาธิตฯ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายให้งานสาธารณสุขเป็นรากฐานช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะการลงทุนด้านสุขภาพของคนในชาติ คือการลงทุนที่ยั่งยืนที่สุด เมื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดีจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ทำให้เศรษฐกิจของประเทศแข็งแรง โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน การอยู่ร่วมกับโรคโควิด 19 อย่างปลอดภัย ตามแนวทาง “ตำบลวิถีใหม่ ปลอดภัยจากโควิด 19” เป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจประเทศให้เดินไปข้างหน้าได้ ซึ่งนอกจากการดำเนินงานของภาครัฐและเอกชนแล้ว ยังมีพลังของภาคประชาชน คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ  อสม. ที่เป็นกำลังสำคัญในฐานะด่านหน้าในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ทั้งนี้ การดูแลประชาชนให้เข้าสู่สุขภาพดีวิถีชีวิตปกติใหม่ ที่อยู่ร่วมกับโควิด 19 ได้อย่างปลอดภัย ไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องสุขภาพเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงการทำมาหากินด้วย กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนวิถีใหม่ ปลอดภัยจากโควิด 19: สานพลัง อสม. จิตอาสา ประชาชน ร่วมใช้ระบบปฏิบัติการตัดตอนวงจรโควิด 19 “หยุดความชะงักงัน สู่การกักกันตัวอย่างมีรายได้” และกิจกรรมส่งมอบทุนหมุนเวียนสนับสนุนพื้นที่ขยายผลดำเนินงานขึ้น โดยขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่ 1,000 แห่ง เพื่อให้ อสม. และเครือข่ายภาคประชาชนใช้ระบบปฏิบัติการตัดตอนวงจรโควิด 19 ในการสอบสวนโรคผู้ติดเชื้อผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อสร้างไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ย้อนหลัง 14 วัน โดยจะมีการแจ้งเตือนผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ติดเชื้อ ด้วยการส่ง SMS อัตโนมัติ โดยมีอสม. ทำหน้าที่เป็น “ผู้ช่วยเหลือ” (Buddy) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ติดตามอาการผู้เสี่ยงสูงที่ต้องกักกันตน ให้รายงานอุณหภูมิ อาการผิดปกติตลอดระยะเวลา 14 วัน ที่กักตนผ่านระบบดิจิทัล และให้กักกันตนจนครบระยะเวลา

          ด้าน นพ.ธเรศ กล่าวว่า การสอบสวนโรคเพื่อหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่มีความรวดเร็ว แม่นยำ ครบถ้วน จะช่วยจำกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ โดยระบบปฏิบัติการตัดตอนวงจรโควิด 19 เป็นระบบปฏิบัติการดิจิทัลผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่เป็นการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้นำชุมชน ในการร่วมกันคัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโควิด 19 เข้าสู่ระบบกักกันตน เพื่อลดการแพร่เชื้อ เป็นการตัดตอนและหยุดวงจรการระบาดในแต่ละชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง โดยใช้ทุนของชุมชนมาสร้างรายได้ระหว่างการกักตัว เช่น อสม.หมู่ 3 บ้านแม่หวาน ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ มีแนวคิดให้ผู้กักตัวเสี่ยงสูงจัดทำใบตองตึง ถักทอเป็นผลิตภัณฑ์ส่งขายให้กับคนในชุมชน เป็นการสร้างรายได้ระหว่างการกักตัวให้กับตนเอง

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ