กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

มาทำความรู้จัก Hospitel...

มาทำความรู้จัก Hospitel...

ac012

ในช่วงคลัสเตอร์ใหม่ “สถานบันเทิง” ในกรุงเทพมหานคร ได้เกิดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 อย่างรวดเร็ว มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ทำให้จำนวนเตียงของโรงพยาบาล ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้เพียงพอ อีกทั้งสถานการณ์การท่องเที่ยวที่อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 ทำให้หลายโรงแรมได้รับผลกระทบ เช่น ยอดนักท่องเที่ยวเข้าพักลดลง รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ฯลฯ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและกรมการแพทย์ จึงเกิดแนวคิดในการนำโรงแรมที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงเป็นห้องพักรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 เพื่อเป็นการลดความแออัดของโรงพยาบาลและสร้างรายได้ให้โรงแรมที่ได้รับผลกระทบ กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (สพรศ.) จึงได้รับมอบหมายให้ร่วมกำหนดหลักเกณฑ์แนวทางการเปลี่ยนโรงแรมเป็นโรงพยาบาลสนาม และยังได้ร่วมกับกองแบบแผน กองวิศวกรรมการแพทย์และกองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ เข้าตรวจและอนุมัติโรงแรม ที่จะดำเนินการจัดตั้งเป็นหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ หรือ Hospitel

          หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ  (Hospitel) รองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019  มาจากคำว่า Hospital (โรงพยาบาล)  และ Hotel (โรงแรม)  Hospitel  คือ การปรับเปลี่ยนโรงแรม ที่มีความสะดวกด้านต่างๆ ให้เป็นพื้นที่สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล  ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของโรงพยาบาลแม่ข่ายที่รับรักษา  โรงพยาบาลจึงส่งตัวมาเข้าพักรักษาที่ Hospitel  อาจเป็นผู้ป่วยใหม่ หรือผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้วย้ายมา (Step down)  โดยระหว่างพักรักษาตัวจะมีแพทย์ประจำ 1 คน และมีพยาบาล 1 คน ต่อผู้ป่วย 20 เตียง โดยจะทำการวัดไข้ วัดความดัน และวัดค่าออกซิเจนในเลือด เป็นระยะ หากมีอาการหนักขึ้น จึงส่งต่อโรงพยาบาล หากไม่มีอาการหรือหายจากอาการป่วยแล้ว ก็สามารถกลับบ้านได้

เกณฑ์การรับผู้ป่วย 

          ควรเป็นตามเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) ≥ 96% ไม่มี/มีโรคร่วมที่ควบคุมได้ และมีอายุไม่เกิน 75 ปี
  2. ผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) ≥ 94% ไม่มี/มีโรคร่วมที่ควบคุมได้และมีอายุ ไม่เกิน 65 ปี
  3. ผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ไม่มี/มีอาการเล็กน้อย มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) ไม่มีโรคร่วม และมีอายุไม่เกิน 60 ปี
  4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการรุนแรงแล้วได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้น ภายหลังอยู่โรงพยาบาล 7-10 วันและให้พัก ต่อที่ Hospitel จนครบ 14 วัน
  • สามารถสื่อสารได้รู้เรื่อง ดูแลตนเองได้ ไม่ก้าวร้าว และไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช
  • มีโรคประจำตัวที่ควบคุมได้ และมียารับประทานมาด้วย

* กรณีที่มีความจำเป็นเรื่องจำนวนเตียง ให้สถานพยาบาลพิจารณาตามดุลพินิจของแพทย์ โดยพิจารณา ตามความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นประเด็นหลัก

การดำเนินการของ Hospitel 

  1. ประเมินความเหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อ
  2. ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การรักษาที่หอผู้ป่วยเฉพาะกิจในระบบของโรงพยาบาล
  3. ถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray) (หากทำได้) ถ้าพบความผิดปกติรุนแรง ให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
  4. จัดระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วย ในกรณีผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล
  5. ให้ความมั่นใจในมาตรฐานการดูแลรักษาของทีมแพทย์และพยาบาลสำหรับผู้ติดเชื้อ
  6. ให้ผู้ป่วยลงนามในหนังสือแสดงความยินยอม

การขออนุมัติเปลี่ยนโรงแรม ให้เป็น Hospitel 

ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการสามารถสมัครทางออนไลน์ได้ที่ https://forms.gle/ECkc5Zf98NSUZe7D7 ส่วนในเขตต่างจังหวัด สามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ โดย กรม สบส.จะดำเนินการอนุมัติ โดยมีหลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาอนุมัติ 5 หมวด ดังนี้

          หมวด 1 โครงสร้างอาคาร และวิศวกรรม

          ตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวก ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต้องแบ่งพื้นที่ขอบเขตการให้บริการเป็นสัดส่วนให้ชัดเจน กรณีอาคารที่ที่มีสามชั้นขึ้นไป จะต้องมีลิฟต์อย่างน้อยหนึ่งตัว หรือมีทางลาดเอียง เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องจัดสถานที่และอุปกรณ์อานวย ความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และห้องน้าสาหรับผู้ป่วย มีความปลอดภัย มีความสะดวกและเหมาะสมต่อ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และต้องมีระบบการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อต่างๆ

          หมวด 2 บุคลากรทางการแพทย์ และ เจ้าหน้าที่สนับสนุน

  1. พยาบาลวิชาชีพอย่างน้อย 1 คน ต่อเตียงที่รับผู้ป่วย 20 -40 เตียง         
  2. พยาบาลวิชาชีพควบคุมการติดเชื้อประจาหอผู้ป่วย (ICWN) อย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 Hospitel (Consult)
  3. แพทย์อย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 Hospitel (Consult)
  4. เภสัชกรอย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 Hospitel (Consult)
  5. นักรังสีเทคนิคอย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 Hospitel (Consult) (เพื่อทาการเอกซเรย์ปอด)
  6. นักจิตวิทยาคลินิกอย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 Hospitel (Consult) (เพื่อประเมินความเครียดจากการกักตัวเพื่อการรักษาตัวของผู้ป่วย โดยให้ประเมิน 1 ครั้ง ต่อ 3-4 วันที่กักตัวผู้ป่วย) (Consult)

          หมวด 3 วัสดุ อุปกรณ์สานักงาน

          ระบบงาน Back office และงานสนับสนุนต่างๆ เช่น งานเวชระเบียน งานสื่อสารประชาสัมพันธ์ งานธุรการอื่น งานโภชนาการ งานสาธารณูปโภค งานช่างและซ่อมบารุง งานยานพาหนะ(ส่งต่อผู้ป่วย) งานจ่ายกลาง งานจัดการขยะติดเชื้อ งานสนับสนุนอื่นๆ

          หมวด 4 เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  1. เครื่องวัดอุณหภูมิ แบบ Digital 1 เครื่อง ต่อผู้ป่วย 1 คน
  2. เครื่องวัดความเข้มข้นออกซิเจนในเลือด 1 เครื่อง ต่อผู้ป่วย 1 คน หรือ จัดให้เพียงพอตามความเหมาะสม
  3. เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ (Potable X-ray) 1 เครื่อง หรือ รถเอกซเรย์เคลื่อนที่ 1 คัน ต่อ 1 Hospitel
  4. ชุดอุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพ ชุดให้ยาผู้ป่วย ตู้เก็บเวชภัณฑ์ที่เหมาะสม และชุดตรวจร่างกายเบื้องต้น
  5. ชุดอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (ppe) และอื่นๆ

          หมวด 5 การจัดการสิ่งแวดล้อมและเป็นมิตรกับชุมชน

          ระบบควบคุมการติดเชื้อทั้งทางอากาศ และระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ชุมชน

 

สบส.คอลัมน์ “รอบรู้กับกรม สบส.”

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ