กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

รายการ สบส. ขอ talk ตอน อสม.บอกต่อนับคาร์บ ลดโรค NCDs

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 82 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

"NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม." งานวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติปี 2568

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 134 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน Low carb ง่ายๆด้วยโปรแกรมคำนวณคาร์บ กับ อสม.

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 104 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 78 ใจสั่นอาการที่พบได้ง่ายส่อแววเกิดโรค

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 83 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ทําไมอาหารถึงทําให้เราป่วย? การกินอาหารที่ไม่เหมาะสมนําไปสู่โรค NCDs ได้อย่างไร? / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 102 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ข้อควรระวัง! ในการเข้ารับบริการนวดเพื่อสุขภาพ

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 169 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

หมอกหรือฝุ่น PM 2.5 / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 135 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 94 ตุ่มน้ำพอง โรคกวนใจที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 154 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ค่าฝุ่น PM 2.5 ปริมาณเท่าไหร่ถึงมีผลต่อสุขภาพ

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 134 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 119 สุขภาพดี สีเสื้อไม่เกี่ยว (วิธีสังเกตร้านนวดที่ได้มาตรฐาน)

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 113 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

เรื่อง Low carb คุมน้ำหนักด้วยการลดแป้ง

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 288 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 118 NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 210 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

คาร์โบไฮเดรต เป็น 1 ในอาหารหลัก 5 หมู่ พบมากในอาหารจำพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล และพืชหัว... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 07 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 375 ครั้ง บทความ

การมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด อาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจในระยะยาว เช่น การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 07 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 233 ครั้ง บทความ

  วันตรุษจีนถือเป็นวันรวมญาติ และไหว้บรรพบุรุษเพื่อเสริมโชคลาภและสุขภาพ การเลือกอาหารไหว้ควรคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เราจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ทุกคน... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 467 ครั้ง บทความ

  ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี สาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพ มาจากการละเลยในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง การตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยงและความผิดปกติของร่างกายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 614 ครั้ง บทความ

             ความสะดวก สบาย... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 03 มกราคม 2568 อ่าน : 290 ครั้ง บทความ

  กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การกินอาหารที่มีรสจัด... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 19 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 717 ครั้ง บทความ

กรม สบส.แนะประชาชนเช็คหลักฐาน 5 อย่าง เสริมภูมิคุ้มกันคลินิก/หมอเถื่อน

156222981

     กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แนะประชาชนเช็คหลักฐาน 5 อย่าง ก่อนตัดสินใจรับบริการทางการแพทย์ ป้องกันอันตรายจากคลินิกเถื่อน หมอเถื่อน พร้อมชวนประชาชนร่วมเป็นเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค หากพบเบาะแสการกระทำผิดอย่ารอช้าให้แจ้งที่สายด่วนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 1426 นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากกรณี การจับกุมอดีตบุรุษพยาบาล วัย 41 ปี ซึ่งแอบสวมรอยเป็นแพทย์ลักลอบให้บริการฉีดสารเสริมความงาม อาทิ ฟิลเลอร์/โบท็อกซ์ จนมีผู้ได้

ผลกระทบหลายราย ทั้งเกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อ หรือในบางรายถึงขั้นตาบอดสนิท เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นั้น ต้องยอมรับว่าในยุคปัจจุบันที่ผู้คนต่างให้ความสำคัญกับสุขภาพและรูปลักษณ์ ย่อมมีผู้ไม่ประสงค์ดีนำกระแสนิยมดังกล่าวมาตักตวงผลประโยชน์โดยไม่คิดถึงผลกระทบที่จะเกิด ไม่ว่าจะเป็นการเปิดคลินิกเถื่อน ให้บริการรักษาพยาบาล/เสริมความงามทั้งที่ตนไม่ใช่แพทย์ จนมีผู้ได้รับผลกระทบทั้งจากการติดเชื้อ แผลเน่า ใบหน้าผิดรูป ตาบอด หรืออันตรายถึงแก่ชีวิต แม้ว่ากรม สบส.จะมีการดำเนินงานเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ไขข้อกระจ่าง และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเพียงการกวดขันของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวอาจจะไม่เพียงพอ จะต้องมีการสร้างเสริมความรู้แก่ประชาชนให้เป็นภูมิคุ้มกันจากอันตรายดังกล่าวด้วย ในวันนี้ตนจึงขอยกแนวทางการเลือกรับบริการทางการแพทย์ มาเน้นย้ำกับพี่น้องประชาชนอีกครั้ง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นวิธีการที่ซับซ้อนแต่อย่างใด เพียงประชาชนสละเวลาเล็กน้อยตรวจสอบหลักฐานสำคัญ 5 อย่างที่สถานพยาบาลต้องมี ก็สามารถป้องกันตนเองได้แล้ว ซึ่งหลักฐานทั้ง 5 อย่างประกอบด้วย 1)ป้ายชื่อคลินิกต้องแสดงเลขที่ใบอนุญาต 11 หลัก 2)มีการแสดงใบอนุญาตเปิดกิจการคลินิก เลขใบอนุญาตต้องตรงกับเลขที่ที่ติดที่ป้ายชื่อคลินิก 3)มีการแสดงใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลซึ่งต้องมีการระบุชื่อผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบโรคศิลปะและต้องมีความเป็นปัจจุบัน 4)มีการแสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมคลินิกที่เป็นปีปัจจุบัน และ 5)มีการแสดงหลักฐานของแพทย์ที่ให้บริการในคลินิก โดยมี ชื่อ-นามสกุล และภาพถ่ายติดที่หน้าห้องตรวจ โดยสามารถตรวจสอบชื่อคลินิกได้ที่เว็บไซต์กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (www.mrd-hss.moph.go.th) และตรวจสอบชื่อแพทย์ได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา (www.tmc.or.th) หากพบว่าสถานพยาบาลมีหลักฐานที่ต้องแสดงครบถ้วนก็สามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการจากสถานพยาบาลที่ถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด แต่หากไม่พบหลักฐานข้างต้นหรือขาดหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ควรรับบริการโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีผู้ได้รับผลกระทบ หรือสูญเสียจากบริการทางการแพทย์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และเป็นการตัดตอนกระบวนการทำงานของเหล่ามิจฉาชีพ กรม สบส.ขอเชิญชวนประชาชนมาร่วมเป็นหูเป็นตาในฐานะเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค หากพบเห็นเบาะแสการกระทำผิดของ คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน อย่านิ่งดูดายให้ใช้สมาร์ทโฟน (Smartphone) เก็บภาพไว้เป็นหลักฐานหากอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้แจ้งมาที่สายด่วนกรม สบส. 1426 แต่หากอยู่ในส่วนภูมิภาคสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ นำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ