กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

adee56fda6e13fa5afc23a251ed6b04c

 

วันตรุษจีนถือเป็นวันรวมญาติ และไหว้บรรพบุรุษเพื่อเสริมโชคลาภและสุขภาพ การเลือกอาหารไหว้ควรคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เราจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ทุกคน                    ในครอบครัวได้เฉลิมฉลองอย่างมีความสุขและสุขภาพดี

 

ทั้งเฮงและสุขภาพดี...เลือกอาหารไหว้อย่างไรให้เหมาะสม

  • อาหารคาว

ควรเลือก

  • ปลา เสริมเฮงด้านความอุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง สุขภาพดีเพราะปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและมีไขมันต่ำ
  • หมูเนื้อแดง เสริมเฮงด้านความแข็งแรง ความมั่งคั่ง สุขภาพดีโดยการเลือกใช้หมูเนื้อแดงแทนหมูสามชั้น ที่มีไขมันมาก
  • ประกอบอาหารด้วยการนึ่ง ต้ม ตุ๋น อบ แทนการทอดหรือผัดที่ใช้น้ำมันมาก
  • หากต้องการใช้น้ำมัน ควรเลือกน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน

ควรเลี่ยง

  • เนื้อสัตว์ส่วนที่ติดมันติดหนัง
  • การกินหัวกุ้ง เนื่องจากมีคลอเลสเตอรอลสูง

 ผลไม้

ควรเลือก

  • ผลไม้ที่มีวิตามินและกากใยสูง เช่น ส้ม เสริมเฮงด้านความโชคดี, แอปเปิล เสริมเฮงด้านความสงบสุข, แก้วมังกร เสริมเฮงด้านความอุดมสมบูรณ์ การมีโชคลาภ

ควรเลี่ยง

  • ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น องุ่น สัปปะรด เพราะมีน้ำตาลสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคเบาหวาน

 ขนม

ควรเลือก

  • ขนมที่ใช้ไขมันน้อยในการทำ เช่น ขนมสาลี่ เสริมเฮงด้านความเจริญรุ่งเรืองและความสุข, ขนมถ้วยฟู เสริมเฮงด้านความเจริญรุ่งเรืองและความสำเร็จ, ขนมไข่ เสริมเฮงด้านความอุดมสมบูรณ์ ความสุข และเสริมสุขภาพดีโดยการรับประทานขนมแต่น้อย

ควรเลี่ยง

  • ขนมที่ใส่สีฉูดฉาด ขนมที่มีน้ำตาลสูงและใช้ไขมันสูง

 

การเลือกอาหารไหว้ตรุษจีน นอกจากการเสริมสิริมงคลให้ชีวิตแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสุขภาพ โดยการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ โปรตีนสูงและไขมันต่ำ มีวิตามินและกากใยสูง เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ และการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว

 

แหล่งข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

3 มกราคม 2567

 d692c8f5596f2fb2a94582e055bc139f

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

สาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพ มาจากการละเลยในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง การตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยงและความผิดปกติของร่างกายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม และช่วยให้แพทย์ให้การรักษา              ได้อย่างเหมาะสม ลดความสูญเสียทั้งด้านสุขภาพ และด้านการเงิน

 

การตรวจสุขภาพแต่ละช่วงวัย...ควรตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพเบื้องต้น จะแบ่งตามเพศและช่วงวัย โดยแพทย์จะแนะนำให้ตรวจทุก 1 ปี ดังนี้

วัยเด็กและวัยรุ่น (อายุ 0 – 18 ปี)

ตรวจสุขภาพทั่วไป (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง) ตรวจการได้รับวัคซีน พัฒนาการของร่างกาย การดูแลช่องปากและฟัน โภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม การได้ยิน การใช้ภาษาและการสื่อสาร สติปัญญาและจริยธรรม การช่วยเหลือตัวเองและการเข้าสังคม การค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงตามวัย เช่น ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ ปัญหาครอบครัว เรื่องเพศ ยาและสารเสพติด

วัยผู้ใหญ่  (อายุ 18 – 60 ปี)

ตรวจร่างกายทั่วไป (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI และวัดความดันโลหิต) ตรวจสายตา ตรวจคัดกรองมะเร็งและโรคที่จำเป็น ได้แก่

  • มะเร็งเต้านม อายุ 30-39 ปี ตรวจทุก 3 ปี /อายุ 40 ปีขึ้นไป ตรวจทุกปี
  • มะเร็งปากมดลูก อายุ 30-65 ปี ตรวจทุก 3 ปี
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจอุจจาระทุกปี
  • ตรวจเบาหวาน อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 3 ปี ช่วยป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
  • ตรวจไขมันในเลือด อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 5 ปี ช่วยคัดกรองและป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

วัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)

ตรวจร่างกายทั่วไป (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI และวัดความดันโลหิต) ตรวจคัดกรองมะเร็งและโรคที่จำเป็น ได้แก่

  • มะเร็งปากมดลูก ตรวจทุก 3 ปีจนถึงอายุ 65 ปี
  • มะเร็งเต้านม ตรวจทุกปีจนถึงอายุ 69 ปี
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจอุจจาระทุกปี
  • ตรวจสายตา อายุ 60-64 ปี ตรวจทุก 2-4 ปี /อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็น
  • ตรวจปัสสาวะทุกปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ตรวจหาไขมันในเลือดทุก 5 ปี

 

 

  • ตรวจหาเบาหวานทุกปี
  • ตรวจเลือดทุกปีเพื่อดูการทำงานของไต
  • ตรวจประเมินสภาวะสุขภาพ (ด้านโภชนาการ ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกพรุน ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า) เพื่อคัดกรองและได้รับการวินิจฉัยช่วยเหลือที่ถูกต้องและเหมาะสม

การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยค้นหาความเสี่ยงของโรคที่ยังไม่แสดงอาการ เพื่อให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคและรักษาสุขภาพได้ ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค และยังเป็น          การลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

 

แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),

                  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

3 มกราคม 2568

5b2f31be1eec3c49ad59d9be49797154

 

“พอด” หรือบุหรี่ไฟฟ้า มีสารเคมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีผลต่อสุขภาพผู้สูบและผู้ใกล้ชิด หนึ่งในสารเคมีอันตราย คือ “นิโคติน” ซึ่งมีผลต่อเด็กและเยาวชนทั้งร่างกาย และจิตใจ โดยนิโคติน  ทำให้เกิดการเสพติดและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสมองที่กำลังพัฒนาของเด็ก ในด้านจิตใจ ทำให้ควบคุมอารมณ์ได้น้อยลง ส่วนด้านสังคม ทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ขาดสมาธิ และสมรรถนะ  ในการเรียนรู้ เด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าจะนำไปสู่การเสพยาเสพติดชนิดร้ายแรง ดังนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือคนใกล้ชิด ต้องช่วยกันเฝ้าระวังภัย จากบุหรี่ไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นกับลูกหลานท่านได้        โดยสามารถปฏิบัติได้ ตามวิธีต่อไปนี้

  1. สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนในครอบครัว
  • ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน ไม่สูบบุหรี่ในที่ใกล้ตัวเด็ก เพราะเด็กจะได้รับไอหรือควันจากบุหรี่ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กด้วยการไม่สูบบุหรี่ เพราะผลจากการวิจัยพบว่าลูกที่พ่อแม่สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่ ก็จะสูบตามด้วย
  1. สอดแทรกความรู้
  • ให้ความรู้กับเด็กเมื่อพบเห็นโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าทางสื่อต่าง ๆ เพราะเด็กอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับการโฆษณาจากสื่อ
  • ชี้แนะเรื่องอันตรายจากสารนิโคติน และสารเคมีก่อโทษ ผลเสียของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ที่ส่งผล ต่อสุขภาพในระยะยาว
  • ฝึกให้เด็กรู้จักคิด ตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญขึ้น เช่น ไม่ไปเกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า ไม่เข้ากลุ่มเพื่อนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า
  1. ดูแลช่วยเหลือ
  • ผู้ปกครอง หรือคนใกล้ชิดต้องรู้จักรูปลักษณ์ ผลิตภัณฑ์ของบุหรี่ไฟฟ้า โดยสังเกตสิ่งที่มีลักษณะ เป็นหลอดดูด มีกลิ่นหอม อาจตรวจสอบดูจากอุปกรณ์การเรียนหรือของเล่น
  • สร้างบรรยากาศภายในบ้านให้อบอุ่น พูดคุยและรับฟังลูกหลานบ้าง ในเรื่องที่เด็กต้องเรียนรู้และรับมือ เช่น มีเพื่อนสูบบุหรี่ไฟฟ้า จากนั้นจึงค่อยให้ข้อมูลและความรู้เพิ่มเติม
  • ทำความรู้จักกับเพื่อนลูก ว่ามีใครสูบบุหรี่ไฟฟ้าหรือติดยาเสพติด พยายามตักเตือน ห้ามปราบ แจ้งผู้ปกครองของเพื่อนลูกที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า และให้ความรู้เรื่องโทษและภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • เมื่อรู้ว่าเด็กสูบบุหรี่ไฟฟ้า ควรพูดคุยด้วยดีเพื่อหาทางออกร่วมกัน ให้กำลังใจในการพยายามเลิก และหากิจกรรมให้เด็กทำ

ความรัก ความเข้าใจ ช่วยสร้างความอบอุ่นในครอบครัว เมื่อเด็กอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ พ่อแม่ไม่ควรปล่อยปละละเลยให้เด็กไปพึ่งพาบุหรี่ไฟฟ้าที่จะนำไปสู่สิ่งเสพติดชนิดอื่น ๆ      เพื่อคลายเครียดหรือแก้ปัญหาด้วยตนเอง ควรเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกหลานผ่านพ้นช่วงเวลาที่ต้องต่อสู้กับความหลงผิดไปให้ได้ ดังนั้น เมื่อพ่อ แม่ ผู้ปกครอง          หรือคนใกล้ชิด ช่วยกันเฝ้าระวัง เป็นแบบอย่างที่ดี คอยให้คำแนะนำ ให้ความรู้ และดูแลช่วยเหลือ ก็จะทำให้ลูกหลานของท่านปลอดภัยจากอันตรายของสารนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า

 

แหล่งข้อมูล :       1)  ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)    2)  มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่       22 เมษายน 2567

 

e48d739a7f7b143d405926415d049bfb

 

           ความสะดวก สบาย ในการใช้ชีวิต ทำให้เราเคลื่อนไหวร่างกายและทำกิจกรรมน้อยลง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ คือ สาเหตุหลักของการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

กิจกรรมทางกาย คืออะไร ?

กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวร่างกายในทุกอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เช่น การนั่ง ยืน เดิน วิ่ง ทำงาน ส่วนการออกกำลังกาย เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางกาย โดยการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำ ๆ จากการวางแผนที่ชัดเจนและจำเพาะ

กิจกรรมทางกายของคุณ อยู่ในระดับใด ?

  • ระดับนิ่งเฉย คือ กิจกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น นั่งเฉย ๆ นั่งดูทีวี นอนหลับ นั่งประชุม นั่งขับรถ นั่งสวดมนต์
  • ระดับน้อย คือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ออกแรงน้อย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เดินระยะทางสั้น ๆ ล้างจาน พับผ้า โยคะ รดน้ำต้นไม้ ยืนบนรถโดยสาร
  • ระดับปานกลาง คือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยปานกลาง หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้น หน้าแดงมีเหงื่อซึม ยังสามารถพูดเป็นประโยคได้ เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน เดินขึ้นลงบันได ทำสวน
  • ระดับหนักคือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก หน้าแดงและมีเหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็วมาก จนไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ เช่น ขัดห้องน้ำ ยกของหนัก วิ่งเร็ว ว่ายน้ำเร็ว กระโดดเชือก ปั่นจักรยานเร็วระยะไกล

ทำกิจกรรมทางกายอย่างไร ให้เหมาะสมกับช่วงวัย

  • เด็กและเยาวชน (อายุ 5-17 ปี) ควรทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงระดับหนัก สะสมให้ได้ อย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน เช่น กิจกรรมนันทนาการ เล่นกีฬา พละศึกษา กิจกรรมในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
  • ผู้ใหญ่ (อายุ 18-59 ปี) ควรทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายระดับหนักอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์
  • ผู้สูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)ควรทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายระดับหนักอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์

         การทำกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ควรทำต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไป ที่ระดับปานกลางถึงระดับหนัก สำหรับผู้ที่มีกิจกรรมทางกายน้อย ควรเพิ่มกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น การลุกขึ้นยืน หรือขยับเคลื่อนไหวร่างกายจากการนั่งทำงานทุก 1-2 ชั่วโมง การเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ การใช้ขนส่งสาธารณะ และออกกำลังกายด้วยการเดิน แต่หากไม่เคยทำมาก่อน ควรเริ่มจากกิจกรรมที่เบาไปหาหนัก และจากช้าไปเร็ว ควบคู่กับการกินอาหารที่มีคุณค่า ครบ 5 หมู่ และหลากหลายก็จะช่วยให้มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

 แหล่งข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

 

19 พฤศจิกายน 2567

e531bfec784323ded0686719b623c297

 

บุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร ?

บุหรี่ไฟฟ้าหรือที่วัยรุ่นเรียกว่า “พอด” คือ อุปกรณ์การสูบชนิดหนึ่งที่ถูกนำไปใช้กับน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้า เป็นไอระเหยด้วยความร้อน ในน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนผสมของสารเคมีอีกหลายชนิด เช่น สารนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติด และยังตรวจพบสารเคมีอันตรายอื่น ๆ ผสมอยู่ด้วย เช่น น้ำยากำจัดวัชพืช และน้ำยาล้างเล็บ

ทำไมเด็กถึงเสพติดบุหรี่ไฟฟ้าง่าย และเสพติดไปโดยไม่รู้ตัว ?

ด้วยรูปลักษณ์ของบุหรี่ไฟฟ้า ที่ออกแบบให้เป็นที่สนใจของเด็กวัยรุ่นปัจจุบัน เช่น มีรูปร่างเหมือนปากกา แฟล็ชไดร๊ฟ (Flash Drive) รูปตัวการ์ตูนต่าง ๆ พกพาสะดวก อีกทั้งมีกลิ่น มีรสชาติที่หลอกล่อ กระตุ้นความสนใจ ให้อยากรู้อยากลอง ทำตามคนอื่นโดยไม่ได้คิดให้รอบคอบ และเสพติดไปโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา ซึ่งครูและผู้ปกครองบางท่านอาจไม่ทราบว่าลูกหลานของท่าน กำลังเสพติดบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ และไม่รู้ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็กและคนรอบข้าง

อันตรายที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า สร้างโรคอะไรกับเด็กที่สูบได้บ้าง ?

อันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กที่สูบ ได้แก่ เกิดการระคายเคือง ไอ เหนื่อยง่าย เสี่ยงที่จะเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ภาวะหลอดเลือดแข็ง จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง เซลล์สมองถูกทำลาย อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ความจำลดลง เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง อาจเกิดแผลในกระเพาะ คลื่นไส้        อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน และอาจก่อโรคมะเร็งได้ โดยที่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้เป็นอันตรายเพียงเฉพาะตัวผู้สูบเท่านั้น คนรอบข้างที่สูดดมควันเข้าไปก็จะได้รับผลในระยะยาวต่อการพัฒนาสมอง   ระบบประสาทและหน่วยความจำได้อีกด้วย

Stop ! หยุดการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กวัยรุ่น

การเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อายุยังน้อย จะเพิ่มโอกาสเป็นผู้เสพติดบุหรี่ไฟฟ้าไปตลอดชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคจากอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เด็กวัยรุ่นเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ พ่อ แม่ ผู้ปกครองและคนใกล้ชิด ต้องช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่องดูแล สังเกตพฤติกรรม ห้ามปราม เตือนให้เห็นถึงอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า และเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการไม่สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงทำให้บ้านเป็นพื้นที่   ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เด็กวัยรุ่น วัยเรียน ซึ่งเป็นลูกหลานของท่านมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดอันตราย   บุหรี่ไฟฟ้าก่อโรค

 

แหล่งข้อมูล :     1)  มหาวิทยาลัยมหิดล    2)  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี       10 เมษายน 2567

bfdc3940d6a2d63e77063861b16fb9cd

 

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การกินอาหารที่มีรสจัด การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การสูบบุหรี่จัด รวมถึงการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ โดยอาการในกลุ่มโรค NCDs นี้ จะไม่ป่วยโดยทันที แต่จะค่อย ๆ สะสมจนเกิดโรคในอนาคต ซึ่งกลุ่มโรค NCDs ที่มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง

f38b110f308d5af63204b52f81512112

“ยาลูกกลอน” อีกหนึ่งรูปแบบยาแผนโบราณ ที่เกิดจากการนำสมุนไพรมาบด แล้วนำผงยาที่ได้ มาคลุกเคล้ากับน้ำผึ้งจนยึดเกาะกัน ปั้นเป็นเม็ดกลม สมัยโบราณใช้วิธีตากแดดจนแห้งสนิทแล้วเก็บใส่ขวดโหลสามารถเก็บไว้กินได้นาน ปัจจุบัน ชื่อของยาลูกกลอน ถูกผู้ค้าบางส่วน นำมาแสวงหาผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อสุขภาพ ทำการลักลอบใส่สเตียร์รอยด์ในยาแผนโบราณ สเตียรอยด์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ ทางการแพทย์ มีคุณสมบัติที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ต้านการอักเสบ ลดอาการปวด ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเป็นปกติ เป็นต้น จึงทำให้ถูกนำใช้ในการโอ้อวดว่ารักษาได้สารพัดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคกระดูกและข้อ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งส่วนมากตรวจพบสเตียร์รอยด์ผสมอยู่ในยาลูกกลอนที่ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อีกทั้งสร้างการจูงใจ หลอกล่อ และใช้ชื่อเรียกต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่าย เช่นยาประดง ยาหมอ ยาเบอร์ เป็นต้น

466044e55f279d94238620c897ad5fb6

                พฤติกรรมการกลั่นแกล้ง หรือบูลลี่ (Bully) เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ถูกระทำได้รับความเดือดร้อนทางกายและจิตใจ เกิดการสั่งสมความกลัว ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง และอาจก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการเข้าสังคมตามมา ลักษณะของการถูกบลูลี่นั้น มี 4 ประเภท ดังนี้

d9eef48e08b4048767f98152d4da1c87

การรู้จักป้องกันโรคอย่างถูกวิธี จะช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ ความพอดี คือ  การสร้างความสมดุล ความเหมาะสม ร่างกายของเรามีกลไกในการปรับสมดุลเพื่อต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ การใช้ชีวิต อย่างพอดี จึงเป็นวิธีลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามข้อแนะนำ ดังนี้

หน้าที่ 1 จาก 3

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ