กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส.มอบรางวัล อสม.ดีเด่นระดับชาติ สาขาสุขภาพจิตชุมชน จากผลงานฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชคืนสู่ชุมชน

กรม สบส.มอบรางวัล อสม.ดีเด่นระดับชาติ สาขาสุขภาพจิตชุมชน จากผลงานฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชคืนสู่ชุมชน

422a0112CCF98EE3-7C3D-BA23-E6F5-110F53BDAD38

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) มอบรางวัล อสม.ดีเด่นระดับชาติ สาขาสุขภาพจิตชุมชน จากผลงาน “ศูนย์ตะวันฟ้าใส สามดวงใจดูแลผู้ป่วยจิตเวช” ในพื้นที่บ้านหนองแวง ต.แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม นำทีม อสม. และแกนนำชุมชน 3 คน ในแต่ละพื้นที่ ร่วมติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชให้ได้รับการดูแล จนสามารถใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนได้

นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้กำหนดจัดงานวัน อสม.แห่งชาติ ประจำปี 2566 ในวันที่ 20 มีนาคม ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี โดยได้รับเกียรติจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข มอบช่อดอกไม้ และรางวัลเชิดชูเกียรติแก่ อสม. ดีเด่นระดับชาติ/ทีมสนับสนุน อสม./อสม. ดีเด่นระดับภาค/อสม. ดีเด่นระดับเขตสุขภาพ และ อสม. ดีเด่นระดับจังหวัด เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ อสม.ทั่วประเทศ ซึ่งการคัดเลือก อสม.ดีเด่นระดับชาติ ในปี 2566 นี้ มี 12 สาขา ซึ่งแต่ละสาขาล้วนมุ่งเน้นในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ซึ่งนอกจากการส่งเสริมสุขภาพกายแล้ว ก็ยังมีสุขภาพจิตอีกด้วย โดย อสม. ดีเด่นระดับชาติ สาขาสุขภาพจิตชุมชน ประจำปี 2566 ได้แก่ นางจิตภิรมย์ แก้วคำใต้ อสม. จ.มหาสารคาม ซึ่งอาศัยแนวคิด “คืนรักให้ครอบครัว คืนรั้วให้ชุมชน ทุกดวงใจสุขเหลือล้น เราทุกคนดูแลกัน” สร้างเครือข่ายความร่วมมือการทำงานแบบเป็นรูปธรรม ในการวางแผนติดตามการกินยา นัดหมายรับยา แนะนำการดูแลผู้ป่วยให้แก่ญาติเป็นประจำ ผู้ป่วยจิตเวชทุกรายได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดยา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชนได้

นพ.สุระฯ อธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า สำหรับนวัตกรรมเด่นของนางจิตภิรมย์ฯ ซึ่งเป็นที่มาของการได้รับรางวัล อสม. ดีเด่นระดับชาติในครั้งนี้ ประกอบด้วย การจัดตั้ง “ศูนย์ตะวันฟ้าใส สามดวงใจดูแลผู้ป่วยจิตเวช” จัดตั้งคณะทำงานวางแผนติดตามการกินยา นัดหมายรับยา แนะนำการดูแลผู้ป่วยให้แก่ญาติ โดยมีการแบ่งประเภทความเสี่ยงของผู้ป่วยเป็น แดง เหลือง เขียว ขาว พร้อมจัดทีม อสม. และแกนนำชุมชน 3 คน ติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชนเป็นประจำ และมีจุดเด่นในการนำ อสม.เข้ามาดูแลผู้ป่วยจิตเวชตั้งแต่ “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ” ให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแล 100 เปอร์เซ็นต์ คนในชุมชนมีความเข้าใจ ผู้ป่วยจิตเวชสามารถกลับมาใช้ชีวิตร่วมกับคนในชุมชน และมีอาชีพดูแลตนเองต่อไป

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ