กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส.เดินหน้าแก้ไขปัญหาการลักลอบอุ้มบุญ ทบทวนกฎหมายให้เข้าสมัย มุ่งเสริมสิทธิประโยชน์คู่สมรส เพิ่มโทษผู้กระทำผิด

กรม สบส.เดินหน้าแก้ไขปัญหาการลักลอบอุ้มบุญ ทบทวนกฎหมายให้เข้าสมัย  มุ่งเสริมสิทธิประโยชน์คู่สมรส  เพิ่มโทษผู้กระทำผิด

   660511001_p40139

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าแก้ไขปัญหาการอุ้มบุญผิดกฎหมาย ทบทวนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เน้นส่งเสริมสิทธิประโยชน์ให้คู่สามี ภรรยาที่ต้องการมีบุตร และเพิ่มอัตราโทษแก่ผู้กระทำผิดกฎหมายทั้งในและนอกราชอาณาจักรไทย

          นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้ กรม สบส.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสถานพยาบาลที่มีข้อมูลเบาะแสว่ามีความเชื่อมโยงกับกระบวนการรับจ้างอุ้มบุญ รวมทั้ง มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในการยกระดับคดีอุ้มบุญเป็นคดีพิเศษ เพื่อนำผู้กระทำผิด ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาดำเนินการตามกฎหมาย แต่ยังพบรายงานข้อมูลหญิงรับจ้างอุ้มบุญผิดกฎหมายเป็นระยะ ซึ่งการกระทำความผิดลักษณะดังกล่าว มักมีการดำเนินการเป็นขบวนการ เกี่ยวเนื่องกันทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น กรม สบส. จึงดำเนินการทบทวนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมปรับปรุงกฎหมายบางมาตราให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดนิยามของผู้อนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่ หนังสือรับรองมาตรฐาน การห้ามผู้ใดกระทำการเป็นคนกลาง นายหน้า ให้เกิดการรับจ้างตั้งครรภ์แทน ทั้งในและนอกราชอาณาจักรไทย การเพิ่มอัตราโทษปรับ และจำคุก แก่ผู้รับจ้างตั้งครรภ์แทน คนกลาง หรือนายหน้า เพื่อป้องปรามมิให้เกิดการกระทำผิดกฎหมาย

          ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชนซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ จำนวน 108 แห่ง แบ่งเป็นสถานพยาบาลภาครัฐ จำนวน 16 แห่ง และสถานพยาบาลเอกชน 92 แห่ง โดยคลังข้อมูลด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ฯ ของประเทศไทย พบว่ามีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์เฉลี่ยสูงถึง 46 % มีการให้บริการทำเด็กหลอดแก้วกว่า  20,000 รอบการรักษา การผสมเทียมกว่า 12,000 รอบการรักษา สร้างรายได้ในบริการทางการแพทย์นี้กว่า 4,500 ล้านบาท และด้วยรายได้ทางการแพทย์ที่มีมูลค่านับพันล้านบาท รวมทั้งผู้ร่วมขบวนการอุ้มบุญเป็นกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นผู้จ้างอุ้มบุญ หญิงรับจ้างอุ้มบุญ นายหน้าต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยมิได้คำนึงในด้านกฎหมาย และจริยธรรม การทบทวนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีฯ ให้เข้ากับสภาพการณ์ในปัจจุบัน จะช่วยยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย อุดช่องว่างมิให้เกิดการทำธุรกิจอุ้มบุญผิดกฎหมาย อีกทั้ง เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และช่วยส่งเสริมให้คู่สามี ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายได้มีบุตรตามที่มุ่งหวัง  

          ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็น หรือทราบเบาะแส การกระทำผิดกฎหมายเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ อาทิ การรับจ้างอุ้มบุญ โฆษณาชักชวนให้รับจ้างอุ้มบุญ หรือพบการซื้อขายไข่ อสุจิ ฯลฯ สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรม สบส. 1426 เพื่อดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ