กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส.ประสาน อสม. และ อสส.ร่วมสำรวจ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หยุดระบาดโรคไข้เลือดออก

กรม สบส.ประสาน อสม. และ อสส.ร่วมสำรวจ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หยุดระบาดโรคไข้เลือดออก

f3c8ff104fce7ed37b9012bf7f549356

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ประสานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร (อสส.) ร่วมสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมเดินหน้าให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรค พร้อมเชิญชวนให้ดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งาน “แอปพลิเคชัน SMART อสม.” เพื่อการรายงาน และป้องกันโรคให้ทันสถานการณ์

นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยว่าตั้งแต่ต้นปี จนถึง 13 กันยายน 2566 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม 91,979 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้ว 84 ราย กรม สบส.ตระหนักถึงปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก ยิ่งในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ง่าย กรม สบส. ซึ่งมีเครือข่ายภาคประชาชนอย่าง อสม. และ อสส. ที่มีจำนวนกว่า 1,070,000 คน อยู่ในการดูแลจึงดำเนินการแจ้งเวียนหนังสือประสานขอความร่วมมือจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ประธานชมรม อสม.ระดับจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ประชาสัมพันธ์และแจ้งให้ อสม. และ อสส.ทุกท่าน ร่วมสำรวจลูกน้ำยุงลาย ตรวจสอบบริเวณโดยรอบชุมชนอย่างสม่ำเสมอ มิให้มีเศษภาชนะ วัสดุ หรือเศษขยะที่มีน้ำขัง หากพบบริเวณที่ก็ให้ช่วยกันเทน้ำทิ้ง ทำความสะอาด กลบทิ้ง และใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามรางน้ำ หรือห้องน้ำสาธารณะ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อีกทั้ง มอบให้ อสม. ซึ่งเป็นหมอคนที่ 1 ในทีม 3 หมอ ให้ความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชน โดยเฉพาะ สตรีมีครรภ์  ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวซึ่งจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีความรุนแรงของโรคสูง

ด้าน นพ.สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน นั้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาโรค ซึ่ง อสม. และ อสส.ถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมการส่งเสริมสุขภาพ และควบคุมโรคในชุมชน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ระยะก่อนเกิดโรค ระยะเกิดโรค ระยะหลังการเกิดโรค และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ดังนั้น เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรม สบส. จึงนำเทคโนโลยีดิจิทัล อย่าง “แอปพลิเคชัน SMART อสม.”  เข้ามาเป็นเครื่องมือในการช่วยเพิ่มทักษะดิจิทัลด้านสุขภาพ (Digital Health) ให้ อสม. และ อสส.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว สามารถใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือบันทึก
และส่งต่อข้อมูลการสำรวจลูกน้ำยุงลายให้กับหน่วยบริการสาธารณสุข เพื่อเข้าดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และดูแลสุขภาพได้ทันเวลา โดยตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 มี อสม.รายงานผลสำรวจลูกน้ำยุงลาย ผ่าน “แอปพลิเคชัน SMART อสม.” มาแล้ว 907,342 ครั้ง กรม สบส.จึงขอเชิญชวนให้พี่น้อง อสม.ที่ยังไม่ได้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันฯ ร่วมดาวน์โหลดและลงทะเบียนเข้าใช้งาน เพื่อเข้าถึงข่าวสาร ความรู้ สิทธิประโยชน์ต่างๆ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพประชาชนต่อไป

6d754e5f9e48c5a720260d7e07331a25

9f78517f390c109426db08368ed7e61b

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ