กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส. เผยผลประเมิน 12,058 หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับดีเยี่ยม สร้างหมู่บ้านเข้มแข็งลดป่วยลดโรค

กรม สบส. เผยผลประเมิน 12,058 หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับดีเยี่ยม สร้างหมู่บ้านเข้มแข็งลดป่วยลดโรค

f79ea4dd65f19327814239384e1a85ff

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) มุ่งพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ. 2 ส. เผยผลประเมินความสำเร็จหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประจำปี 2566 ระดับดีเยี่ยม 12,058 หมู่บ้าน ระดับดีมาก 6,110 หมู่บ้าน ระดับดี 20,511 หมู่บ้าน และระดับพัฒนา 19,205 หมู่บ้าน ให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สร้างหมู่บ้านเข้มแข็ง ลดการเจ็บป่วยและการเกิดโรค พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ปี 2560-2564 พบประชาชนป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองเป็นจำนวนมาก โดยโรคดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง กรม สบส. โดยกองสุขศึกษา จึงได้นำแนวคิด กระบวนการสุขศึกษารูปแบบ “หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ” ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนในหมู่บ้านดำเนินกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ตามหลัก 3 อ. 2 ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุราและแอลกอฮอล์ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ลดการเจ็บป่วย พร้อมยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง และเกิดการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมกันพัฒนาให้เกิดเป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดำเนินการโดยชุมชน ใช้ต้นทุนทางสังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นฐานในการพัฒนาสุขภาพของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ โดยในปี 2566 ผลประเมินความสำเร็จหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จากจำนวน 75,086 หมู่บ้านทั่วประเทศ มีหมู่บ้านที่ผ่านการประเมิน รวม 57,884 หมู่บ้าน แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับดีเยี่ยม จำนวน 12,058 หมู่บ้าน 2) ระดับดีมาก จำนวน 6,110 หมู่บ้าน 3) ระดับดี จำนวน 20,511 หมู่บ้าน และ 4) ระดับพัฒนา จำนวน 19,205 หมู่บ้าน “การสร้างสุขภาพที่ดี โดยยึดหลัก 3 อ. 2 ส. จะทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และยังช่วยให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้ เกิดเป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน” อธิบดีกรม สบส. กล่าว

7c94dd07af2f78da682c6aeda93f089e
นพ.สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า หมู่บ้านปรับเปลี่ยนฯ จะต้องดำเนินงานเกณฑ์การประเมินกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านฯ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การสร้างและพัฒนาทีมแกนนำพัฒนาหมู่บ้านฯ 2.มีและใช้ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้านและพฤติกรรมสุขภาพ 3.เข้าใจปัญหาและวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4.จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5.เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ 6.ประเมินผลการพัฒนา และ7.ถอดบทเรียน ขยายผลต่อยอดสู่ความยั่งยืน การประเมินผ่านโปรแกรม Health Gate ทางเว็บไซต์กองสุขศึกษา ซึ่งเป็นโปรแกรมการประเมินพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อยกระดับสู่การเป็นชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพและตำบลจัดการคุณภาพชีวิต ให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพสุขภาพที่ดี สร้างชุมชนเข้มแข็ง ลดการเจ็บป่วยและการเกิดโรค พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

1afd5afc64074273276bbe15180c8537  28e612984ba1f121d0a34cfa4146c82d

faedc933b0b3f7060eed4c2cc534dc19  435d029bac52bcab4f7f32b36513bf20

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ