กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส. ชวน อสม.อบรมหลักสูตรการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

กรม สบส. ชวน อสม.อบรมหลักสูตรการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

bd96d8b9b498ad7bd6892d00a674d777

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ชวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมอบรม E-Learning หลักสูตรการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพ อสม.ในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมและบูรณาการ สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการอยู่อาศัย เอื้อต่อการมีสุขภาพดีแก่ประชาชน

นายแพทย์สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า อนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นงานที่มุ่งรักษาคุณภาพ ของสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพที่เหมาะสม เกื้อกูลต่อการดํารงชีวิตของประชาชน เป็นงานที่ป้องกันประชาชนจากโรคหรือพิษภัยต่างๆ ซึ่งการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยการบูรณาการ กับเครือข่ายทุกระดับ โดยเฉพาะเครือข่ายภาคประชาชน ซึ่ง กรม สบส.ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายภาคประชาชน ซึ่งถือเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ อสม.ที่มีกว่า 1.07 ล้านคนทั่วประเทศ เข้าร่วมอบรมหลักสูตร E – Learning ผ่านระบบ MOOC ANAMAI ของกรมอนามัย ในหลักสูตร “การจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน” โดยสามารถเข้าอบรมได้ทุกที่ ทุกเวลา และเมื่อผ่านการอบรมตามเงื่อนไขของหลักสูตรแล้ว อสม.ก็จะได้รับใบประกาศนียบัตร E-Certificate จากกรมอนามัย ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับ อสม.ในการเป็นต้นแบบพัฒนา จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม สร้างนวัตกรรมเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ระหว่างชุมชน เพื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการมีสุขภาพดีแก่ประชาชน

นายแพทย์สามารถฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า อสม. ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาองค์ความรู้ในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในหลักสูตร “การจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน” ซึ่งมีเนื้อหา 7 บท ประกอบด้วย 1.ความสำคัญของการจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2.การจัดการสาธารณภัยในชุมชน 3.การสุขาภิบาลที่พักอาศัย 4.กฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิประชาชนด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม 5.การสุขาภิบาลอาหารและน้ำ 6.ความรอบรู้ด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม และ 7.การประเมินด้านความเสี่ยงและอนามัยสิ่งแวดล้อม การจัดทำแผนชุมชนและการสื่อสารความเสี่ยง ย่อมช่วยส่งเสริมศักยภาพของ อสม.ให้สามารถสื่อสาร สร้างความตระหนัก และโน้มน้าวให้ชาวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล รักษาสภาพแวดล้อม จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนามัย

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ