กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส. หารือ คปภ. และสมาชิก พัฒนาระบบประกันสุขภาพ “แม่อุ้มบุญ”

bceaeed2d31f4d2c3972f13a4639ba48

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ร่วมหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และบริษัทสมาชิก พัฒนาระบบประกันสุขภาพสำหรับกรณีการตั้งครรภ์แทน ดูแลสุขภาพ และรักษาพยาบาลโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์แทนแก่แม่อุ้มบุญตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด คาดแล้วเสร็จในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2567

นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเจริญพันธุ์ลดลง สัดส่วนของอายุของประชากรมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) อันส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กรม สบส. มีความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน การให้บริการที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ รวมถึง การพิจารณาอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้มีภาวะมีบุตรยาก เพื่อการสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ ตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ จำนวน 114 แห่ง มีการพิจารณาอนุญาตดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์ไปแล้ว จำนวน 745 ราย และมีอัตราความสำเร็จในการให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากถึงร้อยละ 46 ซึ่งถือเป็นอัตราความสำเร็จที่ค่อนข้างสูง แต่การจะสร้างความเชื่อมั่นต่อให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของไทย นอกจากอัตราความสำเร็จของบริการแล้ว ความปลอดภัยของผู้รับบริการก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และยกระดับการพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และเพิ่มประชากรรองรับสภาวะสังคมผู้สูงอายุ คณะอนุกรรมควบคุม ตรวจสอบ หรือกำกับดูแลการให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการ จึงได้พิจารณาเห็นควรให้มีการพัฒนาระบบประกันสุขภาพสำหรับกรณีการตั้งครรภ์แทน โดยเบื้องต้นมีขอบเขตในการพิจารณาทำประกันในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

1) ครอบคลุมหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน

2) โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องจากการตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอด ซึ่งกรม สบส.จะดำเนินการพัฒนาการทำประกันกรณีการตั้งครรภ์แทน โดยได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทยและบริษัทสมาชิก สมาคมประกันวินาศภัยไทย และบริษัทสมาชิก ร่วมพิจารณาเกณฑ์ร่างกรมธรรม์ โดยคาดว่าร่างกรมธรรม์จะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2567

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ