กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส. เผยผลความสำเร็จการตั้งครรภ์ โดยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ของไทย พุ่งสูงถึงร้อยละ 48.5

2c4f0b3c915ba6d9ad58ddbef3114c83

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เผยอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์โดยใช้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของไทย ปี 2567 พุ่งสูงถึงร้อยละ 48.53 และมีแววเพิ่มอย่างต่อเนื่อง พร้อมเตรียมแผนผลักดันให้ผู้มีบุตรยากเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์อย่างทั่วถึง

วันนี้ (1 มีนาคม 2567) ณ อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. พร้อมด้วย ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. แถลงข่าว “สบส. ส่งเสริมการมีบุตร : ทางเลือกสำหรับผู้มีภาวะมีบุตรยากเพื่อเข้ารับบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์”

นายแพทย์สุระฯ อธิบดีกรม สบส. ให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีอัตราการเจริญพันธุ์ หรือค่าเฉลี่ยการมีบุตรของหญิงลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์อัตราเจริญพันธุ์รวมของประเทศลดลง จนส่งผลให้ประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งภาครัฐก็ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 เพื่อสนับสนุนให้คู่สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีบุตรยากได้มีบุตรตามที่คาดหวัง รวมทั้ง ส่งเสริมให้วิทยาการด้านการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของไทยมีความก้าวหน้าจนปัจจุบัน ประเทศไทยมีการให้บริการทำเด็กหลอดแก้วกว่า 20,000 รอบ การผสมเทียมกว่า 12,000 รอบ มีการอนุญาตดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน หรือที่เรียกว่า “อุ้มบุญ” จำนวน 754 ราย สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 7,500 ล้านบาท แต่สิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง คือ การเพิ่มขึ้นของอัตราความสำเร็จในการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ตั้งครรภ์ของประเทศไทย ซึ่งจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ โดยกรม สบส. พบว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยมีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ร้อยละ 48.53 จากเดิมที่มีอัตราความสำเร็จร้อยละ46 และยังคงจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากปัจจัยความสำเร็จ ทั้งจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีกฎหมายเฉพาะในการควบคุมกำกับการใช้เทคโนโลยีฯ อย่างเคร่งครัด และการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ สำหรับกรณีการตั้งครรภ์แทนของภาครัฐ ซึ่งจะช่วยยกระดับการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของประเทศให้มีความก้าวหน้าไม่แพ้ชาติใดในโลก

ด้านทันตแพทย์อาคมฯ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรม สบส.ได้วางนโยบาย แผนการดำเนินงาน สำคัญมากมายในการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพ และส่งเสริมให้ผู้มีบุตรยากสามารถเข้าถึงบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของไทย อาทิ 1) การทบทวนและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการแก่คู่สามีภริยา เช่น การปรับแก้ไขคุณสมบัติผู้รับบริจาคไข่ ให้ญาติสืบสายโลหิตของภริยา ที่มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี และไม่จำเป็นจะต้องผ่านการสมรสสามารถเป็นผู้บริจาคไข่ได้ การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนของภริยาที่มีอายุ 35 ปี  สามารถตรวจวินิจฉัยได้ตามที่แพทย์หรือผู้ให้บริการเห็นว่ามีความจำเป็นและสมควร และให้ยกเลิกเพดานอายุของภริยาที่ประสงค์จะให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน จากเดิมไม่เกิน 55 ปี ให้มากกว่า 55 ปีขึ้นไปได้ 2)การส่งเสริมสิทธิประโยชน์ในการรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก โดยการส่งเสริมและผลักดันให้มีการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนที่เกี่ยวข้องกรณีเข้ารับบริการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากจากสถานพยาบาลภาครัฐ โดยกำหนดจำนวนเงินและเงื่อนไขที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเบิกค่ารักษาได้ 3)การพัฒนาระบบประกันสุขภาพ สำหรับกรณีการตั้งครรภ์แทน ดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ในการทำประกันสุขภาพสำหรับกรณีการตั้งครรภ์แทน ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่น และเป็นจุดดึงดูดในการตัดสินใจเข้ารับบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของประเทศ ไทยจากคู่สามีภริยาทั้งไทยและต่างชาติ

c0f17508277009adf0a57bf39f875d03

695d850b88f4e1cb95dfb8ff68627297  8bdbbbe6384b9a68394cdb9833891742

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ