กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สบส. เผยผลสำรวจสงกรานต์ 2568 คนไทยใส่ใจสุขภาพ วางแผนเลี้ยงฉลองด้วยอาหารสุขภาพ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข  เผยผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพช่วงสงกรานต์ ประชาชนหันใจมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น หันมาเลี้ยงฉลองสงกรานต์แบบไร้แอลกอฮอล์ และอาหารสุขภาพ ลดแป้ง น้ำตาล ไขมัน

6cc7b1dbf46ea8d594d4b091b747d1ac

 

นายแพทย์อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. เผยว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 ประชาชนส่วนใหญ่ต่างวางแผนเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อกลับไปพบปะครอบครัว หรือเพื่อนฝูงเหมือนกับในทุกๆปี  ซึ่งการที่ประชาชนได้มีโอกาสพบปะกับบุคคลใกล้ชิดในช่วงเทศกาล สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลย คือ การเลี้ยงฉลองซึ่งมักจะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรืออาหาร กรม สบส.จึงร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 - 12 เก็บข้อมูล “พฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพในช่วงเทศกาลสงกรานต์” ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม -  10 เมษายน 2568 จากประชาชน 121,515 คน โดยพบข้อมูลดังนี้

1) การเดินทางช่วงสงกรานต์  พบว่าส่วนใหญ่วางแผนเดินทางกลับภูมิลำเนา ร้อยละ 61.41 และเป็นการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 76.61

2) การวางแผนฉลองสงกรานต์ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีแผนที่จะฉลองสงกรานต์ ร้อยละ 52.13 โดยจะฉลองสงกรานต์แบบไร้แอลกอฮอล์อยู่ที่บ้าน ร้อยละ 31.69 ฉลองด้วยการดื่มแอลกอฮอล์อยู่ที่บ้าน ร้อยละ 14.65 ฉลองแบบไร้แอลกอฮอล์นอกบ้าน ร้อยละ 4.29 และฉลองด้วยการดื่มแอลกอฮอล์นอกบ้าน ร้อยละ 1.5

3) รูปแบบการเล่นน้ำสงกรานต์  พบว่า จะเล่นสงกรานต์โดยเน้นแป้ง ร้อยละ 61.52 และเล่นสาดน้ำท้ายรถกระบะ ร้อยละ 28.91 ใช้น้ำเย็น/น้ำแข็ง ร้อยละ 16 และใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง ร้อยละ 10.25

4 ) อาหารที่จะฉลองในช่วงสงกรานต์ พบว่า จะฉลองด้วยอาหารปิ้งย่าง หมูกระทะ ร้อยละ 29.48  อาหารเพื่อสุขภาพ (ลดแป้ง น้ำตาล ไขมัน) ร้อยละ 21.01 อาหารประเภทส้มตำ ยำ ลาบ ก้อย ร้อยละ 20.34 อาหารประเภทย่าง เช่น หมูย่าง เนื้อย่าง ลูกชิ้นย่าง ร้อยละ 19.96 และอื่นๆ ร้อยละ 9.21

นายแพทย์อดิสรณ์ฯ กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าสนใจจากข้อมูลผลสำรวจในครั้งนี้ พบว่าประชาชนหันมาเลี้ยงฉลองสงกรานต์แบบไร้แอลกอฮอล์ และอาหารสุขภาพเป็นจำนวนมากแสดงถึงความใส่ใจสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยการงดดื่มเครื่องดื่ม      แอลกอฮอล์ และทานอาหารที่ลดแป้ง น้ำตาล ไขมัน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ซึ่งสอดรับกับนโยบาย “คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)” ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2568 นับได้ว่าเป็นความสำเร็จในการดำเนินงานตามนโยบายการป้องกัน และลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งกรม สบส. ก็พร้อมจะให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ งดสูบบุหรี่ ฯลฯ ผ่านเครือข่ายยุว อสม. และ อสม. รวมทั้ง เฝ้าระวังพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิด    ความเสี่ยงด้านสุขภาพในด้านต่างๆ ทั้งในและนอกช่วงเทศกาลต่างๆ

feecbf1bb177e9f1a1d8457c94289110

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ