กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส.สั่งดำเนินคดี รพ.เอกชน โฆษณาจองวัคซีนโควิด 19

กรม สบส.สั่งดำเนินคดี รพ.เอกชน โฆษณาจองวัคซีนโควิด 19

s__14975006

        กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร สั่งดำเนินคดีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โฆษณาเปิดจองวัคซีนโควิด 19 โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายสถานพยาบาล หวั่นสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน
        นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ด้วยรัฐบาลตั้งเป้าให้ประชาชนทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ภายในปี พ.ศ.2564 เพื่อให้ประชาชนทุกคนใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงอาจมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง สร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชนได้ กรม สบส.ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรม สบส.เฝ้าระวังการโฆษณา หรือประกาศที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชนอย่างใกล้ชิด โดยในช่วงวันที่ 25 มีนาคม พนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ตรวจพบการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลโดยโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสาคร ถึงบริการรับจองฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จึงเร่งประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) สมุทรสาครตรวจสอบข้อมูลฯ โดยจากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่าโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าว ไม่ได้มีการขออนุมัติโฆษณาจากผู้อนุญาต และการโฆษณาให้เข้าใจผิด ตนจึงสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ประสานงานกับ สสจ.สมุทรสาคร แจ้งให้โรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวระงับการโฆษณาแล้วในวันที่ 27 มีนาคม พร้อมกับนำเรื่องเข้าคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี พิจารณาและดำเนินการทางกฏหมายต่อไป
        ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า กรม สบส.ขอเน้นย้ำให้สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ศึกษาและปฏิบัติตามประกาศ เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล” อย่างเคร่งครัด โดยประกาศฯกำหนดให้การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความ เสียง หรือภาพ เพื่อการโฆษณาหรือประกาศอันเป็นประโยชน์ทางการค้าของสถานพยาบาล จะต้องขออนุมัติจากผู้อนุญาต คือ กรม สบส.หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเสียก่อนจึงจะเผยแพร่ได้ ซึ่งการกำหนดให้ต้องขออนุมัติโฆษณาหรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับสถานพยาบาลก่อนการเผยแพร่นั้นก็ถือว่าประโยชน์กับทั้งประชาชน และสถานพยาบาล หากโฆษณาผ่านการอนุมัติแล้วประชาชนก็จะมีความมั่นใจในการบริการของสถานพยาบาลว่ามิได้มีการโอ้อวดเกินจริง หรือหลอกลวง และสถานพยาบาลเองก็วางใจได้ว่าการโฆษณาหรือประกาศของตนนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดปัญหาการฟ้องร้อง หรือดำเนินคดีจากเจ้าหน้าที่ อีกทั้ง วัคซีนเป็นยา โฆษณาต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงายคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งขณะนี้ทาง อย.ก็มีคำสั่งให้ระงับโฆษณาตามพระราชบัญญัติยาแล้วเช่นเดียวกัน ส่วนการโฆษณาสถานพยาบาลโดยไม่ขออนุมัตินั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา
        ทั้งนี้ หากประชาชนพบเบาะแสการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ของสถานพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพฯ สามารถแจ้งได้ทางสายด่วน กรม สบส. 1426 หรือหากอยู่ในส่วนภูมิภาคก็แจ้งได้ที่ สสจ.ในพื้นที่

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ