กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส.ระดมทีม อสม.ติดตามการฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 “ลดป่วยรุนแรง ลดตาย รักษาหายเร็ว”

กรม สบส.ระดมทีม อสม.ติดตามการฉีดวัคซีนกลุ่ม 608  “ลดป่วยรุนแรง ลดตาย รักษาหายเร็ว”

_0-ธเรศB7792EDD-FF85-ABF6-3237-FD05C7D9196E

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประสานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ระดมทีมสำรวจ ติดตามการฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 ผ่านกลไกทำงาน 3 หมอ ตั้งเป้า “ลดป่วยรุนแรง ลดตาย รักษาหายเร็ว” ในประชาชนกลุ่มเปราะบางทั่วไทย

          นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า การระบาดของเชื้อโรคโคโรนาไวรัส 2019 หรือโรคโควิด 19 ในประเทศไทยในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านๆมา  ด้วยการที่เชื้อโรคโควิด 19 มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและกลายพันธุ์จนเกิดเป็นสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) และเดลตา (Delta) ซึ่งเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่นี้ มีการแพร่ระบาดง่าย และก่อให้เกิดอาการรุนแรง โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเปราะบาง อาทิ คนชรา ผู้ที่มีโรคประจำตัว สตรีมีครรภ์ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 การที่ประเทศไทยจะก้าวพ้นวิกฤติการระบาดของโรคติดต่ออันตรายไปได้นั้น นอกจากจะต้องมีการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอย่างเหมาะสมแล้ว การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ก็ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วย “ลดป่วยรุนแรง ลดตาย รักษาหายเร็ว” ดังนั้น กรม สบส.จึงประสานขอความร่วมมือจาก อสม. ทีมนักรบเสื้อเทา ร่วมสำรวจ ติดตาม การฉีดวัคซีนของกลุ่ม 608 ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและเข้าถึงสถานพยาบาลได้ยาก ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป / ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง / หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จำนวน 2.9 ล้านคน ตามที่ตั้งเป้าไว้ โดยอาศัยกลไก 3 หมอ ซึ่ง อสม.ในบทบาทของหมอคนที่ 1 ที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนมีบทบาทในการเฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยงสังเกตอาการ อำนวยความสะดวกในการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 รวมทั้ง ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่จำเป็นร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งเป็นหมอคนที่ 2 และประสานกับหมอคนที่ 3 คือ หมอครอบครัวที่โรงพยาบาลให้บริการฉีดวัคซีน และติดตามอาการไม่พึงประสงค์แก่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2564 อสม.ได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ และสนับสนุนกลุ่ม 608 ให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ประมาณร้อยละ 30 ของกลุ่มเป้ามหาย  แบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 621,754 ราย กลุ่มผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค จำนวน 261,454 ราย และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 3,593 ราย (ข้อมูลจาก www.thaiphc.net วันที่ 3 กันยายน 2564) และเมื่อดำเนินการฉีดวัคซีนในกลุ่ม 608 ครบถ้วนแล้วลำดับถัดไป อสม.ก็จะดำเนินการติดตาม สำรวจ ประชาชนในกลุ่มอายุ 18 – 59 ปี ให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ต่อไป

          นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรม สบส.กล่าวต่อว่า ในการส่งเสริมให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 นอกจากวัสดุ อุปกรณ์ หรือกำลังคน องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งช่วยให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จ ซึ่งกรม สบส.ก็ได้ให้การสนับสนุนชุดความรู้ผ่านเครือข่าย อสม.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดก็มีการจัดทำชุดความรู้แนวคิด Universal Prevention ป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบครอบจักรวาล ส่งต่อให้ อสม.นำไปใช้ให้เกิดความ “พร้อม” ในการปฏิบัติงานทั้งในด้านการดูแลตนเอง เกิดการตั้งสติคิดว่าทุกคนคือผู้ติดเชื้อ  เพิ่มความระมัดระวังขณะปฏิบัติงานหรือใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง และความพร้อมในฐานะหมอคนที่ 1 ซึ่งต้องดูแลผู้ป่วยที่แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือชุมชน (Community Isolation) มีการเตรียมความพร้อมของตัวเองทั้งร่างกาย จิตใจ องค์ความรู้เรื่องโควิด 19 และวัสดุอุปกรณ์ ซึ่ง อสม.จะมีการนำแนวคิดในการป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบครอบจักรวาลไปรณรงค์ให้ครอบครัว และประชาชนในพื้นที่ได้ปฏิบัติตามด้วย         

**************** 3 กันยายน 2564

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ