กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส.แนะนำ รพ.เอกชน/คลินิก ขออนุมัติโฆษณาทุกครั้งก่อนเผยแพร่

กรม สบส.แนะนำ รพ.เอกชน/คลินิก ขออนุมัติโฆษณาทุกครั้งก่อนเผยแพร่ 

641115

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แนะนำโรงพยาบาลเอกชน และคลินิกยื่นเรื่องขออนุมัติโฆษณาทุกครั้งก่อนเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและสถานพยาบาล ไม่ให้ทำผิดกฎหมายป้องกันการโฆษณาเท็จ หรือโอ้อวดเกินจริง ลดปัญหาการฟ้องร้อง และสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันด้านธุรกิจสถานพยาบาล

          นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ด้วยตลาดสุขภาพและความงามของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การแข่งขันด้านธุรกิจของโรงพยาบาลเอกชน และคลินิกเพิ่มสูงขึ้น โดยใช้การโฆษณาเป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับบริการ โดยเฉพาะการโฆษณาผ่านสื่อโซเชียล อาทิ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก (Facebook) หรือไลน์ (Line) ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว แต่การเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ของสถานพยาบาลซึ่งเป็นสถานที่สำหรับให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนและผู้ป่วยนั้น จะอาศัยความรวดเร็วเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ข้อมูลที่เผยแพร่ออกไปต้องได้รับการตรวจสอบว่าถูกต้องเหมาะสมด้วย มิฉะนั้น ข้อมูลดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งในด้านสุขภาพ หรือชีวิตของประชาชน ดังนั้น กฎหมายสถานพยาบาลจึงกำหนดให้การโฆษณาหรือประกาศในทางการค้าของสถานพยาบาล ต้องขออนุมัติจากผู้อนุญาต โดยยื่นขออนุมัติต่อ กรม สบส.หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ที่สถานพยาบาลตั้งอยู่ก่อนเผยแพร่ทุกครั้ง ซึ่งการขออนุมัติโฆษณานั้นนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่เป็นข้อมูลเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง หรือหลอกลวงแล้ว สถานพยาบาลเองก็มั่นใจได้ว่าโฆษณาของตนได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ลดปัญหาการฟ้องร้อง และเกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันด้านธุรกิจสถานพยาบาลในมาตรฐานเดียวกัน หากสถานพยาบาลใดกระทำการเผยแพร่โฆษณาหรือประกาศฯ โดยไม่ได้ขออนุมัติ และได้รับอนุมัติจากผู้อนุญาตก่อนแล้ว จะถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา และหากตรวจสอบพบว่าโฆษณาดังกล่าว เข้าข่ายเป็นเท็จ โอ้อวดเกินจริง ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาทจนกว่าจะระงับการโฆษณา

          นายแพทย์ธเรศฯ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อความที่ห้ามใช้ในการโฆษณาสถานพยาบาลนั้นมีอยู่หลากหลายประเภท แต่ข้อความที่มักจะพบว่ามีการนำมาใช้ในการโฆษณาสถานพยาบาล ได้แก่ เก่งที่สุด/เหนือกว่า/ผู้เชี่ยวชาญ/กูรู (Guru)/ระดับโลก/แห่งแรก/ดูดีทุกองศา/ถึง 99%/เห็นผลทันที/หายทุกโรค/หมอเทวดา ฯลฯ โดยสถานพยาบาลสามารถสามารถศึกษาและดาว์นโหลด  “ตัวอย่างข้อความและแนวทางการพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติข้อความ/ภาพ/การโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล”  ได้ที่เว็บไซต์กรม สบส. (https://hss.moph.go.th/) โดยคลิ๊กที่ “ระบบริการประชาขน” ที่อยู่ด้านล่างของเว็บไซต์ หลังจากนั้นให้คลิ๊กที่ “การขออนุมัติการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล”

          ทั้งนี้ หากประชาชนพบเบาะแสการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงของสถานพยาบาลเอกชนในกรุงเทพฯ สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วนกรม สบส.1426 แต่หากสถานพยาบาลนั้นตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคสามารถแจ้งได้ที่ สสจ.เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ