กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

vle

ประวัติความเป็นมา กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายที่จะให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและพัฒนาสาธารณสุข จึงได้นำเอาการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลักในการพัฒนา ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2520-2524) เป็นต้นมา โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชนเอง ซึ่งมีตัวจักรสำคัญในการดำเนินงานคือ ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  ต่อมาในปี 2535 ได้มีการยกระดับอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีเพียงระดับเดียวคือ อสม. ที่ต่างก็เสียสละแรงกายแรงใจ เวลาและทุนทรัพย์ในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านให้สามารถพึ่งตนเองได้ และวันที่ 21 ธันวาคม 2536 คณะรัฐมนตรี ก็ได้มีมติอนุมัติให้ทุกวันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี เป็น "วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ"

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้านในแต่ละกลุ่มบ้านและได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยมีบทบาทหน้าที่สำคัญในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพอนามัย (Change agents) การสื่อข่าวสารสาธารณสุข การแนะนำเผยแพร่ความรู้ การวางแผน และประสานกิจกรรมพัฒนาสาธารณสุข ตลอดจนให้บริการสาธารณสุขด้านต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังและป้องกันโรค การช่วยเหลือและรักษาพยาบาลขั้นต้น โดยใช้ยาและเวชภัณฑ์ตามขอบเขตที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด การส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการการฟื้นฟูสภาพ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หรือบทบาท 6 ประการของ อสม. คือ แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ดำรงตนเป็นตัวอย่างที่ดี

คุณสมบัติของ อสม.  

จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่เป็นการประจำในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประสงค์จะเป็น อสม. ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ทั้งนี้ อสม. จะมีวาระคราวละ 4 ปี เมื่อครบวาระแล้วให้พิจารณาต่อบัตรประจำตัว โดยดูจากผลการดำเนินงาน ร่วมกับการพิจารณาของประชาชนและองค์กรของหมู่บ้าน

การคัดเลือก อสม.  ดำเนินการดังนี้

  1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับประธานกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน จัดประชุมหัวหน้าครัวเรือนหรือผู้แทนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงบทบาทของ อสม. แล้วมอบหมายให้ประธานกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนและ อสม. (กรณีที่มี อสม. ยังคงสภาพอยู่) เป็นคณะกรรมการคัดเลือก อสม. ใหม่
  2. จัดแบ่งหลังคาเรือนให้เป็นคุ้มบ้าน คุ้มละ 10 – 15 หลังคาเรือนหรือใช้คุ้มเดิมที่มีการจัดอยู่แล้ว สอบถามหาผู้สมัครใจและมีคุณสมบัติตามที่กำหนด คัดเลือกเข้ารับการอบรมเป็น อสม. ในกรณีมีผู้สมัครเกิน 1 คน ให้คณะผู้ดำเนินการตัดเลือก อสม. จัดประชุมหัวหน้าครอบครัวหรือผู้แทนครอบครัวในคุ้มนั้นๆ เพื่อลงมติโดยใช้เสียงส่วนใหญ่คัดเลือกให้เป็น อสม. ประจำคุ้มบ้านนั้น

การพ้นสภาพ

อสม. จะพ้นสภาพเมื่อตาย หรือ ลาออก หรือ เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้วแต่กรณี หรือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานครมีคำสั่งให้พ้นสภาพ    

ทั้งนี้ ในปี 2563 เป็นต้นมา ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด 19 อสม. ได้มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากกับภารกิจช่วยชาติต้านโควิด 19  เช่น อสม.เคาะประตูบ้าน โดยได้ให้ความรู้และคำแนะนำในการป้องกันโรคโควิด 19  มีการแจกหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจล และเอกสารความรู้ ถึงหน้าบ้านในทุกชุมชน  อีกหนึ่งงานคือ การร่วมกับฝ่ายปกครอง ท้องที่ ท้องถิ่น ตั้งจุดคัดกรอง ผู้มีความเสี่ยงสูง รวมไปถึงการร่วมติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคโควิด 19 กับทีม 3 หมอ และการรณรงค์ให้ประชาชนมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย 608 ทั้ง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ ด้วย

สบส. คอลัมน์ “รอบรู้กับกรม สบส.”

ที่มา : ประวัติความเป็นมา http://sso-vibhavadi.com/data_12246

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ