สุขภาพดี ด้วยสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ
“สุขบัญญัติแห่งชาติ” เป็นแนวทางการปฏิบัติตนหรือการดูแลสุขภาพพื้นฐาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น นำไปสู่การมีสุขภาพดีซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำกิจกรรมและดำเนินชีวิตประจำวัน โดยรัฐบาลได้มีการอนุมัติให้การปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติเป็นนโยบายสำคัญ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 โดยมีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนได้รับการปลูกฝังและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตั้งแต่เยาว์วัย และทุกช่วงชีวิต ด้วยการปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัย สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ประกอบด้วย
- ดูแลรักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด ทำได้โดย
- อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- ถ่ายอุจาระเป็นเวลาทุกวัน
- ใส่เสื้อผ้าสะอาดไม่จับชื้น
- รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง โดยการ
- แปลงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน
- หลีกเลี่ยงการทานลูกอม ลูกกวาด
- ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- ล้างมือให้สะอาด ก่อนทานอาหารและหลังขับถ่าย
- โดยล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการเตรียมปรุงและรับประทานอาหาร รวมทั้งหลังการขับถ่าย
- กินอาหาร สุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด โดยการ
- เลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ
- รับประธานอาหารปรุงสุกใหม่
- ใช้ช้อนกลางในการรับประธานอาหารร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงทานอาหารสุกๆ ดิบๆ
- งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
- โดยส่งเสริมธรรมเนียมรักนวลสงวนตัว และมีคู่ครองเมื่อถึงวัยอันควร
- สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น ทำได้โดย
- จัดทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
- เผื่อแผ่น้ำใจให้กันและกัน
- ป้องกันอุบัติเหตุด้วยการไม่ประมาท ทำได้โดย
- ระมัดระวังป้องกันภัย ที่อาจเกิดขึ้นภายในบ้าน เช่น เตาแก๊ส ไฟฟ้า ของมีคม
- ระวังป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ ปฏิบัติตามกฎจราจร หรือในบริเวณก่อสร้าง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี โดยการ
- ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละไม่น้อยกว่า 30 นาที
- ตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใสอยู่เสมอ โดยการ
- พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
- จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านและที่ทำงานให้น่าอยู่
- มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และร่วมสร้างสรรค์สังคม เช่น
- หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม พลาสติก
- กำจัดขยะภายในบ้าน
- มีและใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
- ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เป็นต้น
การละเลยในการปฏิบัติสุขบัญญัติข้อใดข้อหนึ่ง ทำให้เรามีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หรืออันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งอาจจะเริ่มต้นด้วยการเจ็บป่วยเล็กน้อย แต่อาจเป็นบ่อเกิดของโรคแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรงตามมาได้ ดังนั้น เพื่อการมีสุขภาพดี จึงต้องใส่ใจและปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติทั้ง 10 ประการ
สบส.คอลัมน์ “รอบรู้กับกรม สบส.”