กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

“ยาลูกกลอน” ใช้อย่างไร…ปลอดภัยต่อสุขภาพ

f38b110f308d5af63204b52f81512112

“ยาลูกกลอน” อีกหนึ่งรูปแบบยาแผนโบราณ ที่เกิดจากการนำสมุนไพรมาบด แล้วนำผงยาที่ได้ มาคลุกเคล้ากับน้ำผึ้งจนยึดเกาะกัน ปั้นเป็นเม็ดกลม สมัยโบราณใช้วิธีตากแดดจนแห้งสนิทแล้วเก็บใส่ขวดโหลสามารถเก็บไว้กินได้นาน ปัจจุบัน ชื่อของยาลูกกลอน ถูกผู้ค้าบางส่วน นำมาแสวงหาผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อสุขภาพ ทำการลักลอบใส่สเตียร์รอยด์ในยาแผนโบราณ สเตียรอยด์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ ทางการแพทย์ มีคุณสมบัติที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ต้านการอักเสบ ลดอาการปวด ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเป็นปกติ เป็นต้น จึงทำให้ถูกนำใช้ในการโอ้อวดว่ารักษาได้สารพัดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคกระดูกและข้อ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งส่วนมากตรวจพบสเตียร์รอยด์ผสมอยู่ในยาลูกกลอนที่ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อีกทั้งสร้างการจูงใจ หลอกล่อ และใช้ชื่อเรียกต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่าย เช่นยาประดง ยาหมอ ยาเบอร์ เป็นต้น

ผู้ใช้ยาลูกกลอนที่ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียน จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เริ่มแรกอาการจะดีขึ้น  ผู้ใช้ยาจึงหลงเชื่อและใช้ยาต่อเนื่อง แต่เมื่อใช้ในระยะยาวจะเป็นอันตราย ทำให้เกิดอาการกระเพาะทะลุ กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันโลหิตสูง หรือเกิดอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เป็นสิว ขนดก ใบหน้ากลม มีรอยปริแตกตามผิวหนัง ไตวาย จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น เมื่อต้องการใช้ยาแผนโบราณ  มีข้อควรคำนึงถึง ดังนี้

  1. ซื้อยาจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น
  2. ก่อนซื้อต้องดูเลขทะเบียนตำรับยา อย่าซื้อยาชุด ยาลูกกลอนที่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา
  3. ไม่ซื้อยาแผนโบราณจากรถเร่ขายตามวัดหรือตามตลาดนัด เพราะอาจเป็นยาปลอม หรือลักลอบผสมยาแผนปัจจุบัน
  4. ไม่ซื้อยาแผนโบราณตามคำโฆษณาชวนเชื่อเพราะเป็นการโอ้อวดเกินจริง
  5. เมื่อเจ็บป่วย ควรปรึกษาแพทย์ และหากสงสัยว่ายาที่ซื้อมีสารสเตียรอยด์ให้แจ้งหรือสอบถามเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อตรวจสอบต่อไป

การใช้ยาแผนโบราณเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาและการดูแลสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่หากไม่ระมัดระวังในการเลือกใช้ ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึง ส่วนประกอบของยา ข้อควรระวัง หากใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็ก หรือผู้มีโรคประจำตัว และต้องสังเกตอาการผิดปกติจากการใช้ยาด้วย การใช้ยาจึงจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมจากเภสัชกรหรือ  ร้านขายยาที่มีใบอนุญาต เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

แหล่งข้อมูล :

  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ