กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

ประวัติ...โรงพยาบาลบุษราคัม

ประวัติ...โรงพยาบาลบุษราคัม

p13887481p1388748

เนื่องด้วยสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ได้แพร่ระบาด ในพื้นที่ กรุงเทพและปริมณฑล เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในขณะนั้นมีโรงพยาบาลสนามนิมิตรบุตร เพียงแห่งเดียวในพื้นที่ ที่สามารถรองรับผู้ป่วย โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 แต่ก็ยังไม่เพียงพอ กระทรวงสาธารณสุข จึงมีแนวคิดที่จะขยายโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นที่มาของโรงพยาบาลบุษราคัม

          โรงพยาบาลบุษราคัมจัดตั้งขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะด้านในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 ตั้งอยู่ที่ อาคารอิมแพ็คชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี มีพื้นที่กว่า 60,000 ตร.ม. มีขนาด 5,000 เตียง รองรับผู้ป่วยติดเชื้อมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง กลุ่มสีเหลือง  โดยจะเริ่มก่อสร้างเป็นระยะ แบ่งเป็นระยะที่ 1 2 และ 3

3-7-64-_0_-3_210804

          ในส่วนของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยนายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และนายแพทย์สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีฯ  ได้มอบหมายให้ กองแบบแผนและกองวิศวกรรมการแพทย์ เข้าสำรวจพื้นที่ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 และมอบหมายให้ดำเนินการให้เสร็จ ภายใน 10 วัน  ระยะแรกเริ่มดำเนินการจัดเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยประมาณ 1,200 เตียงต่อฮอลล์ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ฮอลล์ คือชาเลนเจอร์  1 2 และ 3 รวมถึงการจัดการพื้นที่ ทั้งระบบปรับอากาศ ระบายอากาศ ระบบสุขาภิบาล  ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกล้องวงจรปิด ระบบเรียกพยาบาลฯ และสัญญาณอินเตอร์เน็ต  อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น รถเอ็กซเรย์ เครื่องช่วยหายใจ ห้องตรวจปฏิบัติการและยาสำคัญที่ใช้ดูแลผู้ป่วย และดำเนินการตรวจสอบมาตรฐาน ตามมาตรฐานสถานพยาบาลให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการดำเนินการ การจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019

p1366073

          กองแบบแผน ได้ดำเนินการจัดทำแผนผังและจัดพื้นที่ภายในโรงพยาบาลบุษราคัม แบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่ 1.โซนพื้นที่กักกันผู้ป่วยติดเชื้อ ประกอบด้วยเตียงสำหรับผู้ป่วย จุดนำเข้า - จุดปล่อยตัวผู้ป่วย จุดทางเข้า – ทางออกเจ้าหน้าที่ จุด Drob off ผู้ป่วยและที่จอดรถ X-Ray ปฏิบัติการ 2.โซนพื้นที่ทำงานสะอาด ประกอบด้วย พื้นที่ห้องทำงานของเจ้าหน้าที่สำหรับดูมอนิเตอร์ CCTV  พื้นที่ห้องความดันบวกสำหรับใส่ชุด PPE  พื้นที่เก็บยา เครื่องมือ และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์  ทางเดินเชื่อมต่อกันระหว่าง UNIT  พื้นที่จัดวางเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยและศูนย์ควบคุมความปลอดภัย  3.โซนพื้นที่สำหรับงานระบบและสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วยห้องงานระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล ระบบเซิฟเวอร์ CCTV และสัญญาณอินเตอร์เนต เส้นทางสัญจรทางเดินรถขนส่งเจ้าหน้าที่ ของสะอาด เส้นทางสัญจรรถขนส่งสิ่งสกปรก พร้อมจุดล้างล้อรถ ห้องน้ำผู้ป่วย ห้องเก็บขยะติดเชื้อ และห้องพักศพ

busara01

           กองวิศวกรรมการแพทย์ ได้ดำเนินการสนับสนุนงานเครื่องมือแพทย์ ให้กับศูนย์เครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลบุษราคัม โดยได้ดำเนินการ ทดสอบ สอบเทียบ ประกอบอุปกรณ์ บำรุงรักษาเบื้องต้น และเตรียมความพร้อมการใช้งาน เช่น Oxygen high flow, Infusion Pump, Patient Monitor, Ventilator, อุปกรณ์ Oxygen และเครื่องมือและอุปกรณ์อื่น ๆ

p1388143

          วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิธีเปิดโรงพยาบาลบุญราคัม  ในระยะแรกใช้พื้นที่อาคารอิมแพค ชาเลนเจอร์ 3 จำนวน 1,083 เตียง โดยเริ่มทำการรักษาผู้ป่วยสีเหลืองที่มีอาการน้อยถึงปานกลางในเขต กทม. และปริมณฑล ที่มีจำนวนมากให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิต และช่วยให้โรงพยาบาลในเขต กทม. มีเตียงรองรับผู้ป่วยอาการหนักได้อย่างเต็มที่ ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ผู้ป่วยทุกคนต้องเข้าถึงการรักษา จะไม่ทอดทิ้งผู้ป่วยไว้ที่บ้าน

2021_1_5_28_210804

          วันที่ 28 พฤษภาคม 2564  ดำเนินการเปิดโรงพยาบาลบุษราคัม ระยะที่ 2 โดยใช้พื้นที่อาคารอิมแพค ชาเลนเจอร์ 1 รับผู้ป่วยได้ 1,076 เตียง

          วันที่ 4 กรกฎาคม 2564 ดำเนินการเปิดโรงพยาบาลบุษราคัม ระยะที่ 3 โดยใช้พื้นที่อาคาร    อิมแพค ชาเลนเจอร์ 2 รับผู้ป่วยได้ 1,500 เตียง ทำให้ปัจจุบันเพิ่มศักยภาพรองรับได้ทั้งหมดประมาณ 3,700 เตียง 

          และในวันที่ 30 กันยายน 2564 จึงจำเป็นต้องดำเนินการปิดโรงพยาบาลบุศราคัม เนื่องจากผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 มีจำนวนลดลง เหลือเพียง 5 รายต่อวัน และต้องดำเนินการคืนสถานที่ให้อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดย โรงพยาบาบลบุษราคัม   ที่เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 64 รวมเป็นระยะเวลา 130 วัน มีผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 20,432 ราย

          โรงพยาบาลบุษราคัมจึงเป็นโรงพยาบาลสนาม ที่มีความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ให้ได้รับการรักษาอย่างมีมาตรฐาน และกลับสู่ครอบครัวโดยเร็วที่สุด และต้องขอขอบคุณบุคลากรทั้งภาครัฐ เอกชนและจิตอาสา ที่อุทิศ เสียสละเวลามาเป็นส่วนหนึ่งของบุญราคัม ในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 ระบาดหนักจนมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

สบส.คอลัมน์ “รอบรู้กับกรม สบส.”

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ