- ข่าวสารเครือข่าย
- อ่าน: 1711
ชุดการเรียนรู้หลักสูตรอบรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานและผู้นำสุขภาพ
Wellness Center & Health Leader
ชุดการเรียนรู้หลักสูตรอบรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานและผู้นำสุขภาพ
Wellness Center & Health Leader
ประชาสัมพันธ์จากสมาคมโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทย โปรดช่วยแชร์ผู้ที่สวมมาสก์สัญลักษณ์นี้เป็นคนหูหนวก และบางคนใส่เครื่องช่วยฟังในช่วงลำบากจากโควิทนี้ ไม่สามารถอ่านจากริมฝีปาก ทำให้เขายิ่งลำบากขึ้น น้อยคนที่จะรู้จักเครื่องหมายนี้
เพื่อให้สามารถสื่อสาร กับผู้พิการทางการได้ยิน ตั้งแต่ระดับหูตึง ได้ยินเสียงที่ต้องมีความดังมากกว่าคนทั่วไป ไปจนถึงหูหนวก บางรายใช้เครื่องช่วยฟัง ให้สังเกตุสัญลักษณ์บนมาสก์ ที่บ่งบอกถึงผู้มีปัญหาทางการได้ยิน อาจสื่อสารด้วยภาษามือหรือทางลายลักษณ์อักษร แทน เนื่องจากเมื่อผู้สนทนาใส่มาสก์ด้วยแล้ว ก็จะทำให้ผู้มีปัญหาทางการได้ยินไม่สามารถอ่านริมฝีปากผู้สนทนาได้ ทางสมาคมโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทย จึงฝากประชาสัมพันธ์ ช่วยแชร์ เพื่อการสื่อสารอย่างถูกวืธีกับผู้มีปัญหาทางการได้ยิน
โดยการนำของท่านอธิบดีสบส,นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์,ผอ.เสาวภาพร้อมทีมงานและนพ.ธนวรรฒน์ นายกสมาคมฯ พร้อม พญ.ณัฐฐาภณิตา,พญ.ณิชนิตา ในนามสมาคมคลินิกไทย ได้ร่วมกับทีมงานรพ.ธนบุรี บำรุงเมืองโดยผอ.พิชญา นาควัชระ (อดีตรองปลัดกทม) เข้าดูงานเตรียมความพร้อม สถานที่ตรวจ ATK และสถานที่ CI โดยสมาคมคลินิกไทยและคลินิกมิตรไมตรีได้รับผิดชอบในการรับดูแลผู้ป่วย HI ที่ มทบ.11
หนังสือ Health Literacy หนังสือด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงกระบวนการ การปฏิบัติงาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน ...เขียนโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถอ่านได้ที่เว็บไซต์สมาคมวิชาชีพสุขศึกษา http://hepa.or.th/journal.php
ทีมนักกำหนดอาหารวิชาชีพ รพ.พระมงกุฎเกล้า รพ.BNH และ รพ.เทพธารินทร์ ภายใต้การสนิบสนุนจาก นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ ประธานกรรมการวิชาชีพสาขากำหนดอาหาร สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย และ กองอายุรกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า เริ่มโครงการบ้านปันอิ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาและแจกจ่ายผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารทางการแพทย์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลด้านโภชนาการและโภชนาการบำบัดให้กับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ รพ.สนาม และผู้ป่วยที่ต้องกักตัวในรูปแบบ Home / Community Isolation โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาด้านการเคี้ยวกลืน ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้ที่ต้องได้รับอาหารทางสายให้อาหาร ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางอายุรกรรม ผู้มีปัญหาทางเศรษฐสถานะ และเพื่อให้คำปรึกษาในการดูแลภาวะโภชนาการเบื้องต้น Online
หน้าที่ 17 จาก 20