กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

รายการ สบส. ขอ talk ตอน อสม.บอกต่อนับคาร์บ ลดโรค NCDs

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 82 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

"NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม." งานวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติปี 2568

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 134 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน Low carb ง่ายๆด้วยโปรแกรมคำนวณคาร์บ กับ อสม.

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 104 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 78 ใจสั่นอาการที่พบได้ง่ายส่อแววเกิดโรค

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 83 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ทําไมอาหารถึงทําให้เราป่วย? การกินอาหารที่ไม่เหมาะสมนําไปสู่โรค NCDs ได้อย่างไร? / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 102 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ข้อควรระวัง! ในการเข้ารับบริการนวดเพื่อสุขภาพ

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 169 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

หมอกหรือฝุ่น PM 2.5 / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 135 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 94 ตุ่มน้ำพอง โรคกวนใจที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 154 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ค่าฝุ่น PM 2.5 ปริมาณเท่าไหร่ถึงมีผลต่อสุขภาพ

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 134 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 119 สุขภาพดี สีเสื้อไม่เกี่ยว (วิธีสังเกตร้านนวดที่ได้มาตรฐาน)

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 114 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

เรื่อง Low carb คุมน้ำหนักด้วยการลดแป้ง

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 288 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 118 NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 210 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

คาร์โบไฮเดรต เป็น 1 ในอาหารหลัก 5 หมู่ พบมากในอาหารจำพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล และพืชหัว... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 07 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 375 ครั้ง บทความ

การมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด อาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจในระยะยาว เช่น การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 07 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 233 ครั้ง บทความ

  วันตรุษจีนถือเป็นวันรวมญาติ และไหว้บรรพบุรุษเพื่อเสริมโชคลาภและสุขภาพ การเลือกอาหารไหว้ควรคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เราจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ทุกคน... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 467 ครั้ง บทความ

  ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี สาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพ มาจากการละเลยในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง การตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยงและความผิดปกติของร่างกายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 615 ครั้ง บทความ

             ความสะดวก สบาย... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 03 มกราคม 2568 อ่าน : 290 ครั้ง บทความ

  กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การกินอาหารที่มีรสจัด... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 19 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 718 ครั้ง บทความ

กรม สบส.เตือนผ่าตัดกระเพาะ ไม่ใช่ทางลัดลดน้ำหนัก แนะใช้วิธีธรรมชาติ  ก่อนพึ่งพาศัลยกรรม

66041001_p86586

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) เตือนการผ่าตัดกระเพาะ ใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน มิใช่ทางลัดในการลดน้ำหนัก แนะหนุ่ม-สาวที่อยากหุ่นเพรียว ใช้วิธีธรรมชาติอย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพช่วยลดสัดส่วนร่างกาย ก่อนพึ่งพาศัลยกรรม

          นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ประชาชนทุกช่วงวัยต่างให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ร่างกาย และบุคลิกภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหนุ่ม-สาว ที่นอกจากจะมีความต้องการให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว รูปลักษณ์ทั้งใบหน้า ร่างกายก็ต้องมีความสวยงาม สมส่วน แต่ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ขาดการเอาใจใส่ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ให้พลังงาน และไขมันสูง อย่างจังค์ฟู๊ด รับประทานไม่เป็นเวลา และขาดการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันมากเกินกว่าการเผาผลาญจึงก่อให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนนอกจากจะส่งผลต่อบุคลิกภาพแล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ อาทิ โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต ฯลฯ จึงอาจมีประชาชนบางราย ที่ต้องการศัลยกรรม อย่างการผ่าตัดกระเพาะซึ่งกำลังเป็นที่กล่าวถึงในสื่อโซเชียลมาช่วยในการลดน้ำหนัก กรม สบส. ขอเตือนประชาชนว่าการผ่าตัดกระเพาะ มิใช่ทางลัดในการลดน้ำหนักแต่อย่างใด แต่การผ่าตัดกระเพาะนั้น เป็นการรักษารูปแบบหนึ่งสำหรับผู้เป็นโรคอ้วนที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เกิน 32.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และผ่านการลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหารหรือการออกกำลังกายภายใต้การดูแลของแพทย์แล้วแต่ไม่เป็นผล จึงจะสามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารได้ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มิได้ทำเพื่อความสวยงาม

66041002_p79557

          ด้าน ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า การผ่าตัดกระเพาะ เป็นการศัลยกรรมประเภทหนึ่งที่ใช้รักษาโรคเรื้อรัง ซึ่งจะต้องมีการปรึกษากับแพทย์ถึงความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และต้องกระทำในสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพร่างกายไม่ให้เกิดไขมันสะสมจนเป็นโรคอ้วนนั้น สามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม โดยการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที  และควบคุมอาหาร ลดอาหารที่มีไขมันสูง ของทอดต่างๆ เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นอาหารที่มีเส้นใย เพื่อช่วยดูดซึมไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งจะเป็นการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ