กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

รายการ สบส. ขอ talk ตอน อสม.บอกต่อนับคาร์บ ลดโรค NCDs

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 82 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

"NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม." งานวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติปี 2568

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 134 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน Low carb ง่ายๆด้วยโปรแกรมคำนวณคาร์บ กับ อสม.

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 104 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 78 ใจสั่นอาการที่พบได้ง่ายส่อแววเกิดโรค

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 83 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ทําไมอาหารถึงทําให้เราป่วย? การกินอาหารที่ไม่เหมาะสมนําไปสู่โรค NCDs ได้อย่างไร? / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 102 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ข้อควรระวัง! ในการเข้ารับบริการนวดเพื่อสุขภาพ

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 169 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

หมอกหรือฝุ่น PM 2.5 / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 135 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 94 ตุ่มน้ำพอง โรคกวนใจที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 154 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ค่าฝุ่น PM 2.5 ปริมาณเท่าไหร่ถึงมีผลต่อสุขภาพ

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 134 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 119 สุขภาพดี สีเสื้อไม่เกี่ยว (วิธีสังเกตร้านนวดที่ได้มาตรฐาน)

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 114 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

เรื่อง Low carb คุมน้ำหนักด้วยการลดแป้ง

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 288 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 118 NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 210 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

คาร์โบไฮเดรต เป็น 1 ในอาหารหลัก 5 หมู่ พบมากในอาหารจำพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล และพืชหัว... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 07 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 376 ครั้ง บทความ

การมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด อาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจในระยะยาว เช่น การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 07 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 233 ครั้ง บทความ

  วันตรุษจีนถือเป็นวันรวมญาติ และไหว้บรรพบุรุษเพื่อเสริมโชคลาภและสุขภาพ การเลือกอาหารไหว้ควรคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เราจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ทุกคน... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 467 ครั้ง บทความ

  ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี สาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพ มาจากการละเลยในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง การตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยงและความผิดปกติของร่างกายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 615 ครั้ง บทความ

             ความสะดวก สบาย... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 03 มกราคม 2568 อ่าน : 290 ครั้ง บทความ

  กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การกินอาหารที่มีรสจัด... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 19 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 718 ครั้ง บทความ

กรม สบส.เผยนักเรียน กว่าร้อยละ 68 ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงรับประทานอาหารร่วมกันจากความเคยชิน

line_album_-_0__

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยนักเรียน กว่าร้อยละ 68 ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงรับประทานอาหารร่วมกันจากความเคยชิน หรือมองว่าร่วมรับประทานอาหารกับบุคคลใกล้ชิดไม่เสี่ยงโรคโควิด 19 แนะสถาบันการศึกษา และผู้ปกครองร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง เน้นย้ำให้นักเรียน/บุตร หลาน ตั้งสติคิดว่าทุกคนมีโอกาสเป็นผู้ติดเชื้อ จนเกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิด พฤติกรรมสู่วิถีชีวิตใหม่ห่างไกลโควิด 19

5--2564

         นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า แม้ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID 19) ในประเทศไทยจะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่ก็ยังมิอาจไว้วางใจได้เสียทีเดียว ด้วยการมาของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” (Omicron) ประกอบกับการเปิดภาคเรียนของเด็กนักเรียน ที่ทำให้เกิดกิจกรรมการรวมกลุ่มของนักเรียน ก็อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกใหม่ได้ โดยจากการเก็บข้อมูลจากนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับมัธยม ซึ่งมีพฤติกรรมล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกันกับเพื่อน และคนในครอบครัว ใน 19 จังหวัด จำนวน 14,387 ราย ระหว่างวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2564 โดยกองสุขศึกษา กรม สบส.พบความคิดเห็น 5 อันดับแรก ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักเรียนเลือกรับประทานอาหารร่วมกัน ดังนี้
1)เป็นวัฒนธรรมที่เคยชิน ร้อยละ 68.47  2)เป็นคนใกล้ชิด ร้อยละ 68.19 3)เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ร้อยละ 63.57
4)ประเภทอาหารที่กินเอื้อต้องให้กินร่วมกัน 56.82 และ 5)กินอาหารร่วมกันช่วยเพิ่มความสนุกสนาน ร้อยละ 53.87 โดยอาหารที่นักเรียนส่วนใหญ่รับประทานร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว ได้แก่ หมูกระทะ สุกี้ ร้อยละ 56.8 ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคโควิด 19 ดังนั้น กุญแจสำคัญในการผลักดันให้เยาวชนเกิดการปรับเปลี่ยนความคิดเห็น ลด ละ เลิก แนวคิด ในการร่วมวงรับประทานอาหารร่วมกันนั้น ทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และครอบครัว จะต้องร่วมให้ความรู้ ความเข้าใจ ถึงความเสี่ยง และอันตรายจากการรับประทานอาหารร่วมกันที่อาจจะทำให้มีการแพร่กระจายของโรคโควิด 19 มีการปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง พร้อมแนะนำวิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ให้นักเรียน/บุตร หลาน มีการเว้นระยะห่างในการรับประทานอาหาร ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน ล้างมือให้สะอาด รับประทานอาหารสุกใหม่ และแยกสำรับอาหารเฉพาะแต่ละคน เกิดการตั้งสติคิดว่าทุกคนคือผู้ติดเชื้อ จนนักเรียน/บุตร หลาน มีการปรับเปลี่ยนความคิดเห็น และพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตใหม่ที่ห่างไกลโรคโควิด 19 

          ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส.กล่าวเพิ่มเติมว่า กรม สบส.ได้มอบหมายให้กองสุขศึกษา ดำเนินการผลิต และเผยแพร่สื่อความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention : UP) 10 ข้อ ดังนี้ ออกจากบ้านเมื่อจำเป็น เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร สวมหน้ากากอนามัยทับด้วยหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ อย่าใช้มือสัมผัสหน้ากาก รวมทั้งใบหน้า ตา จมูก ปาก หากเป็นกลุ่มเสี่ยงให้หลีกเลี่ยงออกนอกบ้าน ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ แยกของใช้ส่วนตัว กินอาหารปรุง สุก ใหม่ แยกสำรับ ช้อนกลางส่วนตัว และหากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงให้ตรวจด้วย ATK ทุก 3 - 5 วัน ซึ่งจะมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ฯลฯ ร่วมเผยแพร่สื่อความรู้ที่ผลิตลงไปยังกลุ่มนักเรียน ซึ่งหากทุกคนร่วมมือกันในการลด ละ เลิก พฤติกรรมเสี่ยง เชื่อว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ก็จะผ่านพ้นไปโดยเร็ว และเมื่อการระบาดของโรคได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทุกคนก็จะสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติสุขดังเดิม ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพ แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ หรือการดูแล ป้องกันตนเองจาก
โรคโควิด 19 สามารถสืบค้นข้อมูลได้ที่เว็บไซต์คลังความรู้สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (http://healthydee.moph.go.th)

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ