กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

รายการ สบส. ขอ talk ตอน อสม.บอกต่อนับคาร์บ ลดโรค NCDs

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 82 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

"NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม." งานวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติปี 2568

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 134 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน Low carb ง่ายๆด้วยโปรแกรมคำนวณคาร์บ กับ อสม.

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 104 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 78 ใจสั่นอาการที่พบได้ง่ายส่อแววเกิดโรค

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 83 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ทําไมอาหารถึงทําให้เราป่วย? การกินอาหารที่ไม่เหมาะสมนําไปสู่โรค NCDs ได้อย่างไร? / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2568 อ่าน : 102 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ข้อควรระวัง! ในการเข้ารับบริการนวดเพื่อสุขภาพ

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 169 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

หมอกหรือฝุ่น PM 2.5 / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 135 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 94 ตุ่มน้ำพอง โรคกวนใจที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 154 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ค่าฝุ่น PM 2.5 ปริมาณเท่าไหร่ถึงมีผลต่อสุขภาพ

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 134 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 119 สุขภาพดี สีเสื้อไม่เกี่ยว (วิธีสังเกตร้านนวดที่ได้มาตรฐาน)

เผยแพร่ : 11 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 114 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

เรื่อง Low carb คุมน้ำหนักด้วยการลดแป้ง

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 288 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 118 NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 210 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

คาร์โบไฮเดรต เป็น 1 ในอาหารหลัก 5 หมู่ พบมากในอาหารจำพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล และพืชหัว... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 07 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 376 ครั้ง บทความ

การมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด อาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจในระยะยาว เช่น การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 07 กุมภาพันธ์ 2568 อ่าน : 233 ครั้ง บทความ

  วันตรุษจีนถือเป็นวันรวมญาติ และไหว้บรรพบุรุษเพื่อเสริมโชคลาภและสุขภาพ การเลือกอาหารไหว้ควรคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เราจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ทุกคน... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 467 ครั้ง บทความ

  ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี สาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพ มาจากการละเลยในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง การตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยงและความผิดปกติของร่างกายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 615 ครั้ง บทความ

             ความสะดวก สบาย... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 03 มกราคม 2568 อ่าน : 290 ครั้ง บทความ

  กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การกินอาหารที่มีรสจัด... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 19 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 718 ครั้ง บทความ

กรม สบส. ห่วงเด็กในยุคออนไลน์ แนะสุขบัญญัติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 

65042101

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ห่วงเด็กในยุคออนไลน์ มีภาวะเครียด เนือยนิ่ง แนะผู้ปกครองดูแลใส่ใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมปลูกฝังสุขบัญญัติให้เป็นนิสัย สุขภาพกาย ใจ แข็งแรง

          นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้เด็กมีการทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางออนไลน์ ด้วยอยู่กับบ้านทำให้มีลักษณะเนือยนิ่ง เป็นการทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายใช้พลังงานในระดับต่ำ หรือการนั่งๆ นอนๆ ที่ไม่ได้นอนหลับ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และทำให้เกิดการเสพสื่อ ติดโซเชียล และเล่นเกมส์ออนไลน์ อีกทั้งมีความเครียดจากการเรียนออนไลน์ และการเพ่งสายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อสายตา ระบบประสาทและสมองของเด็ก สิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก โดยยึดสุขบัญญัติในการเป็นเครื่องมือที่ผลักดันให้เด็กมีสุขภาพที่ดี ทั้งกายและใจ เช่น การปรับพฤติกรรมทานอาหาร หลีกเลี่ยงขนมหวาน ของหวาน ระหว่างมื้อ ออกกำลังกายเป็นประจำ สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น และทำกิจกรรมที่เด็กชอบเพื่อให้จิตใจร่างเริงแจ่มใส

65042102

          ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กในยุคออนไลน์ ผู้ปกครองสามารถสอนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้โดยใช้สุขบัญญัติ เป็นรากฐานในการปลูกฝังนิสัยให้เด็กได้นำไปปฏิบัติใช้ให้มีสุขภาพร่างกายใจที่แข็งแรง ดังนี้ 1) สุขบัญญัติข้อที่ 4 กินอาหารสุกสะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ผู้ปกครองสามารถจัดเตรียมอาหารพวกผลไม้ ธัญพืช แทนขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน ที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมาได้ 2) สุขบัญญัติข้อที่ 6 สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น  การเรียนออนไลน์ การติดโซเชียล  ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการหากิจกรรมเสริมเพิ่มเติมในการชวนด็กๆ ทำกิจกรรมร่วมกันให้เด็กห่างไกลจากการเสพสื่อ ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เช่น การทำขนม ปลูกต้นไม้ ไปท่องเทียวเพื่อลดพฤติกรรมติดสื่อออนไลน์ และทำข้อตกลงร่วมกันในการใช้สื่อโซเชียลกำหนดว่าสามารถให้เล่นได้ช่วงเวลาใด 3) สุขบัญญัติข้อที่ 8 ออกกําลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจําปี คนในครอบครัวชวนกันออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันหรือสัปดาห์ละ 3-5 วัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที มีการเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ หรือทุกๆ 30 นาที หมุนไหล่หรือคอ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการพักสายตาหลังจากเรียนออนไลน์ 4) สุขบัญญัติข้อที่ 9  ทําจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ เช่น เล่นดนตรี เล่นกีฬาเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการรอบด้าน ผู้ปกครองพร้อมเปิดโอกาสให้เด็กสามารถระบายความเครียด ความในใจที่อยากบอกได้ ดังนั้น สุขบัญญัติจึงเป็นข้อกำหนดที่สำคัญที่ผู้ปกครองสามารถนำไปใช้ปลูกฝังให้กับเด็กในการเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนั้นจึงควรปฏิบัติ สุขบัญญัติให้เป็นนิสัย สุขภาพกาย ใจ แข็งแรง

65042103

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ