กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส. ร่วมกับ ธปท. จัดประชุมชี้แจงการเก็บแบบสำรวจข้อมูลสถานพยาบาลในเชิงเศรษฐกิจสุขภาพ รองรับนโยบาย Medical Hub ปี 2566

24849431c15d720049f30f66946d0440

กรม สบส. ร่วมกับ ธปท. จัดประชุมชี้แจงการเก็บแบบสำรวจข้อมูลสถานพยาบาลในเชิงเศรษฐกิจสุขภาพ รองรับนโยบาย Medical Hub ปี 2566

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดประชุมชี้แจงการเก็บแบบสำรวจข้อมูลสถานพยาบาลในเชิงเศรษฐกิจสุขภาพ รองรับนโยบาย Medical Hub ปี 2566 แจงแนวทางการเก็บข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยต่างชาติแก่สถานพยาบาลเอกชนที่มีศักยภาพ 89 แห่ง ต่อยอดเป็นฐานข้อมูลกลางในการวางแผนกำหนดนโยบายเพื่อผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ

          นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ตามที่ภาครัฐได้วางนโยบายพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์ และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจนนำไปสู่การขยายมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกรม สบส.เล็งเห็นว่าการยกระดับประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาตินั้น จำเป็นที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลของสถานพยาบาลให้มีความครอบคลุมในประเด็นทางด้านเศรษฐกิจสุขภาพ ทั้งนี้ หากประเทศไทยมีฐานข้อมูลการรับบริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่างชาติที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และทันต่อสถานการณ์แล้ว จะมีประโยชน์ต่อการประเมิน วิเคราะห์ วางแผน และกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจสุขภาพ จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างกรม สบส. และ ธปท. ในการพัฒนาฐานข้อมูลการรับบริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่างชาติ โดยเก็บข้อมูลการรับบริการฯ ของผู้ป่วยต่างชาติผ่านแบบสำรวจข้อมูลโรงพยาบาลเอกชนที่มีศักยภาพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล เขตพื้นที่ท่องเที่ยว และเขตจังหวัดชายแดนของประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสุขภาพ และจัดทำสถิติดุลการชำระเงินของประเทศ เพื่อให้การตอบแบบสำรวจข้อมูลของโรงพยาบาลเอกชนมีความถูกต้องและสมบูรณ์มากที่สุด กรม สบส. จึงได้จัดประชุมชี้แจงการเก็บแบบสำรวจข้อมูลสถานพยาบาลในเชิงเศรษฐกิจสุขภาพรองรับนโยบาย Medical Hub ปี 2566 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยมีผู้แทนจากสถานพยาบาลภาคเอกชนกว่า 100 คน เข้าร่วมประชุมทั้งรูปแบบออนไซต์ และออนไลน์

          นายแพทย์สุระ อธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลของ Medical Tourism Association ได้ประเมินว่าในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้ป่วยเดินทางไปรับบริการทางการแพทย์ในต่างประเทศประมาณปีละ 14 ล้านคน โดยสาเหตุที่การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดจากค่ารักษาพยาบาลในประเทศที่พัฒนาแล้วมีราคาสูง ขณะที่คุณภาพการรักษาในบางประเทศอยู่ในระดับที่เทียบเคียงได้ แต่กลับมีราคาที่ต่ำกว่าค่อนข้างมาก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัจจัยหลักซึ่งได้รับการยอมรับอยู่มากมาย อาทิ ราคาเหมาะสม การให้บริการมีคุณภาพ และมาตรฐานสากล มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีเทคโนโลยีทันสมัย มีการต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดี และมีสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม หากมีฐานข้อมูลกลางการให้บริการทางการแพทย์ ย่อมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากการนำข้อมูลที่ได้มาใช้กำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มโรคที่ให้บริการรักษาและผู้ป่วยที่เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น นำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศไทยสืบไป

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ