กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส. เผยพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชนไทย และพบความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เลิกบุหรี่มวนได้สูงถึง ร้อย 61.23

กรม สบส. เผยพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชนไทย และพบความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เลิกบุหรี่มวนได้สูงถึง ร้อย 61.23

04ff9177d48333dbe4f1bf9c2a08fa5c

         
06e242cdaf60481aec76eeb79d5bb46a

cccc62237f55adb48d37c1a0804f1b7d

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เผยผลพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า/พอตของเยาวชนไทย พบ สูบร้อยละ 18.60 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และพบความเข้าใจผิดว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้สามารถเลิกบุหรี่มวนได้ และนิโคตินส่งผลดีต่อร่างกาย

         นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสังคมไทย และสังคมโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งใหม่ๆ ซึ่งจากผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า/พอต ของเยาวชนไทย จำนวน 40,164 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 – 27 พฤษภาคม 2567 โดยกองสุขศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร พบว่า เยาวชนไทยอายุระหว่าง 6-30 ปีมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 18.60 เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชายสูบบุหรี่ไฟฟ้าสูงที่สุด ร้อยละ 21.49 รองลงมา LGBTQ+ ร้อยละ 19.73 และเพศหญิง ร้อยละ 16.22 เมื่อสอบถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของเยาวชน พบว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า คือ เข้าใจว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้สามารถเลิกบุหรี่มวนได้ ร้อยละ 61.23เข้าใจว่านิโคตินส่งผลดีต่อร่างกาย ร้อยละ 51.19 เข้าใจว่าน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีส่วนผสมของนิโคติน ร้อยละ 26.28 เข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย ร้อยละ 23.28 และเข้าใจว่าควันบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย ร้อยละ 12.53 นอกจากนี้เยาวชนยังมีความเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้า/พอต อันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน ร้อยละ 50.2 อีกด้วย 

        นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า จากผลการสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าเยาวชน ยังขาดความรู้ และความตระหนักถึงผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและยังมีความเชื่อที่ผิด เพราะในบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเสพติดที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ส่งผลเสียต่อระบบหายใจ ระบ[หลอดเลือดสมอง ระบบประสาทและสมองและอื่นๆ กรม สบส. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่เด็กและเยาวชน จึงได้ส่งเสริมให้ ยุว อสม.ทำหน้าที่เป็นพลังในการสื่อสารให้เด็กและเยาวชน มีความตระหนักรู้ เตือนภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยใช้แนวทางการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อที่ 5 งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และสารเสพติด เพื่อป้องกันเยาวชนให้ห่างไกลจากบุหรี่ไฟฟ้า และลดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ อันจะนำไปสู่ยาเสพติดชนิดร้ายที่เพิ่มขึ้น

*********************** 25 มิถุนายน 2567

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ