กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส.ย้ำ รพ.เอกชน คุมเข้มมาตรฐานตรวจสุขภาพต่างด้าว

   กรม สบส.ย้ำ รพ.เอกชน คุมเข้มมาตรฐานตรวจสุขภาพต่างด้าว

6e17e4828c1050d4f7338f0101be61f3

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ย้ำสถานพยาบาลเอกชนทุกแห่ง คุมเข้มมาตรฐานการตรวจสุขภาพคนต่างด้าว ด่านแรกในการคุ้มครองความมั่นคงด้านสุขภาพไทย ป้องกันการแพร่ระบาดโรคอันตรายจากต่างแดน

          ดร.นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรม สบส. ให้สัมภาษณ์ว่า ประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ทำให้เกิดการติดต่อค้าขาย เดินทางไปมาหาสู่กันมาอย่างยาวนาน ประกอบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชากรในประเทศเพื่อนบ้านตัดสินใจเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยข้อมูลจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เดือนพฤศจิกายน 2567 แสดงให้เห็นว่าทั่วประเทศมีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน 3,350,969 คน และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งการหลั่งไหลขอเข้ามาของแรงงานต่างด้าวนั้น ถือว่ามีทั้งผลดีในเรื่องของตลาดแรงงาน และผลกระทบที่สำคัญอย่างปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาการระบาดของโรคต่างๆ ที่เคยหายไปจากเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น โรคเท้าช้าง โรคเรื้อน ที่เริ่มกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง การตรวจคัดกรองสุขภาพแรงงานต่างด้าว จึงถือเป็นกำแพงด่านแรกในการคุ้มครองความมั่นคงด้านสุขภาพของประชาชน แต่ ณ ปัจจุบัน กรม สบส.ยังคงได้รับข้อร้องเรียนในการออกเอกสารใบรับรองแพทย์ปลอมให้แรงงานต่างด้าว โดยไม่มีการตรวจสุขภาพจริง จึงขอเน้นย้ำกับสถานพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ให้คุมเข้ม มาตรฐานการให้บริการตรวจสุขภาพคนต่างด้าวให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการให้บริการตรวจสุขภาพคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนด และก่อนเปิดให้บริการตรวจสุขภาพคนต่างด้าว จะต้องยื่นแบบคำขอบริการเพิ่มเติมบริการตรวจสุขภาพคนต่างด้าว (แบบ ส.พ. 16) กับกรม สบส. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ เพื่อพิจารณาอนุญาต และหากเป็นการออกตรวจสุขภาพคนต่างด้าวนอกสถานที่ตั้ง จะต้องแจ้งรายละเอียดต่อผู้อนุญาตก่อนวันออกให้บริการไม่น้อยกว่าสิบวัน ตามแบบ สพ.ต.1 เพื่อให้การตรวจสุขภาพเป็นไปตามาตรฐาน คุมเข้มการออกใบรับรองแพทย์ปลอม เป็นการหยุดยั้งมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตรายจากต่างประเทศ

ด้าน ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรฐานการให้บริการ ตรวจสุขภาพคนต่างด้าวที่สถานพยาบาลต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ประกอบด้วย 1.มีห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2.มีห้องเอกซเรย์และเครื่องกำเนิดรังสีทางการแพทย์ที่ผ่านมาตรฐานและแจ้งการครอบครองกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3.มีแพทย์ผู้รับผิดชอบในการให้บริการตรวจสุขภาพคนต่างด้าว อีกทั้ง ต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบโรคศิลปะอื่นเป็นผู้ร่วมให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพนั้นๆ 4.มีเวชระเบียนและการรายงานผลการตรวจสุขภาพ โดยต้องจัดให้มีรายชื่อคนต่างด้าวที่มาตรวจสุขภาพ ผลการตรวจสุขภาพจำแนกตามโรคต้องห้าม และ 5.มีระบบพิสูจน์อัตลักษณ์เพื่อยืนยันตัวตนคนต่างด้าวที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพของสภากาชาดไทย หรือระบบยืนยันตัวตนอื่นที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด ในกรณีที่พบว่าโรงพยาบาลไม่มีมาตรฐานการให้บริการตรวจสุขภาพคนต่างด้าว หรือกรณีที่ผลการตรวจสุขภาพคนต่างด้าว ปรากฏเป็นโรคต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ สถานพยาบาลต้องรายงานผลการตรวจไปยังหน่วยงานของรัฐตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ด้วย หากฝ่าฝืนจะถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 35 (4) ประกอบ มาตรา 65 และอาจมีมาตรการทางปกครองสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวอีกด้วย

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ