กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สบส. หนุน อสม. อสส. เดินหน้าเชิงรุกกิจกรรมนับคาร์บ ในเขตเมืองและพื้นที่พิเศษ

fb441a685676eda4978c29a1b43e03dc

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เดินหน้าเชิงรุกชวนประชาชนในพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่พิเศษร่วมนับคาร์บ ให้ครบเป้าหมาย 50 ล้านคน ภายในปีงบ 2568

ดร.นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ตามที่ ภาครัฐมีนโยบายดึงศักยภาพของเครือข่ายสาธารณสุขทุกภาคส่วน มาร่วมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Disease : NCDs) ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ที่สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้น กรม สบส. ซึ่งมีเครือข่ายภาคประชาชนอย่าง อสม. และ อสส. อยู่ในการดูแลกว่า 1.09 ล้านคน จึงจัดกิจกรรม “อสม. ชวนนับคาร์บ” ขึ้น โดยเริ่มจากการสร้างองค์ความรู้ในการคำนวณปริมาณคาร์บที่ควรรับประทานแก่ อสม. เพื่อให้ อสม. 1 คน นำองค์ความรู้ที่ได้ไปส่งต่อแก่ประชาชน 50 คน ให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50 ล้านคน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งข้อมูลผลการดำเนินงานผ่านระบบ 3 หมอรู้จักคุณ กรม สบส. ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2568 แสดงให้เห็นว่าประชาชนได้รับการสอนนับคาร์บแล้วว่า 28.7 ล้านคน โดยในระยะเวลาประมาณ 5 เดือนที่เหลือ กรม สบส. จะเร่งสนับสนุนการดำเนินงานของ อสส. และ อสม.ทั่วประเทศ มุ่งให้คำแนะนำประชาชนในการนับคาร์บ โดยใช้แนวทางตามสูตรการคำนวณนับคาร์บก่อนและบันทึกข้อมูลที่ได้ลงในแอปพลิเคชัน “สมาร์ท อสม.” เป็นช่องทางหลัก รวมทั้ง ดำเนินการเชิงรุกลงพื้นที่เขตเมือง และพื้นที่พิเศษ อาทิ โรงงาน/คอนโดมิเนียม/หมู่บ้านจัดสรร ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดได้เรียนรู้วิธีการนับคาร์บจาก อสม. อสส. หรือเรียนรู้ด้วยตนเองและบันทึกข้อมูลผ่านแบบฟอร์มสำรวจการนับคาร์บ ปี 2568 (https://3doctor.hss.moph.go.th/hsslowcarb)

            ด้านนายแพทย์อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน ประชาชนในเขตเมืองมักเผชิญกับภาระหน้าที่ที่เร่งรีบ ทำให้มีพฤติกรรมการทานอาหารแช่แข็ง อาหารจานด่วน หรือขนมขบเคี้ยว
 ที่นอกจากจะมีโภชนาการต่ำแล้ว ยังมีคาร์โบไฮเดรตที่ค่อนข้างสูง ซึ่งการทานอาหารอย่างแป้งขาว ขนมปัง ขนมหวาน หรือน้ำอัดลม ที่เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและดูดซึมได้ง่าย จะส่งผลให้มีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดมาก ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในหลอดเลือดและไต และด้วยปริมาณกล้ามเนื้อมีจำนวนจำกัดจึงเปลี่ยนน้ำตาลเหล่านี้ไปเก็บไว้ในรูปไขมันสะสม ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ การนับคาร์บ  หรือคาร์โบไฮเดรต เพื่อคำนวณปริมาณการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ เพื่อมิให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย จึงถือเป็นกุญแจสำคัญในการปรับพฤติกรรมสุขภาพประชาชนให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ