กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

“กินเค็มอย่างแซ่บ” ความชอบที่กลายเป็นโรค

73f13c615d78a467cbe3e4781ac86e95

อาหารรสเค็ม อาจเป็นเมนูโปรดของใครหลายคน แต่รู้หรือไม่ว่า รสชาติที่จัดจ้านและเค็มสุด ๆ มักทำให้เพลิดเพลินจนลืมคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา โดยเฉพาะการกินอาหารที่มีโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป อาจนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ จากความชอบส่วนตัว อาจกลายเป็นโรคประจำตัวในระยะยาวได้

อาหารเค็มจัด เกี่ยวข้องกับโซเดียมอย่างไร ?

  โซเดียม เป็นหนึ่งในเกลือแร่ที่สําคัญในร่างกาย ซึ่งจะได้รับจากการกินอาหารเป็นหลักในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยไม่ควรกินเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันหรือประมาณ 1 ช้อนชา และถ้าหากเปลี่ยนเป็นน้ำปลา ร่างกายก็ไม่ควรได้รับน้ำปลาเกิน 4 ช้อนชาต่อวัน  

    

  อาหารที่มีโซเดียมสูง ส่วนใหญ่มักมีรสชาติเค็ม ได้แก่ อาหารแปรรูปหรืออาหารที่ผ่านการถนอมอาหาร อาหารหมักดอง เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ผงชูรส อาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมต่าง ๆ ที่มีการเติมผงฟู (Baking Powder หรือ Baking Soda) รวมถึงเครื่องดื่มบางชนิด อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดอง กะปิ น้ำปลา ปลากระป๋อง ซุปก้อน ขนมเค้ก อาหารที่มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด เป็นต้น

กินเค็มจัด ไม่ได้เสี่ยงแค่โรคไต แต่ยังเสี่ยงโรคอื่นด้วย

            การกินอาหารเค็มจัด นำไปสู่หลายโรคที่รุนแรง โรคสำคัญที่เกิดจากการกินเค็มจัด คือ โรคไตและโรคความดันโลหิต ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับเกลือ ร่างกายจะเกิดการดึงน้ำเข้ามาในกระแสเลือด ทำให้ขาบวม ตาบวม หากกินติดต่อกันในระยะยาว จะส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงในที่สุด และถ้าหากสูงมาก ๆ จะทำให้เป็นโรคหัวใจตามมาด้วย นอกจากนี้ ยังมีโรคอัมพาต รวมถึงโรคกระดูกพรุน การกินเค็มจัดจะทำให้แคลเซียมมาปนอยู่ในปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้กระดูกเปราะบางจากการสูญเสียแคลเซียม

ลดเค็มทีละน้อย ลดเสี่ยงได้หลายโรค

            เริ่มต้นลดเค็ม โดยการไม่ปรุงเพิ่ม หรือปรุงในปริมาณที่ลดลง และปรับพฤติกรรมการกิน ดังนี้

  • ลดการเติมซอส น้ำปลา ผงชูรส ค่อย ๆ ลดปริมาณลงทีละน้อย เพื่อให้ลิ้นปรับตัว
  • เลือกกินอาหารที่มีหลายรสชาติ เช่น แกงส้ม ต้มยํา ที่ให้รสหวาน เปรี้ยว หรือเผ็ด เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว อาหารหมักดอง ปลาส้ม แหนม อาหารแปรรูปจําพวกไส้กรอก กุนเชียง หมูหยอง และน้ำซุปต่าง ๆ หรือกินแต่น้อย
  • อ่านฉลากอาหารบนผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เพื่อจำกัดการกินอาหารที่มีโซเดียมสูง

      การกินเค็มอย่างแซ่บ อาจเป็นความชอบที่ทำให้รู้สึกอร่อยขึ้น แต่หากกินเค็มมากเกินไป กลับกลายเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น ควรใส่ใจในสิ่งที่กินแต่ละวัน ลดการกินอาหารที่มีโซเดียมสูง เลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และเริ่มปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้สมดุล เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และทำให้มีสุขภาพที่ดีในระยะยาว

แหล่งที่ข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ