กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

“ไม่อยากความดันสูง...เริ่มต้นยังไงดี ?”

fdccae553098d14decf523b65d0b3915

ความดันโลหิตสูง หนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โรคนี้ได้ชื่อว่าเป็น "ฆาตกรเงียบ" และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าจะสายเกินแก้ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน หรือเหนื่อยง่ายผิดปกติ และหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ยังเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงที่ตามมา เช่น อัมพฤกษ์-อัมพาต โรคหัวใจ และโรคไตเรื้อรังอีกด้วย

 7 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูง

  • อายุมากขึ้น ความดันเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
  • ความเครียดสะสม อารมณ์เครียดส่งผลให้ความดันเลือดพุ่งสูงผิดปกติ
  • พันธุกรรม ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ชอบกินเค็ม การกินเกลือหรืออาหารที่มีรสเค็มจัดเป็นประจำ
  • โรคประจำตัวเรื้อรัง เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือมีไขมันในเลือดสูง
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • นอนไม่พอ การนอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน จะเพิ่มความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

 

ไม่อยากความดันโลหิตสูง ? เริ่มต้นปรับชีวิตแบบง่าย ๆ ตามนี้เลย!

  1. เติมพลังด้วยผักและผลไม้ที่ใช่ เพิ่มโพแทสเซียมในเมนูของคุณ เช่น ฟักทอง บรอกโคลี ผักโขม มะเขือเทศ มะละกอ กล้วย มะม่วง ฝรั่ง เป็นต้น
  2. เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและเส้นใยอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ถั่วแดง เต้าหู้ และงา
  3. อ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำ
  4. ขยับตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที
  5. ลดน้ำหนัก สร้างสุขภาพใหม่ โดยลดหรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  6. จัดการกับความเครียด ฝึกการผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึก ๆ สมาธิบำบัด หรือโยคะ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  7. เลิกพฤติกรรมเสี่ยง ลด ละ เลิก แอลกอฮอล์และบุหรี่
  8. ลดความเค็มในอาหาร ชิมก่อนปรุง ลองใช้เครื่องเทศ เช่น มะนาว กะเพรา พริก ปรุงอาหารแทน
  9. ตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้

 

การเริ่มต้นดูแลสุขภาพอาจฟังดูยาก แต่เพียงเปลี่ยนแปลงทีละน้อย จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง และมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ “จำไว้เสมอว่า การป้องกันดีกว่าการรักษา และทุกการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ วันนี้ จะนำไปสู่สุขภาพที่ดีในวันข้างหน้า”

 

 

แหล่งข้อมูล :  สภากาชาดไทย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ