กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 45 รพ.เอกชน-คลินิก ต้องแสดงค่ารักษาพยาบาล

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 53 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 44 7 เรื่องคลินิกเอกชนโฆษณาได้

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 54 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 43 ตักบาตรสุขภาพ

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 59 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน บำบัดสุขภาพ ด้วยสมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือน

เผยแพร่ : 29 มีนาคม 2567 อ่าน : 51 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 111 อสม.คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 8 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ทำความรู้จัก...World Hearing Day

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 25 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 42 ไม่แสดงเลขที่อนุมัติโฆษณามีความผิดหรือไม่

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 9 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ฟื้นฟูร่างกาย ด้วยกายภาพบำบัด

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 12 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน ฝังเข็ม ศาสตร์แห่งการปรับสมดุล

เผยแพร่ : 21 มีนาคม 2567 อ่าน : 20 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 41 ให้ผลไม้สีแดงแทนความรัก

เผยแพร่ : 19 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 57 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน นวดแผนไทย ทางเลือกของการส่งเสริมสุขภาพ

เผยแพร่ : 19 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 76 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ ตอนที่ 40 คอมพิวเตอร์วิชั่น โรคฮิตของวัยทำงาน

เผยแพร่ : 19 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 64 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

“ยาลูกกลอน” อีกหนึ่งรูปแบบยาแผนโบราณ ที่เกิดจากการนำสมุนไพรมาบด แล้วนำผงยาที่ได้ มาคลุกเคล้ากับน้ำผึ้งจนยึดเกาะกัน ปั้นเป็นเม็ดกลม สมัยโบราณใช้วิธีตากแดดจนแห้งสนิทแล้วเก็บใส่ขวดโหลสามารถเก็บไว้กินได้นาน... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 188 ครั้ง บทความ

การรู้จักป้องกันโรคอย่างถูกวิธี จะช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ ความพอดี คือ  การสร้างความสมดุล ความเหมาะสม ร่างกายของเรามีกลไกในการปรับสมดุลเพื่อต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 48 ครั้ง บทความ

โรคเบาหวาน หลายๆ คนอาจคิดว่าเป็นได้เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ความจริงแล้วเบาหวานสามารถ    เกิดในเด็กได้เช่นกัน  ซึ่งเกิดจากการขาดอินซูลิน หรือการทำงานของอินซูลินบกพร่อง... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 62 ครั้ง บทความ

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies) ซึ่งพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะนำโรคสู่คน เช่น หมา แมว... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 65 ครั้ง บทความ

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญมากสำหรับร่างกาย เพราะมีหน้าที่ในการควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกาย   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบความคิด ความจำต่างๆ ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้นอาจจะเกิดความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างเนื้อเยื่อของสมองได้... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 20 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 68 ครั้ง บทความ

สุขภาพดี ด้วยสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ “สุขบัญญัติแห่งชาติ” เป็นแนวทางการปฏิบัติตนหรือการดูแลสุขภาพพื้นฐาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 13 ตุลาคม 2566 อ่าน : 6876 ครั้ง บทความ

กรม สบส. เพิ่มทักษะป้องกันอันตรายจากสารพิษ ส่งต่อชุดความรู้การป้องกันตัวจากสารเคมี ผ่าน “SMART อสม.”

180566_p22808 
  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
(กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ส่งต่อชุดความรู้ในการป้องกันกันตัวเมื่อสัมผัส หรือได้รับสารเคมีอันตรายอย่างไซยาไนด์ แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผ่านแอปพลิเคชัน “SMART อสม.” เพิ่มทักษะป้องกันเหตุอันตราย และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีอันตราย

     นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. ให้สัมภาษณ์ว่า จากกรณี ที่สื่อมวลชนมีการเผยแพร่ข้อมูลการพบผู้เสียชีวิตหลายรายจากสารเคมีอันตรายอย่างไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรม เช่น การสกัดแร่ ผลิตกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก ฯลฯ โดย ไซยาไนด์เป็นสารพิษที่มีฤทธิ์ร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์ จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ซึ่ง ณ ปัจจุบันประชาชนหลายคนอาจมองว่าตนคงไม่มีโอกาสสัมผัสหรือได้รับสารเคมีอันตรายอย่างไซยาไนด์เป็นแน่ เนื่องด้วย ตนไม่ได้อยู่ในกระบวนการอุตสาหกรรม แต่ต้องขอชี้แจงว่าไซยาไนด์นั้น มิได้พบเฉพาะในกระบวนการอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถพบได้ในธรรมชาติจากพืชบางชนิด อาทิ มันสำปะหลังดิบ หน่อไม้สด หรือถั่วบางชนิด และหากมีการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากก็อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น กรม สบส.จึงได้มีการพัฒนาชุดความรู้สำหรับการสื่อสารให้ความรู้ อสม. เรื่อง ไซยาไนด์ รู้ไว้ปลอดภัยกว่าเผยแพร่ผ่านแอปพลิเคชัน “SMART อสม.” เพื่อให้ อสม.ซึ่งเป็นหมอคนที่ 1 ที่มีความใกล้ชิดกับชุมชน ได้นำไปเพิ่มพูนทักษะในการป้องกัน ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นหากพบหรือสงสัยว่าประชาชนได้รับสารเคมีอันตรายอย่างไซยาไนด์

     นพ.สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ชุดความรู้สำหรับการสื่อสารให้ความรู้ อสม. เรื่อง ไซยาไนด์ รู้ไว้ปลอดภัยกว่าจะมุ่งเน้นการให้ความรู้แก่พี่น้อง อสม. ถึงลักษณะของไซยาไนด์ อาการ ความเสี่ยงในการรับสารพิษ ผ่านการกินอาหารตามธรรมชาติ หรือการสัมผัสโดยตรง และวิธีปฏิบัติตนเมื่อได้รับสารพิษ อาทิ หากผิวหนังสัมผัสกับไซยาไนด์ ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออก และให้ทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษให้ได้มากที่สุด แต่หากเป็นการสูดดมอากาศที่มีไซยาไนด์ปนเปื้อน ควรก้มต่ำลงบนพื้นและออกจากพื้นที่บริเวณนั้นโดยเร็ว เป็นต้น ซึ่งการเผยแพร่สื่อความรู้ผ่านแอปพลิเคชัน “SMART อสม.” ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกสถานที่ผ่านสมาร์ทโฟน จะทำให้ อสม.สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ และนำไปเผยแพร่บอกต่อชาวชุมชนเพื่อป้องกันตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ซึ่งแอปพลิเคชัน “สมาร์ท อสม.” นอกจากจะมีการเผยแพร่ชุดความรู้ในการดูแล ป้องกันตนเองจากภัยสุขภาพแล้ว ยังมีข่าวสารการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากกระทรวงสาธารณสุข ระบบส่งรายงาน และระบบสะสมผลงาน อสม. เพื่อแลกรับสิทธิประโยชน์ผ่านแอปพลิเคชันอีกด้วย จึงขอเชิญชวนให้พี่น้อง อสม.ที่ยังไม่ได้ดาวน์โหลด “SMART อสม.” ร่วมดาวน์โหลดและลงทะเบียนเข้าใช้งาน เพื่อเข้าถึงข่าวสาร ความรู้ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

1_p443742_p236573_p431884_p274815_p17149

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ