กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 117 น้ำท่วมบ้าน น้ำตาไม่ท่วม

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 33 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน การชำระค่าธรรมเนียมออนไลน์

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 31 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ สบส. ขอ talk ตอน รางวัลนวดไทยพรีเมี่ยม และ Thai world class spa ปี 2567

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 29 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ดื่มน้ำไม่ถึง...ถึงกับร่างพัง / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 29 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 76 ผู้สูงอายุห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 32 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน การพัฒนาศักยภาพครูฝึก อสม. เสริมสร้างสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็ง

เผยแพร่ : 06 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 53 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 75 การดูแลสุขภาพของพระสงฆ์

เผยแพร่ : 06 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 44 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ภาวะสมองเสื่อมหรือขี้ลืมกันแน่ / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 06 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 67 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 74 ปรุงเค็มถูกใจ เสี่ยงเจอโรคไตถามหา

เผยแพร่ : 30 ตุลาคม 2567 อ่าน : 48 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ชวน อสม. ปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค

เผยแพร่ : 30 ตุลาคม 2567 อ่าน : 67 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 73 ครรภ์เป็นพิษ ความเสี่ยงที่คุณแม่มีลูกช้าต้องเผชิญ

เผยแพร่ : 25 ตุลาคม 2567 อ่าน : 46 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน อสม.กับการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในช่วงอุทกภัย

เผยแพร่ : 25 ตุลาคม 2567 อ่าน : 68 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

  กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การกินอาหารที่มีรสจัด... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 19 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 92 ครั้ง บทความ

             ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 22 ตุลาคม 2567 อ่าน : 397 ครั้ง บทความ

  “พอด” หรือบุหรี่ไฟฟ้า มีสารเคมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีผลต่อสุขภาพผู้สูบและผู้ใกล้ชิด หนึ่งในสารเคมีอันตราย คือ “นิโคติน”... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 03 พฤษภาคม 2567 อ่าน : 2713 ครั้ง บทความ

  บุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร ? บุหรี่ไฟฟ้าหรือที่วัยรุ่นเรียกว่า “พอด” คือ อุปกรณ์การสูบชนิดหนึ่งที่ถูกนำไปใช้กับน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้า เป็นไอระเหยด้วยความร้อน... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 03 พฤษภาคม 2567 อ่าน : 489 ครั้ง บทความ

“ยาลูกกลอน” อีกหนึ่งรูปแบบยาแผนโบราณ ที่เกิดจากการนำสมุนไพรมาบด แล้วนำผงยาที่ได้ มาคลุกเคล้ากับน้ำผึ้งจนยึดเกาะกัน ปั้นเป็นเม็ดกลม สมัยโบราณใช้วิธีตากแดดจนแห้งสนิทแล้วเก็บใส่ขวดโหลสามารถเก็บไว้กินได้นาน... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 3387 ครั้ง บทความ

การรู้จักป้องกันโรคอย่างถูกวิธี จะช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ ความพอดี คือ  การสร้างความสมดุล ความเหมาะสม ร่างกายของเรามีกลไกในการปรับสมดุลเพื่อต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 อ่าน : 364 ครั้ง บทความ

กรม สบส. เตือนประชาชนร้อยละ 28 นิยมบริโภคอาหารดิบ เสี่ยงโรคพยาธิไข้หูดับ ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร อาจถึงขั้นเสียชีวิต 

29086501

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยผลสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารดิบ พบประชาชนร้อยละ 28 นิยมบริโภคอาหารดิบ โดยไม่ปรุงสุก ไม่ผ่านความร้อน เสี่ยงโรคพยาธิ ไข้หูดับ และติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร หากรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต  

          นายแพทย์ธเรศ  กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า กระแสการรับประทานอาหารดิบของคนไทยกำลังเป็นที่นิยม เชื่อว่าอาหารดิบมีความสดใหม่ น่ารับประทาน รสชาติเป็นที่ถูกปากสำหรับผู้ที่ชื่นชอบอาหารดิบ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยกองสุขศึกษาจึงได้เฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคอาหารดิบของประชาชน โดยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ และศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 – 12 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มีนาคม 2565 มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 113,847 คน ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชน      ร้อยละ 28 กินอาหารดิบอย่างน้อย 1 อย่าง โดยแบ่งเป็นอาหารดิบ แต่ละประเภท ดังนี้ 1) ประชาชนร้อยละ  22.2  นิยมกินอาหารทะเลดิบ เช่น ตำกุ้งสด ปลาหมึกช็อต ปลาแซลมอนซาซิมิ ยำปูทะเล 2) ประชาชนร้อยละ 10.9 นิยมกินสัตว์น้ำจืดดิบ เช่น ยำ/ตำ/ก้อย กุ้งฝอย ปลาดิบ ปูดิบ หอยดิบ  3) ประชาชนร้อยละ 7.3 นิยมกินเนื้อวัวดิบ เช่น ก้อยเนื้อ ซอยจุ๊ ก้อยมะนาว ลาบเลือด ส้มวัว และ 4) ประชาชนร้อยละ 5.9  นิยมกินเนื้อหมูดิบ เช่น ก้อยหมู หลู้หมู แหนมหมู จากผลการสำรวจพบว่าประชาชนยังคงนิยมรับประทาน อาหารดิบที่ไม่ผ่านการปรุงสุก ไม่ผ่านความร้อน หรือใช้ความร้อนในระยะเวลาอันสั้น เช่น ยำปูสด ส้มตำหลากหลายรูปแบบ ลาบหมู ก้อยเนื้อ รวมถึงอาหารประเภทยำต่างๆ  ที่มักจะลวกเนื้อสัตว์กึ่งดิบกึ่งสุก และเน้นรสชาติที่เผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค เสี่ยงต่อการเป็นพยาธิใบไม้ในปอด โดยเฉพาะการกินปูดิบ ๆ เข้าไปมีโอกาสกินไข่ หรือ ตัวอ่อนของพยาธิเข้าไปด้วย ซึ่งสามารถชอนไชเข้าไปในปอด ฟักตัว และมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ  1 เดือน ส่งผลให้มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด และในบางรายอาจทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้การรับประทานหมูดิบหรือสุกๆ ดิบๆ เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้หูดับได้เช่นเดียวกัน

          ด้านทันตแพทย์อาคม  ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ดังนั้นเพื่อป้องกันการเสี่ยงอันตรายจากการกินอาหารดิบประเภทต่าง ๆ ประชาชนจึงควรหันมาสร้างพฤติกรรมการกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด ผ่านความร้อนในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน ไม่ใช้เขียงของดิบและของสุกร่วมกัน และก่อนนำวัตถุดิบต่าง ๆ มาปรุงประกอบอาหาร ควรล้างน้ำให้สะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค สารเคมีตกค้าง และการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิดต้องปรุงสุกถึงข้างใน เพื่อไม่ให้เกิดโรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หูดับ และอันตรายถึงชีวิตได้

29086502

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ