- ข่าวประชาสัมพันธ์
- อ่าน: 1331
สธ.ยัน Hospitel มีมาตรฐาน จัดหาแล้วเกือบ 5,000 เตียง เพียงพอรองรับผู้ติดเชื้อโควิด 19
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ออกประกาศคุมมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ในคลินิกทั่วประเทศ ร่วมคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานถูกต้องตามกฎหมายกำหนด
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เตือนภัยโฆษณาชักชวนจองวัคซีนโควิด 19 ผ่านกลุ่มไลน์ Qinsong Group ชี้เข้าข่ายโฆษณาโอ้อวดเกินจริงเป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพ และทรัพย์สินของประชาชน แนะผู้ต้องการรับวัคซีนโควิด 19 เพิ่มไลน์ “หมอพร้อม” เพื่อติดตามข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่ถูกต้องจากภาครัฐ
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ตามที่ รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณในการจองและสั่งซื้อวัคซีนโควิด 19 จากบริษัทซิโนแวค ในระยะที่ 1 จำนวน 2 ล้านโดส กระจายฉีดใน 13 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ระบาดและ 5 จังหวัดพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ และในระยะต่อไปจะมีวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้า ซึ่งผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนส์ จำกัด มาเพิ่มเพื่อฉีดให้แก่ประชาชนทุกคนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายในปี 2564 แต่ก็อาจจะมีประชาชนบางรายที่ยังไม่ทราบถึงข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 ดังกล่าว ทำให้มีผู้ฉกฉวยโอกาสโฆษณาชักชวนประชาชนให้จองบริการฉีกวัคซีนโควิด 19 กับตน ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจากวัคซีนที่ยังไม่ดำเนินการรับรอง และเป็นการสิ้นเปลืองเงินทองโดยมิจำเป็น ด้วยการที่รัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนทุกคนได้รับวัคซีนโควิด 19 ฟรีอยู่แล้ว
นายแพทย์ธเรศฯ กล่าวต่อว่า ซึ่งล่าสุดกรม สบส.ก็พบเบาะแสการเปิดจองวัคซีนโควิด 19 ผ่านสื่อโซเชียล ในกลุ่มไลน์ Qinsong Group ซึ่งมีการอวดอ้างว่าวัคซีนของตนนั้นมีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ และสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ตนจึงมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรม สบส.เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงถึงแหล่งที่มาของกลุ่มไลน์ดังกล่าว จากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ และเจ้าหน้าที่ตำรวจในเบื้องต้นพบว่าข้อมูลการเปิดจองวัตซีนโควิดของกลุ่มไลน์ Qinsong Group เป็นข่าวปลอม (Fake News) อีกทั้งกลุ่มไลน์ดังกล่าวมิได้มีการจัดตั้งในประเทศไทย แต่หากกรม สบส.ตรวจพบว่าสถานพยาบาลเอกชนแห่งใดในประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มไลน์ดังกล่าว จะดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายโดยทันที ซึ่งการเปิดจองวัคซีนโควิด 19 และโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณว่าวัคซีนของตนนั้นสามารถสร้างถูมิคุ้มกัน 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับนั้น เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ในมาตรา 38 วรรค 1 ฐานไม่ขออนุมัติและได้รับอนุมัติให้โฆษณา ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา และมาตรา 38 วรรค 2 ฐานโฆษณาในลักษณะอันเป็นเท็จ โอ้อวดเกินความจริง และน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา
ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดทำแอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) “หมอพร้อม” เพื่อรองรับการให้บริการวัคซีน ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและหน่วยบริการ ในการลงทะเบียนผู้รับวัคซีน ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ ติดตามประเมินผลการให้วัคซีนจากหน่วยบริการทั่วประเทศได้อย่างครอบคลุม และเป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนที่ต้องการรับวัคซีนโควิด 19 กดเพิ่ม “หมอพร้อม” เป็นเพื่อนในไลน์ เพื่อตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับวัคซีน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้นำรายชื่อกลุ่มเป้าหมายแรกในการรับวัคซีนเข้าสู่ระบบหมอพร้อมแล้ว หากมีรายชื่อในระบบจะแสดงหน้าจอให้กดยืนยันการรับวัคซีน จากนั้นจะมีแบบประเมินคัดกรองก่อนรับวัคซีน เข้าสู่การนัดหมาย โดยสามารถเลือกสถานพยาบาล วันและเวลาในการรับวัคซีน
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงกรณีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เข้าสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น สามารถกระทำได้ เนื่องจาก อสม.มิได้เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น และไม่ได้รับเงินเดือนประจำ แต่ได้รับค่าป่วยการจากทางราชการ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น
จากกรณีที่มีการตั้งคำถามว่า อสม.ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการลือกตั้งสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 มาตรา 50(12) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือน และมาตรา 50(14) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือไม่ ตามที่ปรากฎในสื่อมวลชน
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าว กรม สบส. ขอชี้แจงว่า ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ.2554 ข้อ 3 อสม. หมายถึงบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากหมู่บ้านหรือชุมชน และผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่คณะกรรมกลางกำหนด และตามข้อ 22 ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็น อสม.พร้อมออกบัตรประจำตัว โดย อสม. จะมีหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน ดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ดูแลผู้ป่วยและเฝ้าระวังโรคในชุมชน และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 เห็นชอบตามยุทธศาสตร์และแผนงานเสริมสร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่งคงทางสังคม โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชิงรุก และกระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ข้อบังคับตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสิทธิได้รับเงินค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่ของ อสม. พ.ศ.2560 โดยข้อ 3 ค่าป่วยการ หมายถึงเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ อสม.เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่โดยมีหลักเกณฑ์ คือ ต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แน่นอนอย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์ หรืออย่างน้อย 4 วันต่อเดือนในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย และต้องมีการปฏิบัติงานจริง มีการรายงานผลปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงเข้าร่วมประชุมและอบรมเพิ่มพูนความรู้อย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อสม.ถือเป็นเพียงผู้มีจิตอาสา ที่ได้รับการคัดเลือกจากหมู่บ้านหรือชุมชน จึงไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นข้าราชการ หรือมีตำแหน่งเงินเดือนประจำของกระทรวงสาธารณสุข และไม่ถือเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐหรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามมาตรา 50(14) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ในส่วนของเงินที่ได้รับ เป็นเงินค่าสนับสนุนในการปฏิบัติงานเชิงรุกของ อสม.จากทางราชการ และเป็นการชดเชยในส่วนที่ อสม.ต้องจ่ายไปในการปฏิบัติงาน เช่น
ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์และอื่นๆ รวมทั้งค่าเสียโอกาสในการหารายได้จากการประกอบอาชีพประจำมาทำงานจิตอาสา ไม่ใช่เป็นเงินเดือนประจำ ซึ่งกรม สบส.ได้ส่งข้อหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกับกรม สบส.
นอกจากนี้ นพ.ธเรศ อธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอความร่วมมือ อสม. ออกรณรงค์เชิญชวนประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชนออกมาใช้สิทธิ เลือกคนดีเข้ามาบริหารท้องถิ่น และอสม.บางส่วนที่เป็นคณะกรรมการในหน่วยเลือกตั้ง ก็ควรปฏิบัติและวางตัวตามบทบาทหน้าที่ของกรรมการหน่วยเลือกตั้งอย่างเคร่งครัด และเน้นย้ำมาตรการข้อปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรคโควิด 19 ขณะออกมาใช้สิทธิ ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เว้นระยะห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร ตรวจวัดอุณหภูมิ และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ก่อนเข้าไปในที่เลือกตั้งและก่อนออกจากที่เลือกตั้ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
*************** 26 มีนาคม 2564
ยื่นใบสมัครได้ทาง https://esta.hss.moph.go.th/register_exam/ ได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร สั่งดำเนินคดีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โฆษณาเปิดจองวัคซีนโควิด 19 โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายสถานพยาบาล หวั่นสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ด้วยรัฐบาลตั้งเป้าให้ประชาชนทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ภายในปี พ.ศ.2564 เพื่อให้ประชาชนทุกคนใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงอาจมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง สร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชนได้ กรม สบส.ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรม สบส.เฝ้าระวังการโฆษณา หรือประกาศที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชนอย่างใกล้ชิด โดยในช่วงวันที่ 25 มีนาคม พนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ตรวจพบการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลโดยโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสาคร ถึงบริการรับจองฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จึงเร่งประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) สมุทรสาครตรวจสอบข้อมูลฯ โดยจากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่าโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าว ไม่ได้มีการขออนุมัติโฆษณาจากผู้อนุญาต และการโฆษณาให้เข้าใจผิด ตนจึงสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ประสานงานกับ สสจ.สมุทรสาคร แจ้งให้โรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวระงับการโฆษณาแล้วในวันที่ 27 มีนาคม พร้อมกับนำเรื่องเข้าคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี พิจารณาและดำเนินการทางกฏหมายต่อไป
ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า กรม สบส.ขอเน้นย้ำให้สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ศึกษาและปฏิบัติตามประกาศ เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล” อย่างเคร่งครัด โดยประกาศฯกำหนดให้การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความ เสียง หรือภาพ เพื่อการโฆษณาหรือประกาศอันเป็นประโยชน์ทางการค้าของสถานพยาบาล จะต้องขออนุมัติจากผู้อนุญาต คือ กรม สบส.หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเสียก่อนจึงจะเผยแพร่ได้ ซึ่งการกำหนดให้ต้องขออนุมัติโฆษณาหรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับสถานพยาบาลก่อนการเผยแพร่นั้นก็ถือว่าประโยชน์กับทั้งประชาชน และสถานพยาบาล หากโฆษณาผ่านการอนุมัติแล้วประชาชนก็จะมีความมั่นใจในการบริการของสถานพยาบาลว่ามิได้มีการโอ้อวดเกินจริง หรือหลอกลวง และสถานพยาบาลเองก็วางใจได้ว่าการโฆษณาหรือประกาศของตนนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดปัญหาการฟ้องร้อง หรือดำเนินคดีจากเจ้าหน้าที่ อีกทั้ง วัคซีนเป็นยา โฆษณาต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงายคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งขณะนี้ทาง อย.ก็มีคำสั่งให้ระงับโฆษณาตามพระราชบัญญัติยาแล้วเช่นเดียวกัน ส่วนการโฆษณาสถานพยาบาลโดยไม่ขออนุมัตินั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา
ทั้งนี้ หากประชาชนพบเบาะแสการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ของสถานพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพฯ สามารถแจ้งได้ทางสายด่วน กรม สบส. 1426 หรือหากอยู่ในส่วนภูมิภาคก็แจ้งได้ที่ สสจ.ในพื้นที่
อธิบดีกรม สบส.เผยกฎหมายใหม่กำหนด “พนักงานดูแลผู้สูงอายุ”ในกิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการฯทุกราย คาดว่าทั้งประเทศมีผู้ทำอาชีพนี้กว่า 28,000 ราย ขณะนี้ยื่นขอขึ้นทะเบียนแล้วกว่า 1,000 ราย ด้านรองอธิบดีฯ ชี้ผู้ให้บริการฯต้องขอขึ้นทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียนจบหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุฯ ก่อนที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ต้องรีบขอขึ้นทะเบียนภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 หากเลยกำหนดต้องเทียบเคียงหลักสูตรหรือต้องเรียนใหม่จากสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากกรม สบส.เท่านั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานในฐานะผู้ให้บริการสามารถดำเนินการต่อไปได้
หน้าที่ 46 จาก 51