กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

73116ac01da5a5ca5fc9142218be6ac0

โลว์คาร์บ (Low-Carb) คือ การจำกัดการกินคาร์โบไฮเดรตต่อวัน โดยกินคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่ต่ำ เพื่อลดปริมาณกลูโคสในกระแสเลือด ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่เก็บไว้มาเป็นพลังงานแทน นำไปสู่การช่วยลดน้ำหนัก ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงจากโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคหัวใจได้ ดังนั้นการกินแบบโลว์คาร์บจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน และการกินแบบโลว์คาร์บเพื่อสุขภาพดี สามารถทำได้ดังนี้

1429cb85707cb0df8788f2470255f378

คาร์โบไฮเดรต เป็น 1 ในอาหารหลัก 5 หมู่ พบมากในอาหารจำพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล และพืชหัว ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับร่างกาย โดยช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์สมอง และระบบประสาท ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และขาดการออกกำลังกาย อาจทำให้พลังงานส่วนเกินถูกแปรสภาพเป็นไขมันสะสม จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ในระยะยาวได้ ดังนั้น การเลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญ

e48d739a7f7b143d405926415d049bfb

 

           ความสะดวก สบาย ในการใช้ชีวิต ทำให้เราเคลื่อนไหวร่างกายและทำกิจกรรมน้อยลง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ คือ สาเหตุหลักของการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

กิจกรรมทางกาย คืออะไร ?

กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวร่างกายในทุกอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เช่น การนั่ง ยืน เดิน วิ่ง ทำงาน ส่วนการออกกำลังกาย เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางกาย โดยการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำ ๆ จากการวางแผนที่ชัดเจนและจำเพาะ

กิจกรรมทางกายของคุณ อยู่ในระดับใด ?

  • ระดับนิ่งเฉย คือ กิจกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น นั่งเฉย ๆ นั่งดูทีวี นอนหลับ นั่งประชุม นั่งขับรถ นั่งสวดมนต์
  • ระดับน้อย คือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ออกแรงน้อย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เดินระยะทางสั้น ๆ ล้างจาน พับผ้า โยคะ รดน้ำต้นไม้ ยืนบนรถโดยสาร
  • ระดับปานกลาง คือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยปานกลาง หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้น หน้าแดงมีเหงื่อซึม ยังสามารถพูดเป็นประโยคได้ เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน เดินขึ้นลงบันได ทำสวน
  • ระดับหนักคือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก หน้าแดงและมีเหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็วมาก จนไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ เช่น ขัดห้องน้ำ ยกของหนัก วิ่งเร็ว ว่ายน้ำเร็ว กระโดดเชือก ปั่นจักรยานเร็วระยะไกล

ทำกิจกรรมทางกายอย่างไร ให้เหมาะสมกับช่วงวัย

  • เด็กและเยาวชน (อายุ 5-17 ปี) ควรทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงระดับหนัก สะสมให้ได้ อย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน เช่น กิจกรรมนันทนาการ เล่นกีฬา พละศึกษา กิจกรรมในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
  • ผู้ใหญ่ (อายุ 18-59 ปี) ควรทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายระดับหนักอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์
  • ผู้สูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)ควรทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายระดับหนักอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์

         การทำกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ควรทำต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไป ที่ระดับปานกลางถึงระดับหนัก สำหรับผู้ที่มีกิจกรรมทางกายน้อย ควรเพิ่มกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น การลุกขึ้นยืน หรือขยับเคลื่อนไหวร่างกายจากการนั่งทำงานทุก 1-2 ชั่วโมง การเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ การใช้ขนส่งสาธารณะ และออกกำลังกายด้วยการเดิน แต่หากไม่เคยทำมาก่อน ควรเริ่มจากกิจกรรมที่เบาไปหาหนัก และจากช้าไปเร็ว ควบคู่กับการกินอาหารที่มีคุณค่า ครบ 5 หมู่ และหลากหลายก็จะช่วยให้มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

 แหล่งข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

 

19 พฤศจิกายน 2567

8af19b1e11552043d437070e2781bbb0

การมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด อาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจในระยะยาว เช่น การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดี มีสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ “ความเชื่อผิด ๆ เรื่องเพศสัมพันธ์” ที่ควรหลีกเลี่ยง ดังนี้

 

bfdc3940d6a2d63e77063861b16fb9cd

 

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การกินอาหารที่มีรสจัด การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การสูบบุหรี่จัด รวมถึงการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ โดยอาการในกลุ่มโรค NCDs นี้ จะไม่ป่วยโดยทันที แต่จะค่อย ๆ สะสมจนเกิดโรคในอนาคต ซึ่งกลุ่มโรค NCDs ที่มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง

adee56fda6e13fa5afc23a251ed6b04c

 

วันตรุษจีนถือเป็นวันรวมญาติ และไหว้บรรพบุรุษเพื่อเสริมโชคลาภและสุขภาพ การเลือกอาหารไหว้ควรคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เราจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ทุกคน ในครอบครัวได้เฉลิมฉลองอย่างมีความสุขและสุขภาพดี

 

466044e55f279d94238620c897ad5fb6

                พฤติกรรมการกลั่นแกล้ง หรือบูลลี่ (Bully) เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ถูกระทำได้รับความเดือดร้อนทางกายและจิตใจ เกิดการสั่งสมความกลัว ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง และอาจก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการเข้าสังคมตามมา ลักษณะของการถูกบลูลี่นั้น มี 4 ประเภท ดังนี้

 d692c8f5596f2fb2a94582e055bc139f

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

สาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพ มาจากการละเลยในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง การตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยงและความผิดปกติของร่างกายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม และช่วยให้แพทย์ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม ลดความสูญเสียทั้งด้านสุขภาพ และด้านการเงิน

 

5b2f31be1eec3c49ad59d9be49797154

 

“พอด” หรือบุหรี่ไฟฟ้า มีสารเคมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีผลต่อสุขภาพผู้สูบและผู้ใกล้ชิด หนึ่งในสารเคมีอันตราย คือ “นิโคติน” ซึ่งมีผลต่อเด็กและเยาวชนทั้งร่างกาย และจิตใจ โดยนิโคติน  ทำให้เกิดการเสพติดและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสมองที่กำลังพัฒนาของเด็ก ในด้านจิตใจ ทำให้ควบคุมอารมณ์ได้น้อยลง ส่วนด้านสังคม ทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ขาดสมาธิ และสมรรถนะ  ในการเรียนรู้ เด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าจะนำไปสู่การเสพยาเสพติดชนิดร้ายแรง ดังนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือคนใกล้ชิด ต้องช่วยกันเฝ้าระวังภัย จากบุหรี่ไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นกับลูกหลานท่านได้        โดยสามารถปฏิบัติได้ ตามวิธีต่อไปนี้

  1. สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนในครอบครัว
  • ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน ไม่สูบบุหรี่ในที่ใกล้ตัวเด็ก เพราะเด็กจะได้รับไอหรือควันจากบุหรี่ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กด้วยการไม่สูบบุหรี่ เพราะผลจากการวิจัยพบว่าลูกที่พ่อแม่สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่ ก็จะสูบตามด้วย
  1. สอดแทรกความรู้
  • ให้ความรู้กับเด็กเมื่อพบเห็นโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าทางสื่อต่าง ๆ เพราะเด็กอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับการโฆษณาจากสื่อ
  • ชี้แนะเรื่องอันตรายจากสารนิโคติน และสารเคมีก่อโทษ ผลเสียของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ที่ส่งผล ต่อสุขภาพในระยะยาว
  • ฝึกให้เด็กรู้จักคิด ตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญขึ้น เช่น ไม่ไปเกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า ไม่เข้ากลุ่มเพื่อนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า
  1. ดูแลช่วยเหลือ
  • ผู้ปกครอง หรือคนใกล้ชิดต้องรู้จักรูปลักษณ์ ผลิตภัณฑ์ของบุหรี่ไฟฟ้า โดยสังเกตสิ่งที่มีลักษณะ เป็นหลอดดูด มีกลิ่นหอม อาจตรวจสอบดูจากอุปกรณ์การเรียนหรือของเล่น
  • สร้างบรรยากาศภายในบ้านให้อบอุ่น พูดคุยและรับฟังลูกหลานบ้าง ในเรื่องที่เด็กต้องเรียนรู้และรับมือ เช่น มีเพื่อนสูบบุหรี่ไฟฟ้า จากนั้นจึงค่อยให้ข้อมูลและความรู้เพิ่มเติม
  • ทำความรู้จักกับเพื่อนลูก ว่ามีใครสูบบุหรี่ไฟฟ้าหรือติดยาเสพติด พยายามตักเตือน ห้ามปราบ แจ้งผู้ปกครองของเพื่อนลูกที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า และให้ความรู้เรื่องโทษและภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • เมื่อรู้ว่าเด็กสูบบุหรี่ไฟฟ้า ควรพูดคุยด้วยดีเพื่อหาทางออกร่วมกัน ให้กำลังใจในการพยายามเลิก และหากิจกรรมให้เด็กทำ

ความรัก ความเข้าใจ ช่วยสร้างความอบอุ่นในครอบครัว เมื่อเด็กอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ พ่อแม่ไม่ควรปล่อยปละละเลยให้เด็กไปพึ่งพาบุหรี่ไฟฟ้าที่จะนำไปสู่สิ่งเสพติดชนิดอื่น ๆ      เพื่อคลายเครียดหรือแก้ปัญหาด้วยตนเอง ควรเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกหลานผ่านพ้นช่วงเวลาที่ต้องต่อสู้กับความหลงผิดไปให้ได้ ดังนั้น เมื่อพ่อ แม่ ผู้ปกครอง          หรือคนใกล้ชิด ช่วยกันเฝ้าระวัง เป็นแบบอย่างที่ดี คอยให้คำแนะนำ ให้ความรู้ และดูแลช่วยเหลือ ก็จะทำให้ลูกหลานของท่านปลอดภัยจากอันตรายของสารนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า

 

แหล่งข้อมูล :       1)  ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)    2)  มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่       22 เมษายน 2567

 

หน้าที่ 2 จาก 4

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ