- ข่าวประชาสัมพันธ์
- อ่าน: 357
กรม สบส. ชูงานพระราชดำริ หนุน อสม. ร่วมต้านโรคขาดสารไอโอดีน ในหญิงตั้งครรภ์
กรม สบส. ชูงานพระราชดำริ หนุน อสม. ร่วมต้านโรคขาดสารไอโอดีน ในหญิงตั้งครรภ์
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เผยผลพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า/พอตของเยาวชนไทย พบ สูบร้อยละ 18.60 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และพบความเข้าใจผิดว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้สามารถเลิกบุหรี่มวนได้ และนิโคตินส่งผลดีต่อร่างกาย
นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสังคมไทย และสังคมโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งใหม่ๆ ซึ่งจากผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า/พอต ของเยาวชนไทย จำนวน 40,164 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 – 27 พฤษภาคม 2567 โดยกองสุขศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร พบว่า เยาวชนไทยอายุระหว่าง 6-30 ปีมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 18.60 เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชายสูบบุหรี่ไฟฟ้าสูงที่สุด ร้อยละ 21.49 รองลงมา LGBTQ+ ร้อยละ 19.73 และเพศหญิง ร้อยละ 16.22 เมื่อสอบถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของเยาวชน พบว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า คือ เข้าใจว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้สามารถเลิกบุหรี่มวนได้ ร้อยละ 61.23เข้าใจว่านิโคตินส่งผลดีต่อร่างกาย ร้อยละ 51.19 เข้าใจว่าน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีส่วนผสมของนิโคติน ร้อยละ 26.28 เข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย ร้อยละ 23.28 และเข้าใจว่าควันบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย ร้อยละ 12.53 นอกจากนี้เยาวชนยังมีความเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้า/พอต อันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน ร้อยละ 50.2 อีกด้วย
นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า จากผลการสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าเยาวชน ยังขาดความรู้ และความตระหนักถึงผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและยังมีความเชื่อที่ผิด เพราะในบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเสพติดที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ส่งผลเสียต่อระบบหายใจ ระบ[หลอดเลือดสมอง ระบบประสาทและสมองและอื่นๆ กรม สบส. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่เด็กและเยาวชน จึงได้ส่งเสริมให้ ยุว อสม.ทำหน้าที่เป็นพลังในการสื่อสารให้เด็กและเยาวชน มีความตระหนักรู้ เตือนภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยใช้แนวทางการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อที่ 5 งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และสารเสพติด เพื่อป้องกันเยาวชนให้ห่างไกลจากบุหรี่ไฟฟ้า และลดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ อันจะนำไปสู่ยาเสพติดชนิดร้ายที่เพิ่มขึ้น
*********************** 25 มิถุนายน 2567
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ชวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ร่วมใจทำความดีปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางทั่วไทย 7,423 ตำบล ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. ให้สัมภาษณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2567 นี้ ซึ่งรัฐบาลเตรียมจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 กรม สบส. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. และอสส. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือ ดูแล และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเปราะบางทั้งผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้พิการที่ไม่อาจหลบหนีภัยได้ และผู้ป่วยติดเตียง ให้สามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง จึงจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ 6 รอบ 72 พรรษา อสม.ทั่วไทย ร่วมใจปักหมุดผ่านแอป “พ้นภัย” เพื่อกลุ่มเปราะบาง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมุ่งให้ อสม. ซึ่งเป็นหมอคนที่ 1 ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานและการรายงานผลการดำเนินการปักหมุดพิกัดที่อยู่กลุ่มเปราะบางผ่านแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” ให้ครอบคลุม 7,423 ตำบลทั่วประเทศ (76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร) เพื่อให้ได้รับการดูแลทั้งภาวะปกติ เจ็บป่วย หรือประสบภัยพิบัติ โดยปัจจุบัน ทั่วประเทศมีการปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางแล้วทั้งสิ้น จำนวน 4,997 ตำบล (ร้อยละ 67.32) โดยในระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2567 กรม สบส. จะเดินหน้ากระตุ้น ติดตามความก้าวหน้า เชิญชวน พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจด้วยการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับพี่น้อง อสม. ที่ร่วมปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางให้ครบอีก 2,426 ตำบล (ร้อยละ 32.68) ภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
“เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา กรม สบส. ขอเชิญชวนพี่น้อง อสม. อสส. ทั่วประเทศ มารวมพลังร่วมกิจกรรมปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางผ่านแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” ให้ครบถ้วนทุกตำบลทั่วประเทศ 7,423 ตำบล ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10” นายแพทย์สุระฯ อธิบดีกรม สบส. กล่าว
********************* 28 พฤษภาคม 2567
กรม สบส. ร่วมกับ ธปท. จัดประชุมชี้แจงการเก็บแบบสำรวจข้อมูลสถานพยาบาลในเชิงเศรษฐกิจสุขภาพ รองรับนโยบาย Medical Hub ปี 2566
กรม สบส.จับมือ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล เปิดโควตาให้ยุว อสม.เข้าศึกษาต่อหลักสูตรด้านทันตกรรม
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข จับมือคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและพัฒนายุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) เพื่อเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ยุว อสม. เข้าศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษในหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ และหลักสูตรวิชาชีพช่างทันตกรรม
นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ศาสตราจารย์คลินิก ดร.นพ.ทพ.ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและพัฒนา
ยุวอาสาสมัครสาธารณสุขระหว่างกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ กรม สบส. เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า กรม สบส. ได้ดำเนินงานส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน
เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างสุขภาพ ให้มีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อป้องกันปัญหาสาธารณสุข โดยได้พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นยุว อสม. เป็นต้นแบบและเป็นผู้นำด้านจิตอาสาในการสื่อสารสุขภาพ การดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และสังคม ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับยุว อสม. กรม สบส. จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
การส่งเสริมและพัฒนา ยุวอสม. ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดโควตาให้แก่ยุว อสม. ที่มีความสนใจด้านทันตกรรมได้เข้าศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างทันตกรรม (หลักสูตร 2 ปี) และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ชั้นสูง (หลักสูตร 2 ปี) โดยบันทึกข้อตกลงดังกล่าว มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี ตั้งแต่
ปี 2567 – 2572
“ ยุว อสม.ถือเป็นฟันเฟืองสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นอีกพลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกวัย ซึ่งปัจจุบันเรามี ยุว อสม. จำนวน 20,020 คนทั่วประเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นจิตอาสาด้านสุขภาพ ช่วยให้งานสาธารณสุขของประเทศ มีความมั่นคงและเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” นพ.สุระ อธิบดีกรม สบส.กล่าว
นพ.สุระ อธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการลงนามในครั้งนี้ กรม สบส. มีบทบาทในการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพยุว อสม. 4 ประเด็นหลัก คือ 1.กำหนดเกณฑ์ และรับรองยุว อสม.ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เพื่อรับรองสนับสนุน
ด้านการศึกษาต่อและการสร้างแรงจูงใจอื่นๆ 2.ร่วมพัฒนาหลักสูตรการจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านสุขศึกษาและการพัฒนาพฤติกรรม การสื่อสาร 3.สนับสนุนแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขศึกษาและการพัฒนาพฤติกรรมและทักษะชีวิตที่จำเป็นแก่ ยุว อสม. ที่เป็นแกนนำเด็กและเยาวชน และ 4. แลกเปลี่ยนหรือใช้ข้อมูลความรู้ กิจกรรมหรือหลักสูตรของหน่วยงานระหว่างกันผ่าน Platform online และ Offline ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
******************** 24 พฤษภาคม 2567
กรม สบส. สั่งสอบเข้มหลังพบเอกสารประวัติผู้ป่วยหลุดไปเป็นถุงขนม เตือน รพ.เอกชนทุกแห่ง ปฎิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานพยาบาล และ PDPA
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดย กองวิศวกรรมการแพทย์ กำหนดจัดการอบรมหลักสูตรการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2567 รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม 2567- 1 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดสงขลา จึงขอเชิญข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยุสื่อสารสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนได้ที่ https://medi.moph.go.th/metc/
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมูลนิธิกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดหลักสูตรอบรม Medical Hub Executive Program 2024 รุ่น 1 เสริมศักยภาพผู้บริหาร และผู้ประกอบการที่มีความสนใจในการแข่งขันด้านธุรกิจสุขภาพ ร่วมผลักดันอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพไทยสู่เวทีโลก
หน้าที่ 11 จาก 56