กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

ebb66614001cd0210d2ea51642139168

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดย กองวิศวกรรมการแพทย์ กำหนดจัดการอบรมหลักสูตรการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2567 รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม 2567- 1 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดสงขลา จึงขอเชิญข้าราชการ  พนักงานราชการ ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยุสื่อสารสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนได้ที่ https://medi.moph.go.th/metc/ 

กรม สบส.ชวน อสม. ร่วมใจทำความดีปักหมุดกลุ่มเปราะบางทั่วไทย รับปีมหามงคล

0cd3f753fe6d0161f2d4add2c0a0befd

             กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ชวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ร่วมใจทำความดีปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางทั่วไทย 7,423 ตำบล ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

       นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. ให้สัมภาษณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2567 นี้ ซึ่งรัฐบาลเตรียมจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 กรม สบส. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. และอสส. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือ ดูแล และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเปราะบางทั้งผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้พิการที่ไม่อาจหลบหนีภัยได้ และผู้ป่วยติดเตียง ให้สามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง จึงจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ 6 รอบ 72 พรรษา อสม.ทั่วไทย ร่วมใจปักหมุดผ่านแอป “พ้นภัย” เพื่อกลุ่มเปราะบาง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมุ่งให้ อสม. ซึ่งเป็นหมอคนที่ 1 ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานและการรายงานผลการดำเนินการปักหมุดพิกัดที่อยู่กลุ่มเปราะบางผ่านแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” ให้ครอบคลุม 7,423 ตำบลทั่วประเทศ (76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร) เพื่อให้ได้รับการดูแลทั้งภาวะปกติ เจ็บป่วย หรือประสบภัยพิบัติ  โดยปัจจุบัน ทั่วประเทศมีการปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางแล้วทั้งสิ้น จำนวน 4,997 ตำบล (ร้อยละ 67.32) โดยในระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2567 กรม สบส. จะเดินหน้ากระตุ้น ติดตามความก้าวหน้า เชิญชวน พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจด้วยการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับพี่น้อง อสม. ที่ร่วมปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางให้ครบอีก 2,426 ตำบล (ร้อยละ 32.68) ภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา

                “เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา กรม สบส. ขอเชิญชวนพี่น้อง อสม. อสส. ทั่วประเทศ มารวมพลังร่วมกิจกรรมปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางผ่านแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” ให้ครบถ้วนทุกตำบลทั่วประเทศ 7,423 ตำบล ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10” นายแพทย์สุระฯ อธิบดีกรม สบส. กล่าว

********************* 28 พฤษภาคม 2567

3643a426c6b59a0a7c4871efd62a671e

กรม สบส. เผยประชาชน ร้อยละ 65 นิยมกินอาหารปรุงไม่สุก สุ่มเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับและโรคหูดับ พบเมนูยอดฮิต “ส้มตำใส่ปลาร้าดิบ ก้อยกุ้ง”

6eee430578ffd87816b8ad3446f9e594

 

         กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจพบประชาชนมีพฤติกรรมการกินอาหารปรุงไม่สุกจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู สัตว์น้ำจืด และสัตว์ทะเล สูงถึง ร้อยละ 65.77 โดยมีเมนูยอดฮิตที่กินมากที่สุด คือ ส้มตำปลาร้าดิบ ก้อยกุ้ง แหนมหมู ซึ่งพฤติกรรมการกิน เช่นนี้สุ่มเสี่ยงเกิดโรคจากพยาธิใบไม้ตับ หรือ โรคหูดับได้ แนะปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ กินอาหารปรุงสุก ปลอดภัย ปลอดโรค

         นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ ระหว่างวันที่ 13 – 29 กุมภาพันธ์ 2567 ในกลุ่มวัยทำงาน โดยกองสุขศึกษา กรม สบส. ร่วมกับเครือข่ายเฝ้าระวังพฤติกรรมผ่านระบบออนไลน์ พบว่า ผู้ตอบแบบเฝ้าระวังฯ จำนวน 16,517 ราย เป็นประชากรภาคอีสาน ร้อยละ 58.50 ภาคเหนือ ร้อยละ 19.17 ภาคกลาง ร้อยละ 17.42 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 3.49 และภาคใต้ ร้อยละ 1.40 ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 48.45 มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ดิบ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู สัตว์น้ำจืด และสัตว์ทะเล ร้อยละ 65.77 พื้นที่ที่มีความชุกของพฤติกรรมการกินอาหารปรุงไม่สุกมากที่สุด คือ ภาคอีสาน ร้อยละ 77.14 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 67.32 โดย 5 เมนูยอดฮิตพบว่านิยมกินมากที่สุด ได้แก่ ส้มตำใส่ปลาร้าดิบ ร้อยละ 45.47 รองลงมาปลาร้าบองดิบ ร้อยละ 35.10 ก้อยกุ้งฝอยดิบ 34.76 แหนมหมูดิบ 31.73 และลาบก้อยวัวดิบ ร้อยละ 28.70 อีกทั้ง คนที่มีความเชื่อว่าเนื้อดิบอร่อยกว่าเนื้อสุกจะมีโอกาสกินเนื้อดิบเป็น 4.21 เท่าของคนที่ไม่เชื่อในรสชาติดังกล่าว และการที่เคยเห็นคนดัง คนมีชื่อเสียงกินเนื้อดิบผ่านสื่อต่างๆ จะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ โดยมีโอกาสที่จะกินเนื้อดิบตามเป็น 1.34 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่เคยเห็น ซึ่งกรม สบส.จะมอบหมายให้กองสุขศึกษาดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) แก่ประชาชนในระดับบุคคล ให้เกิดความเข้าถึง เข้าใจในข้อมูลสุขภาพ สามารถนำข้อมูลไปใช้ดูแลและรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงตามช่วงวัยต่างๆ ทำให้สามารถประกอบกิจกรรมและการงานได้อย่างเข้มแข็ง

         ด้าน นพ.สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า นอกจากประเด็นในด้านความเชื่อข้างต้นแล้ว จากผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมฯ ยังพบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกินอาหารปรุงไม่สุกของประชาชน อาทิ หากมีคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวที่กินเนื้อสัตว์ดิบ จะมีโอกาสกินมากกว่าผู้ที่ไม่มีคนใกล้ชิดกิน ถึง 4.18 เท่า รวมถึงความเชื่อว่าการบีบน้ำมะนาวและขยำกับเนื้อสัตว์จนซีดจะทำให้สุกได้ และการกินยาถ่ายพยาธิทุกปี จะทำให้ปลอดภัยจากโรคพยาธิได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจและยังมีความเชื่อในเรื่องการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง เพราะการกินอาหารปรุงไม่สุกก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ หรือโรคหูดับ ที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น เพื่ออนามัยที่ดีลดเสี่ยงปัญหาสุขภาพ กรม สบส. ขอแนะนำให้ประชาชนปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ ในข้อ 3 คือการล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งให้สะอาดก่อนและหลังปรุงอาหาร และกินอาหาร และข้อ 4 กินอาหารสุกสะอาด ปราศจากสารอันตราย ควรกินอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส และมากกว่า 2 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อโรค และใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกัน ********** 29 เมษายน 2567

 

93d6f5f4bc0a8c88ed478119a6c18935

กรม สบส.จับมือ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล เปิดโควตาให้ยุว อสม.เข้าศึกษาต่อหลักสูตรด้านทันตกรรม

 23fc4a0a4ac8d31601d18088a0bd672e

                กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข จับมือคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและพัฒนายุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) เพื่อเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ยุว อสม. เข้าศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษในหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ และหลักสูตรวิชาชีพช่างทันตกรรม

                นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ศาสตราจารย์คลินิก ดร.นพ.ทพ.ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและพัฒนา
ยุวอาสาสมัครสาธารณสุขระหว่างกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ กรม สบส. เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

                นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า กรม สบส. ได้ดำเนินงานส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน
เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างสุขภาพ ให้มีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อป้องกันปัญหาสาธารณสุข โดยได้พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นยุว อสม. เป็นต้นแบบและเป็นผู้นำด้านจิตอาสาในการสื่อสารสุขภาพ การดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และสังคม ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับยุว อสม. กรม สบส. จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
การส่งเสริมและพัฒนา ยุวอสม. ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  เปิดโควตาให้แก่ยุว อสม. ที่มีความสนใจด้านทันตกรรมได้เข้าศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างทันตกรรม (หลักสูตร 2 ปี) และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ชั้นสูง (หลักสูตร 2 ปี) โดยบันทึกข้อตกลงดังกล่าว มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี ตั้งแต่
ปี 2567 – 2572

                “ ยุว อสม.ถือเป็นฟันเฟืองสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นอีกพลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกวัย ซึ่งปัจจุบันเรามี ยุว อสม. จำนวน 20,020 คนทั่วประเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นจิตอาสาด้านสุขภาพ ช่วยให้งานสาธารณสุขของประเทศ มีความมั่นคงและเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” นพ.สุระ อธิบดีกรม สบส.กล่าว

                นพ.สุระ อธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการลงนามในครั้งนี้ กรม สบส. มีบทบาทในการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพยุว อสม. 4 ประเด็นหลัก คือ 1.กำหนดเกณฑ์ และรับรองยุว อสม.ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เพื่อรับรองสนับสนุน
ด้านการศึกษาต่อและการสร้างแรงจูงใจอื่นๆ 2.ร่วมพัฒนาหลักสูตรการจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านสุขศึกษาและการพัฒนาพฤติกรรม การสื่อสาร 3.สนับสนุนแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขศึกษาและการพัฒนาพฤติกรรมและทักษะชีวิตที่จำเป็นแก่ ยุว อสม. ที่เป็นแกนนำเด็กและเยาวชน และ 4. แลกเปลี่ยนหรือใช้ข้อมูลความรู้ กิจกรรมหรือหลักสูตรของหน่วยงานระหว่างกันผ่าน Platform online และ Offline ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

                                                                                                                                                   ********************  24 พฤษภาคม 2567

5ca4fbee556bb42647af77be232b1ea3

8e22f5e3dcf135680e0002ed29b3f6ee

a3ac22d65a252b023a6173acf8c2e2d6

 

  0832b6a418305666e78266c6d4991f9f

 

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมูลนิธิกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดหลักสูตรอบรม Medical Hub Executive Program 2024 รุ่น 1 เสริมศักยภาพผู้บริหาร และผู้ประกอบการที่มีความสนใจในการแข่งขันด้านธุรกิจสุขภาพ ร่วมผลักดันอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพไทยสู่เวทีโลก

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพในช่วงสงกรานต์ พบประชาชนวางแผนที่จะเดินทาง ร้อยละ 75.5
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 33.8 ไปสถานที่เสี่ยง ร้อยละ 24.7 และทำทั้ง 3 พฤติกรรม ร้อยละ 12.9

f5e3968c4b656690f939f4d2cc901732

หน้าที่ 6 จาก 51

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ