กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

สื่อมัลติมีเดีย

เรื่อง Low carb คุมน้ำหนักด้วยการลดแป้ง

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 125 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 118 NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 62 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 77 ต่อมไขมันเปลือกตาอุดตัน

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 35 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน สิ่งที่ประชาชนควรรู้ในการรับบริการจากสถานพยาบาล

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 31 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

อาหารบำรุงสมอง ชะลอภาวะเสื่อม / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 42 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ สบส. ขอ talk ตอน NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม.

เผยแพร่ : 07 มกราคม 2568 อ่าน : 39 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

คุยลั่นสนั่นซอย 8 ตอนที่ 117 น้ำท่วมบ้าน น้ำตาไม่ท่วม

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 66 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน การชำระค่าธรรมเนียมออนไลน์

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 65 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ สบส. ขอ talk ตอน รางวัลนวดไทยพรีเมี่ยม และ Thai world class spa ปี 2567

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 84 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

ดื่มน้ำไม่ถึง...ถึงกับร่างพัง / HAPPY PLACE

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 69 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

วิถีใหม่สไตล์เฮลท์ตอนที่ 76 ผู้สูงอายุห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs

เผยแพร่ : 28 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 61 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

รายการ Exclusive Health Talk ตอน การพัฒนาศักยภาพครูฝึก อสม. เสริมสร้างสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็ง

เผยแพร่ : 06 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 84 ครั้ง สื่อมัลติมีเดีย

บทความ

  วันตรุษจีนถือเป็นวันรวมญาติ และไหว้บรรพบุรุษเพื่อเสริมโชคลาภและสุขภาพ การเลือกอาหารไหว้ควรคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เราจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ทุกคน                   ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 242 ครั้ง บทความ

  ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี สาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพ มาจากการละเลยในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง การตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยงและความผิดปกติของร่างกายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 09 มกราคม 2568 อ่าน : 85 ครั้ง บทความ

             ความสะดวก สบาย... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 03 มกราคม 2568 อ่าน : 81 ครั้ง บทความ

  กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การกินอาหารที่มีรสจัด... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 19 พฤศจิกายน 2567 อ่าน : 222 ครั้ง บทความ

             ... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 22 ตุลาคม 2567 อ่าน : 901 ครั้ง บทความ

  “พอด” หรือบุหรี่ไฟฟ้า มีสารเคมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีผลต่อสุขภาพผู้สูบและผู้ใกล้ชิด หนึ่งในสารเคมีอันตราย คือ “นิโคติน”... อ่านต่อ...

เผยแพร่ : 03 พฤษภาคม 2567 อ่าน : 3367 ครั้ง บทความ

สบส. สนธิกำลัง บก.ปคบ. และ อย.บุกทลายสถานปฏิบัติธรรม อวดอ้างรักษาสารพัดโรคเรื้อรังหายขาดในไม่กี่เดือน

a3e6683af5ec96f49f52beaffe9a32de

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) สนธิกำลังตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก.4 บก.ปคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) บุกสถานปฏิบัติธรรม อวดอ้างสรรพคุณรักษาสารพัดโรค ทั้งโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจให้หายขาดได้ใน 1-3 เดือน รวบผู้ต้องหา 6 ราย พร้อมแจ้งข้อหากระทำผิดกฎหมายหลายกระทง อาทิ หมอเถื่อน คลินิกเถื่อน จำหน่ายยาสมุนไพรเถื่อน ฯลฯ

นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า จากกรณีที่ กรม สบส.ได้รับการประสานจาก กก.4 บก.ปคบ. ให้ร่วมตรวจสอบสถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ ณ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยสถานปฏิบัติธรรมดังกล่าว มีพฤติกรรมในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียล โพสต์รูปภาพ คลิปวิดีโอการรักษาโรค และข้อความอันสื่อให้เข้าใจว่าสามารถรักษาโรคเบาหวาน หรือโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งให้หายขาดในระยะเวลา 1-3 เดือน อีกทั้ง มีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรของสถานปฏิบัติธรรมว่าสามารถรักษา และบรรเทาอาการได้สารพัดโรค ตนจึงสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกองกฎหมาย กรม สบส. ร่วมสนธิกำลังกับ กก.4 บก.ปคบ. และ อย. เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยพบว่าสถานปฏิบัติธรรมดังกล่าว มีพระภิกษุซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดำเนินการตรวจรักษาโรคแก่ประชาชน โดยใช้วิธีการตรวจรักษาที่มิใช่วิธีการตามหลักวิชาการทางการแพทย์ เช่น การใช้มือสัมผัสตัวและนำหินมาวนบริเวณส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค หรือการใช้เข็มลักษณะคล้ายเข็มเย็บผ้าแทงไปตามจุดต่างๆของร่างกาย เพื่อให้เลือดออกมาจากรอยเจาะ จากนั้นใช้แท่งเหล็กถูวนบริเวณแผลที่มีเลือดออก ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ และพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ จึงแสดงตัวเข้าจับกุมและแจ้งข้อหาการกระทำผิดกับผู้ต้องหา 6 ราย ในเบื้องต้น ประกอบด้วย 1)พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ฐาน “ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยไม่ได้รับอนุญาต” 2)พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ฐาน “ร่วมกันประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต และดำเนินกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต” 3)ประมาลกฏหมายอาญา ฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาน” 4)พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 ฐาน “ร่วมกันขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต”, “ร่วมกันขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับ”, “ร่วมกันโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต” และ “ร่วมกันโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณว่าสามารถบำบัดรักษา บรรเทา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยได้อย่างศักดิ์สิทธิ์หรือรักษาโรคให้หายขาดได้ และแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ เกินความจริง” และ 5)พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฐาน “ร่วมกันโดยทุจริตหรือหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” พร้อมกับตรวจยึดของกลาง และพยานหลักฐานอื่นๆ ส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี

ด้าน นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรม สบส.ขอเน้นย้ำกับพี่น้องประชาชนทุกท่าน ให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนเลือกรับบริการรักษาพยาบาลทุกประเภท ขอให้เลือกรับบริการจากแพทย์ และสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น อย่าหลงเชื่อการโฆษณาอวดอ้างจากสื่อโซเชียล หรือจากคำบอกเล่าจากบุคคลอื่นว่าสามารถรักษาได้สารพัดโรคเรื้อรังให้หายขาด โดยเฉพาะการรักษาโรคมะเร็ง, โรคเบาหวาน, โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต, โรคทางจิตเวช, โรคความดันโลหิต, โรคทางสมอง หัวใจและหลอดเลือด และโรคเอดส์ ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าสามารถรักษาอาการของโรคดังกล่าวให้หายขาดได้ หากพบเห็นขอให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าเป็นการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ให้หลีกเลี่ยงการรับบริการ และหากอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ก็ขอให้แจ้งเบาะแสทมาที่กรม สบส. ทางหมายเลขโทรศัพท์ 02 193 7000 แต่หากอยู่ในส่วนภูมิภาคก็สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ เพื่อดำเนินการตรวจสอบ และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายต่อไป

f13651ebc53d9627072213b37cff284f  8ccaa75e0a3cbd54c8f14b0164673a39

efef8233646d7ed05dfda8ba0ad83f3b  037eef1a9d4380dcf81aa151ea93c606

7c8ad52b4e5b7e17ca2779add69f8960

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ