กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส. เผยประชาชน ร้อยละ 65 นิยมกินอาหารปรุงไม่สุก สุ่มเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับและโรคหูดับ พบเมนูยอดฮิต “ส้มตำใส่ปลาร้าดิบ ก้อยกุ้ง”

6eee430578ffd87816b8ad3446f9e594

 

         กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจพบประชาชนมีพฤติกรรมการกินอาหารปรุงไม่สุกจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู สัตว์น้ำจืด และสัตว์ทะเล สูงถึง ร้อยละ 65.77 โดยมีเมนูยอดฮิตที่กินมากที่สุด คือ ส้มตำปลาร้าดิบ ก้อยกุ้ง แหนมหมู ซึ่งพฤติกรรมการกิน เช่นนี้สุ่มเสี่ยงเกิดโรคจากพยาธิใบไม้ตับ หรือ โรคหูดับได้ แนะปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ กินอาหารปรุงสุก ปลอดภัย ปลอดโรค

         นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ ระหว่างวันที่ 13 – 29 กุมภาพันธ์ 2567 ในกลุ่มวัยทำงาน โดยกองสุขศึกษา กรม สบส. ร่วมกับเครือข่ายเฝ้าระวังพฤติกรรมผ่านระบบออนไลน์ พบว่า ผู้ตอบแบบเฝ้าระวังฯ จำนวน 16,517 ราย เป็นประชากรภาคอีสาน ร้อยละ 58.50 ภาคเหนือ ร้อยละ 19.17 ภาคกลาง ร้อยละ 17.42 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 3.49 และภาคใต้ ร้อยละ 1.40 ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 48.45 มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ดิบ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู สัตว์น้ำจืด และสัตว์ทะเล ร้อยละ 65.77 พื้นที่ที่มีความชุกของพฤติกรรมการกินอาหารปรุงไม่สุกมากที่สุด คือ ภาคอีสาน ร้อยละ 77.14 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 67.32 โดย 5 เมนูยอดฮิตพบว่านิยมกินมากที่สุด ได้แก่ ส้มตำใส่ปลาร้าดิบ ร้อยละ 45.47 รองลงมาปลาร้าบองดิบ ร้อยละ 35.10 ก้อยกุ้งฝอยดิบ 34.76 แหนมหมูดิบ 31.73 และลาบก้อยวัวดิบ ร้อยละ 28.70 อีกทั้ง คนที่มีความเชื่อว่าเนื้อดิบอร่อยกว่าเนื้อสุกจะมีโอกาสกินเนื้อดิบเป็น 4.21 เท่าของคนที่ไม่เชื่อในรสชาติดังกล่าว และการที่เคยเห็นคนดัง คนมีชื่อเสียงกินเนื้อดิบผ่านสื่อต่างๆ จะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ โดยมีโอกาสที่จะกินเนื้อดิบตามเป็น 1.34 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่เคยเห็น ซึ่งกรม สบส.จะมอบหมายให้กองสุขศึกษาดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) แก่ประชาชนในระดับบุคคล ให้เกิดความเข้าถึง เข้าใจในข้อมูลสุขภาพ สามารถนำข้อมูลไปใช้ดูแลและรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงตามช่วงวัยต่างๆ ทำให้สามารถประกอบกิจกรรมและการงานได้อย่างเข้มแข็ง

         ด้าน นพ.สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า นอกจากประเด็นในด้านความเชื่อข้างต้นแล้ว จากผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมฯ ยังพบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกินอาหารปรุงไม่สุกของประชาชน อาทิ หากมีคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวที่กินเนื้อสัตว์ดิบ จะมีโอกาสกินมากกว่าผู้ที่ไม่มีคนใกล้ชิดกิน ถึง 4.18 เท่า รวมถึงความเชื่อว่าการบีบน้ำมะนาวและขยำกับเนื้อสัตว์จนซีดจะทำให้สุกได้ และการกินยาถ่ายพยาธิทุกปี จะทำให้ปลอดภัยจากโรคพยาธิได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจและยังมีความเชื่อในเรื่องการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง เพราะการกินอาหารปรุงไม่สุกก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ หรือโรคหูดับ ที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น เพื่ออนามัยที่ดีลดเสี่ยงปัญหาสุขภาพ กรม สบส. ขอแนะนำให้ประชาชนปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ ในข้อ 3 คือการล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งให้สะอาดก่อนและหลังปรุงอาหาร และกินอาหาร และข้อ 4 กินอาหารสุกสะอาด ปราศจากสารอันตราย ควรกินอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส และมากกว่า 2 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อโรค และใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกัน ********** 29 เมษายน 2567

 

93d6f5f4bc0a8c88ed478119a6c18935

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) คว้ารางวัลองค์กรเกียรติยศ จากผลงาน “ยกระดับยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) สู่เครือข่ายทรงพลัง” โดยทำการสร้างจิตอาสาแก่เยาวชนกว่า 20,000 คน ให้เป็นบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ และเป็นผู้นำด้านสื่อสารสุขภาพ และร่วมขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพของชุมชน 

f50b7162e7126436aa23d0d54bad5168

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมกองสุขศึกษา อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และมหาวิทยาลัยจุนเทนโด (Juntendo University) เพื่อร่วมกันในการพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว รวมทั้งการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างหน่วยงานในมิติของระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยมี นพ.อัครพล คุรุศาสตรา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร นายสาโรจน์ ยอดประดิษฐ์ เลขานุการกรม ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร่วมเป็นสักขีพยาน

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพในช่วงสงกรานต์ พบประชาชนวางแผนที่จะเดินทาง ร้อยละ 75.5
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 33.8 ไปสถานที่เสี่ยง ร้อยละ 24.7 และทำทั้ง 3 พฤติกรรม ร้อยละ 12.9

f5e3968c4b656690f939f4d2cc901732

b69962154fbb04f2942078f559dc2888

วันที่ 20 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่น โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  และ อสม. กว่า 1,450 คน เข้าร่วมงาน

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ร่วมภาคีสนับสนุนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมด่านชุมชนเพิ่มความถี่เรียกตรวจ สกัดผู้มีอาการมึนเมาขับขี่ยานพาหนะ โดยเฉพาะ 7 จังหวัด ความเสี่ยงสูง

d7419fcc78b5380644bd252c6a62459b

19f47b802e2c68956126651b7f40990b

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ดึงพลังอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ร่วมต้านโรคและภัยสุขภาพ ป้องกัน 6 กลุ่มเสี่ยง จากโรคลมแดด ภัยเงียบจากอากาศร้อนที่คร่าชีวิตชาวไทยนับสิบรายต่อปี

หน้าที่ 3 จาก 47

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ