กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 0 2193 7000

กรม สบส. จัดเวทีสัมมนาขยายตลาด-เพิ่มโอกาสธุรกิจด้านบริการเพื่อสุขภาพ แก่สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ

adbb306bfb4c01d4b44cc484e709ae48

           กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข จัดเวทีสัมมนาพัฒนาศักยภาพสถาบันการศึกษา หน่วยงานและองค์กรที่จัดการเรียนการสอนด้านการบริการเพื่อสุขภาพ (หลักสูตรผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง และหลักสูตรสปาและนวด) ตาม พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 เพื่อเพิ่มโอกาส และขยายตลาดธุรกิจด้านการบริการเพื่อสุขภาพ พร้อมยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เติบโต พร้อมแข่งขันสู่ตลาดสากลได้

            นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า กรมในฐานะที่เป็นหน่วยงานในการควบคุม กำกับ มาตรฐานธุรกิจด้านการบริการเพื่อสุขภาพ อาทิ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ สปา และสถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่มาขอรับรองการดำเนินการตามหลักสูตรกับ กรม สบส. จำนวน 1,240 หลักสูตร และผลิตบุคลากรออกสู่ตลาดจำนวน 151,305 คน และเพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพ (Health for Wealth) กรม สบส. จึงได้จัดเวทีสัมมนาพัฒนาศักยภาพสถาบันการศึกษา หน่วยงานและองค์กรที่จัดการเรียนการสอนด้านการบริการเพื่อสุขภาพ (หลักสูตรผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง และหลักสูตรสปาและนวด) ตาม พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันการศึกษา หน่วยงาน และองค์กรที่จัดการเรียนการสอนด้านบริการเพื่อสุขภาพ ให้มีความสามารถในการแข่งขันในภาคธุรกิจ ส่งเสริมด้านบริการสุขภาพให้มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มโอกาส และขยายตลาดธุรกิจด้านบริการสุขภาพ ให้ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป

               ด้าน นพ.สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า การสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบไป ด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 1. การส่งเสริมควบคุมมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนและการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 2. โอกาสทางธุรกิจในการจัดส่งผู้ผ่านการอบรมสู่ตลาดธุรกิจด้านการบริการเพื่อสุขภาพ 3.การสร้างโอกาสทางธุรกิจด้านแหล่งเงินทุกและการขยายธุรกิจเพื่อสุขภาพ และ 4. การสนับสนุนและการสร้างโอกาสทางธุรกิจด้านการบริการเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สมาคมด้านการดูแลผู้สูงอายุ สมาคมด้านสปาและนวดเพื่อสุขภาพ เป็นต้น โดยกรม สบส. ได้จัดการสัมมนาดังกล่าวไปเมื่อวันเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา และมีผู้เข้าร่วม จำนวน 200 คน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากสถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการสถานประการเพื่อสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้อง **************** 3 กรกฎาคม 2567

6b075153f9ecdff73abce2ac5b874630

fa6664969b50bda4f159f6b93cfd8b76

516f898e1928d8da02f30df6e9498753

a99f3fbd040de56ba341f0b701d88fcd

d9352be833d46426a4c7d65f13a4b27d

924163d21d558f9be72a2bc61d0f981b

กรม สบส. เผยพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชนไทย และพบความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เลิกบุหรี่มวนได้สูงถึง ร้อย 61.23

04ff9177d48333dbe4f1bf9c2a08fa5c

         
06e242cdaf60481aec76eeb79d5bb46a

cccc62237f55adb48d37c1a0804f1b7d

          กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เผยผลพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า/พอตของเยาวชนไทย พบ สูบร้อยละ 18.60 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และพบความเข้าใจผิดว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้สามารถเลิกบุหรี่มวนได้ และนิโคตินส่งผลดีต่อร่างกาย

         นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสังคมไทย และสังคมโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งใหม่ๆ ซึ่งจากผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า/พอต ของเยาวชนไทย จำนวน 40,164 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 – 27 พฤษภาคม 2567 โดยกองสุขศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร พบว่า เยาวชนไทยอายุระหว่าง 6-30 ปีมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 18.60 เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชายสูบบุหรี่ไฟฟ้าสูงที่สุด ร้อยละ 21.49 รองลงมา LGBTQ+ ร้อยละ 19.73 และเพศหญิง ร้อยละ 16.22 เมื่อสอบถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของเยาวชน พบว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า คือ เข้าใจว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้สามารถเลิกบุหรี่มวนได้ ร้อยละ 61.23เข้าใจว่านิโคตินส่งผลดีต่อร่างกาย ร้อยละ 51.19 เข้าใจว่าน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีส่วนผสมของนิโคติน ร้อยละ 26.28 เข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย ร้อยละ 23.28 และเข้าใจว่าควันบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย ร้อยละ 12.53 นอกจากนี้เยาวชนยังมีความเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้า/พอต อันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน ร้อยละ 50.2 อีกด้วย 

        นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า จากผลการสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าเยาวชน ยังขาดความรู้ และความตระหนักถึงผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและยังมีความเชื่อที่ผิด เพราะในบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเสพติดที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ส่งผลเสียต่อระบบหายใจ ระบ[หลอดเลือดสมอง ระบบประสาทและสมองและอื่นๆ กรม สบส. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่เด็กและเยาวชน จึงได้ส่งเสริมให้ ยุว อสม.ทำหน้าที่เป็นพลังในการสื่อสารให้เด็กและเยาวชน มีความตระหนักรู้ เตือนภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยใช้แนวทางการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อที่ 5 งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และสารเสพติด เพื่อป้องกันเยาวชนให้ห่างไกลจากบุหรี่ไฟฟ้า และลดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ อันจะนำไปสู่ยาเสพติดชนิดร้ายที่เพิ่มขึ้น

*********************** 25 มิถุนายน 2567

กรม สบส. เปิดลงทะเบียนสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐาน สะดวก รู้ผลทันทีด้วยบริการ Biz Portal

332a599dc3231dc501aca1efc36c5e55

        กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดช่องทางให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภาครัฐ ลงทะเบียนออนไลน์ผ่านระบบ Biz Portal หรือ Business Portal ระบบกลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ เพื่อขอรับบริการทดสอบสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานสำหรับทดสอบเครื่องมือแพทย์ สะดวก ลดขั้นตอน และทราบผลรับตรวจเครื่องมือได้ในทันที

          นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กล่าวว่า กรม สบส. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศให้มีคุณภาพ และความปลอดภัยอย่างมีมาตรฐานสากล ส่งมอบบริการที่มีคุณภาพ เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนและสังคม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพ กิจกรรมหนึ่งที่มีผลต่อการรักษาวินิจฉัยโรค และช่วยให้การบำบัดรักษาของแพทย์ พยาบาล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั้นคือเครื่องมือแพทย์ได้รับการทดสอบ สอบเทียบและบำรุงรักษาอย่างถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด จะทำให้ประชาชนที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภาครัฐได้รับการบริการจากเครื่องมือแพทย์ที่มีมาตรฐาน

 

        1be864dd1c2564c5d3fc7ff3dbbc8bb6

*****  2 กรกฎาคม 2567

 

        นายแพทย์กรกฤช ลิ้มสมมุติ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า กรม สบส. ตระหนักถึงการให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ยกระดับระบบสนับสนุนบริการสุขภาพและอุตสาหกรรมเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศให้ได้มาตรฐานสากล  และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภาครัฐ กรม สบส. จึงเปิดช่องทางให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภาครัฐ  ที่ต้องการขอรับบริการทดสอบสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานสำหรับทดสอบเครื่องมือแพทย์สามารถยื่นขอรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ Biz Portal เชื่อมต่อการบริการระหว่างภาครัฐ กรม สบส. โดยกองวิศวกรรมการแพทย์ และผู้ขอรับบริการโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภาครัฐทั่วประเทศ ทำให้ผู้ขอรับบริการสามารถติดตามสถานะการขอรับบริการ และรับทราบผลการทบทวนคำขอรับบริการเครื่องมือได้ในทันที หลังจากนั้นผู้ขอรับบริการจะต้องนำเครื่องมือที่ได้รับการพิจารณาคำร้อง เข้าดำเนินการตามช่วงเวลาที่กำหนดในระบบลงทะเบียน และสามารถดาวน์โหลดเอกสารรายงานผลการสอบเทียบเครื่องมือผ่านทางระบบออนไลน์

        ระบบ Biz Portal เป็นระบบกลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน/ผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ ยกระดับการบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้มีความสะดวก ลดระยะเวลา ลดขั้นตอน ที่ซ้ำซ้อนไม่ต้องเดินทางไปยื่นเอกสารกับหน่วยงาน แต่สามารถทำได้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์  สำหรับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภาครัฐ ลงทะเบียนออนไลน์ขอรับบริการได้ที่ bizportal.go.th หรือเว็บไซต์กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองวิศวกรรมการแพทย์ โทร. 02 149 5680 ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ 08 1946 6982 ในวันและเวลาราชการ

 

3145161199c709356848c2c550db12b5

           

หน้าที่ 5 จาก 51

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
ตกลง
ปฏิเสธ
Read more
Functional
Tools used to give you more features when navigating on the website, this can include social sharing.
AddThis
ตกลง
ปฏิเสธ
Analytics
Tools used to analyze the data to measure the effectiveness of a website and to understand how it works.
Google Analytics
ตกลง
ปฏิเสธ